Page 35 -
P. 35

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               พยายามใช้ขั้นตอนที่เป็นธรรมชาติตามหลักชีววิทยามากขึ้น ซึ่งตัวชี้วัดบางตัวสามารถใช้แสดงความยั่งยืนใน

               หลายมิติไปพร้อมๆ กัน เช่น ความสามารถในการพึ่งพิงตนเอง ซึ่งสะท้อนความยั่งยืนทั้งในมิติเศรษฐกิจและ
                                22
               สังคมไปพร้อมๆ กัน
                       Hayatiet     al.(2010) ได้ทบทวนและเปรียบเทียบชุดตัวชี้วัดที่นําเสนอในงานวิจัยด้านรูปแบบ

               เกษตรกรรมยั่งยืนจํานวนมากตั้งแต่ปี 1991  จนถึงปี 2007 โดยพิจารณาตัวแปรที่มักถูกหยิบมาใช้แสดงความ
               ยั่งยืน และเมื่อนํามาประมวลรวมกับงานศึกษาด้านความยั่งยืนในช่วงเวลาต่อมา เช่น งานของ Bosshaq  et

               al. (2012),Potchanasin (2008), Pham and Smith (2013) ทําให้สามารถสรุปได้ว่าตัวชี้วัดที่มักถูกนํามาใช้
                       ทางมิติสังคม คือ ความสามารถในการพึ่งพิงตนเองเรื่องปัจจัยการผลิตซึ่งสะท้อนจากสัดส่วนต้นทุน

               ปัจจัยการผลิตที่หาได้จากท้องถิ่นต่อต้นทุนปัจจัยการผลิตทั้งหมดความเท่าเทียมซึ่งใช้เรื่องการจ้างงานเป็นตัว

               บ่งชี้ ความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งวัดจากปริมาณข้าวที่ผลิตเพียงพอสําหรับการบริโภคหรือไม่ หรือสามารถหาเงิน
               มาแหล่งอื่นมาใช้ซื้อข้าวบริโภคในครัวเรือนได้ ความเสี่ยงหรือความไม่แน่นอนที่เกิดจากการเพาะปลูก ซึ่งวัด

               จากความหลากหลายของพืชที่ปลูกและรายได้ที่เกิดจากการขายพืชเหล่านั้น ระดับความพอใจในอาชีพ
               เจ้าหน้าที่ของรัฐ ระดับการสนับสนุนที่ได้รับ การมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน การศึกษาของสมาชิกในครัวเรือน สิ่ง

               อํานวยความสะดวกในครัวเรือน สุขอนามัยของสมาชิกในครัวเรือน คุณภาพชีวิต สภาพความเป็นอยู่ การมี

               ส่วนร่วมในสังคม
                       ทางมิติเศรษฐกิจ คือ ปริมาณผลผลิตเฉลี่ย ความสม่ําเสมอของผลผลิต รายจ่ายปัจจัยการผลิต รายได้

               จากใน/นอกภาคเกษตรประสิทธิภาพ ค่าจ้างแรงงาน การจ้างงาน การเข้าถึงตลาด ระดับการเข้าถึงปัจจัยการ

               ผลิตทุกอย่างตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ตลาด การขนส่ง และสินเชื่อ การเป็นเจ้าของที่ดิน การจัดการ
               ดิน ผลตอบแทนทางการเงินหรือกําไร (financial  return) และผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์โดยหักเงิน

               อุดหนุนด้านปัจจัยการผลิตที่เกษตรได้รับออกจากรายได้
                       ทางมิติสิ่งแวดล้อมหรือระบบนิเวศน์ คือ ลักษณะการใช้ที่ดิน สัดส่วนของการปลูกพืชแต่ละชนิดบน

               ที่ดิน การพัฒนาการจัดการน้ํา การขาดแคลนน้ํา ระบบการเกษตรที่เลือกใช้ ปริมาณการใช้ยาปราบศัตรูพืช ยา

               ปราบวัชพืช ปริมาณการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปัจจัยการผลิตที่ใช้ ผลผลิตต่อไร่ ความหลากหลายของพืชที่ปลูกการใช้
               พืชทางเลือก การใช้ระบบปลูกพืชหมุนเวียน ระยะการปล่อยให้ป่าฟื้นตัวจากการทําไร่เลื่อนลอย การไถ การ

               ลดการพังทลายของดิน การใช้พืชคลุมดิน ระยะเวลาพักดิน ความลึกของระบบน้ําบาดาล ระดับโปรตีนใน
               พืชผล ระบบการจัดการศัตรูพืช พลังงานที่ใช้

                       ที่ผ่านมางานวิจัยจํานวนมากได้ใช้กรอบแนวคิดเกษตรยั่งยืนเพื่อ 1) เปรียบเทียบว่าระบบเกษตรกรรม
                                                                                                        23
               แบบใดจะสามารถสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นในพื้นที่ได้มากกว่ากันและ 2) ประเมินความยั่งยืนของพื้นที่นั้นๆ
               ตัวชี้วัดที่แต่ละงานเลือกใช้จะมากน้อยและแตกต่างกันไปตามลักษณะเฉพาะของพื้นที่และสิ่งที่ผู้วิจัยให้ความ




               22
                  Rigby and Caceres, 2001; Pretty, 1995 และ U.S. Farm bill, 1990 อ้างถึงใน Hayati et al., 2010
               23 อาทิRasul and Thapa, 2004; Bosshaq et al., 2012; Praneetvatakul et al., 2001; Lopez and Almeida, 2003

               และ Zhen and Routray, 2003

                                                           2-4
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40