Page 40 -
P. 40
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ละเลยทางการเมืองและสังคม ขาดโอกาสที่จะได้รับการพัฒนาส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืนและมีความทัดเทียม
34
กับพื้นที่เกษตรกรรมในบริเวณอื่น
ผลจากการขาดการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีส่งเสริมการทําการเกษตรอย่างยั่งยืนบนพื้นที่ลาดชันทํา
ให้การทําเกษตรบนพื้นที่สูงในบางประเทศของภูมิภาคอาเซียนมีแนวโน้มปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตลอดช่วง
35
ปีค.ศ. 1950-1980 เกษตรกรบางส่วนได้ปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์ของการใช้ที่ดินจากเดิมที่ใช้เพื่อการเกษตร
มาใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกเหนือจากการเกษตร นอกจากนี้ยังพบว่า เกษตรกรบนพื้นที่สูงในภูมิภาคอาเซียน
มีแนวโน้มของการย้ายถิ่นฐานเพิ่มมากขึ้นด้วย แนวโน้มการลดลงของพื้นที่การเพาะปลูกที่เกิดขึ้นอาจส่งผลต่อ
36
ความมั่นคงทางอาหารของประชากรในอนาคตได้ สถานการณ์นี้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในพื้นที่เกษตรกรรมใน
บริเวณ Hindu Kush Himalayan ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของประเทศอัฟกานิสถาน
บังกลาเทศ ภูฏาน ปากีสถาน อินเดีย เนปาล จีน และพม่า เกษตรกรต้องเผชิญกับภาวะผลผลิตตกต่ําและ
37
ความยากจน เกิดการย้ายถิ่นฐานของเกษตรกรเพื่อแสวงหาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ในหลายประเทศการทําเกษตรกรรมที่ยั่งยืนบนที่สูง ไม่เพียงแต่ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความมั่นคงทาง
อาหารแล้ว ยังช่วยในการดูแลพื้นที่ เห็นประโยชน์ของการรักษาพื้นที่และคงไว้ซึ่งรากฐานวัฒนธรรม
เกษตรกรรม ลดปัญหาความแออัดในสังคมเมือง ประเทศญี่ปุ่นเองก็ต้องเผชิญกับปัญหาการลดลงอย่างมาก
ของพื้นที่การเกษตรในเขตพื้นที่สูงเนื่องจากเกษตรกรในเขตพื้นที่สูงส่วนมากได้เปลี่ยนวิถีชีวิตและย้ายถิ่นฐาน
เข้ามาอาศัยและทํากินในเขตเมืองมากขึ้น เพื่อเลี่ยงผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร รัฐได้พยายามส่งเสริม
และจูงใจให้เกษตรกรหันกลับมาทําเกษตรในเขตพื้นที่สูงเพิ่มมากขึ้น ผ่านการลงทุนในเขตพื้นที่สูงและการใช้
นโยบายกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาการทําเกษตรบนพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน โดยจะเน้นการรักษาสมดุลระหว่าง
38
สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตดังเดิมของคนในชุมชน นอกจากนี้ รัฐบาลยังส่งเสริมให้เกิดการสร้าง
รายได้จากการเพาะปลูกพืชที่มีมูลค่าสูงเช่น การปลูกผัก การปลูกพืชไม้ดอก การทําเกษตรอินทรีย์ และการ
39
สร้างความเชื่อมโยงระหว่างการท่องเที่ยวและการเกษตร เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าหน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรในหลายพื้นที่ของภูมิภาคอาเซียนจะพยายามกระตุ้น
ให้เกิดการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทําเกษตรกรรมบนพื้นที่สูงให้มีความยั่งยืนมากขึ้นด้วยการ
ส่งเสริมศักยภาพของเกษตรกรทั้งด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ แล้วก็ตาม แต่กลับพบว่าในหลายพื้นที่ไม่
ประสบความสําเร็จเท่าที่ควรด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไปตามพื้นที่ เช่น รูปแบบการพัฒนาไม่เหมาะสมกับ
สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ เกษตรกรในพื้นที่มีทางเลือกที่ดีกว่าการเปลี่ยนไปทําการเกษตรแบบยั่งยืน
34
Partap, 2004
35 APO, 2004 และ Pokhriyal and Bist, 1988
36
Gardner, 1996อ้างถึงใน APO, 2004
37
Partap, 2004
38 Nakagawa,1998 และ Sugaya,1998 อ้างถึงใน APO, 2004
39
Partap, 2004
2-9