Page 42 -
P. 42
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
อย่างเห็นได้ชัดคือ ในพื้นที่บริเวณรัฐ Sikkim ในเขต Eastern Indian Himalayas เกษตรกรส่วน
ใหญ่มีรายได้หลักจากการปลูกกระวานซึ่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจของชุมชนเน้นการเพาะปลูกพืช
สมุนไพรให้ขึ้นแซมกับป่าตามธรรมชาติการปลูกกระวานนอกจากจะช่วยลดปัญหาการพังทลาย
ของหน้าดินในพื้นที่ลาดชันแล้ว กระวานยังมีคุณสมบัติในการช่วยตรึงธาตุอาหารในดินและเพิ่ม
ชีวมวลในดิน ทําให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ การปลูกกระวานจึงมีต้นทุนต่ําเนื่องจากไม่จําเป็นต้อง
ลงทุนเรื่องปุ๋ยและการแปรรูปผลผลิตใดๆ (ส่งขายกระวานเป็นผลตากแห้ง) เกษตรกรร้อยละ 76
ได้เปลี่ยนวิถีจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาเป็นการปลูกกระวานพร้อมกับไม้ยืนต้นชนิดอื่นๆกันมาก
ขึ้น โดยแต่ละครัวเรือนมีรายได้สูงขึ้น (อยู่ที่ประมาณ 700-800 เหรียญสหรัฐต่อเฮกเตอร์ต่อปี
รูปแบบการปลูกพืชสมุนไพรแซมกับพืชยืนต้นนอกจากจะเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมแล้วยังทําให้เกษตรกรในพื้นที่มีสภาพความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอีก
ด้วย
44
3) การปลูกป่าผสมผสานกับการปลูกพืชสวน เป็นรูปแบบหนึ่งของการทําวนเกษตร ตัวอย่างที่เห็นได้
ชัดคือ การปลูกพืชซีบัคธอร์น (Sea buckthorn) ผสมไปกับการปลูกป่าในบริเวณ Western
Liaoning ประเทศจีน ซีบัคธอร์นจัดเป็นพืชไม้พุ่มหรือต้นไม้ขนาดเล็ก มีคุณสมบัติในการตรึงธาตุ
อาหารในดินและลดการพังทลายของดิน รัฐบาลจีนได้สนับสนุนให้เกษตรบนปลูกซีบัคธอร์นเพื่อ
ลดปัญหาการพังทลายของดินและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินบริเวณที่ลาดชัน จากการ
ดําเนินงานที่ผ่านมาพบว่า การปลูกซีบัคธอร์นพร้อมกับการปลูกป่าสามารถลดปัญหาความเสื่อม
โทรมของดินและสามารถช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศของพื้นที่ลาดชันให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น
อย่างเห็นได้ชัดนอกจากนี้ ในด้านของเศรษฐกิจ พบว่า รายได้หลักของเกษตรกรในพื้นที่มาจาก
การเก็บผลผลิตของซีบัคธอร์นขายออกสู่ตลาด ผลของซีบัคธอร์นนั้นมีราคาสูงและเป็นที่
45
ต้องการอย่างมากเนื่องจากมีสรรพคุณทั้งทางอาหารและยาโดยมีตลาดหลักที่รองรับผลผลิตคือ
ตลาดผู้ผลิตเครื่องดื่ม ยา และเครื่องสําอางทั้งในประเทศจีน รัสเซีย และทิเบต การปลูกพืชสวน
ไปพร้อมกับการปลูกป่าสามารถช่วยลดปัญหาทางสิ่งแวดล้อมและช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของ
ระบบนิเวศ และบรรเทาปัญหาความยากจนของเกษตรกรในพื้นที่
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการทําเกษตรกรรมหรือปลูกพืชที่เน้นการใช้ความได้เปรียบจากความจําเพาะของ
พื้นที่ เช่น การปลูกพืชเมืองหนาวจะเป็นทางเลือกที่นิยมใช้กันมากในการสร้างความยั่งยืนทางเกษตรบนพื้นที่
ชัน แต่ก็มักเผชิญกับปัญหากลไกตลาด รูปแบบรวมไปถึงจุดมุ่งหมายของธุรกิจที่มารองรับ Tiwari et al.
(2008) ชี้ให้เห็นช่องว่างที่น่ากังวลนี้จากการวัดความยั่งยืนของรูปแบบการทําเกษตรบนพื้นที่สูงในเขตพื้นที่ต้น
น้ํา Pokhare Khola ของประเทศเนปาล สิ่งที่น่าสนใจคือ ผู้วิจัยได้เพิ่มการวัดมิติความยั่งยืนทางสถาบันเข้าไป
ด้วย (institutional viability) โดยพิจารณาจากกลไกตลาดทั้งตลาดปัจจัยการผลิตและตลาดที่รองรับผลผลิต
44 Sharma and Sharma, 1997อ้างถึงใน APO, 2004
45
Partap, 2004
2-11