Page 39 -
P. 39

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               ธุรกิจใดจะส่งผลต่อความยั่งยืนในระดับฟาร์มได้ นโยบายใดจะส่งผลต่อความยั่งยืนของชุมชนและครัวเรือน

               เกษตรในที่สุด แม้หลักการความยั่งยืนจะเป็นหลักการที่มองภาพใหญ่ และสิ่งที่เกิดขึ้นที่ระดับฟาร์มจะเป็น
               เรื่องเล็กย่อย แต่การแสดงตัวชี้วัดที่ระดับฟาร์มจะสามารถบอกได้ว่าการทําเกษตรแบบใด ระบบธุรกิจแบบใด
                                               29
               น่าจะนําไปสู่หรือขัดขวางความยั่งยืนได้


               2.2 รูปแบบเกษตรกรรมที่ยั่งยืนบนพื้นที่สูง

                       ในบริบทเฉพาะของพื้นที่สูงนั้น การทําเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน (Sustainable upland agriculture)
                                        30
               ถือเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง เนื่องจากพื้นที่ทํากินส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ชันและแคบ มีความจําเพาะทางด้าน
               สภาพภูมิอากาศและสภาพเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้น จึงเป็นเรื่องยากที่เกษตรกรบนพื้นที่สูงจะสามารถทํา
                                                                      31
               เกษตรกรรมในลักษณะเดียวกับเกษตรกรบนพื้นราบโดยทั่วไปได้  เกษตรกรบนพื้นที่สูงในภูมิภาคอาเซียน
               ประสบกับปัญหาคล้ายคลึงกันคือ พื้นที่ทํากินมีลักษณะลาดชัน มีหน้าดินที่ค่อนข้างตื้นและขาดความอุดม

               สมบูรณ์ เกิดปัญหาการสูญเสียดินและน้ําซึ่งนําพาไปสู่การพังทลายของหน้าดินและขาดความชุ่มชื้นในดิน
               ปัญหาต่างๆเหล่านี้จะทวีความรุนแรงมากขึ้นตามความลาดชันของพื้นที่ ทําให้เกษตรกรประสบปัญหาการผลิต

                                                                              32
               มีรายได้/ผลตอบแทนที่น้อยกว่าเกษตรกรที่ทําเกษตรบนพื้นที่ราบโดยทั่วไป  การที่เกษตรกรบนพื้นที่สูงส่วน
               ใหญ่มีรายได้ต่ําประกอบกับความต้องการอาหารที่สูงขึ้นของประชากรกลายเป็นแรงกดดันหลักให้เกษตรกร
               เลือกวิถีเกษตรกรรมที่ไม่ยั่งยืน โดยจะเน้นการเพิ่มปริมาณมากกว่าการพัฒนาในเชิงคุณภาพ เงื่อนไขนี้จึง

               กลายเป็นความท้าทายอย่างยิ่งในการพยายามหาสมดุลระหว่างการพัฒนารูปแบบทางเศรษฐกิจในพื้นที่สูงให้
                                                                        33
               ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ เพราะนัยยะของการทําเกษตรกรรมที่
               ยั่งยืนไม่ได้หมายถึง การห้ามทําเกษตรกรรมทุกประเภทในพื้นที่สูงหรือดึงเกษตรกรทุกคนออกมาจากพื้นที่สูง

               เพื่อให้ได้ป่ากลับมา แต่คือการใช้วิถีเกษตรกรรมที่สร้างสมดุลระหว่างมิติเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม
               เพื่อให้เกษตรกรมีทางเลือก อยู่รอดได้อย่างยั่งยืนและรักษาพื้นที่ของตน

                       จากงานศึกษาที่ผ่านมาพบว่า อุปสรรคของการพัฒนาการทําเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนในพื้นที่สูงใน

               ภูมิภาคอาเซียนนั้น ส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดการลงทุนในด้านวิจัยและพัฒนาเกษตรในพื้นที่สูง (R  &  D)
               เนื่องจากหน่วยงานรัฐและผู้กําหนดนโยบายต่างคิดว่าการลงทุนพัฒนาการทําเกษตรกรรมในพื้นที่สูงนั้นมี

               ต้นทุนสูง แต่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจน้อยกว่าการส่งเสริมการทําการเกษตรในพื้นที่ราบทั่วไป อีกทั้งพื้นที่
               สูงส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ชายขอบที่ห่างไกลและมีนัยสําคัญทางเศรษฐกิจต่ํา พื้นที่ดังกล่าวจึงมีความเสี่ยงต่อการถูก







               29 Hayati et al., 2010

               30
                 APO, 2004 และ FFTC, 1997
               31
                 Partap, 2004
               32 FFTC, 1997

               33
                 APO, 2004
                                                           2-8
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44