Page 47 -
P. 47
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในมิติการรับความเสี่ยงนั้น เกษตรกรรับความเสี่ยงทุกอย่างที่จะมีผลกับการเก็บเกี่ยว เช่น สภาพ
อากาศ ศัตรูพืช โรคระบาด สําหรับความเสี่ยงด้านราคานั้น หากบริษัทได้ระบุข้อตกลงชัดเจนเรื่องราคารับซื้อ
ที่แต่ละระดับคุณภาพ บริษัทจะเป็นผู้รับความเสี่ยงด้านราคาไป เกษตรกรจะยังคงรับความเสี่ยงด้านนี้อยู่ถ้าใน
สัญญานั้นระบุราคารับซื้อให้สัมพันธ์หรือขึ้นกับราคาตลาด
ผลตอบแทนหลักที่เกษตรกรจะได้จากรูปแบบธุรกิจนี้ขึ้นอยู่กับราคารับซื้อและเงื่อนไขการจัดหา
วัตถุดิบให้ และขึ้นอยู่กับอํานาจการต่อรองของเกษตรกร สัญญาสามารถถูกเขียนให้เอื้อกับเกษตรกรหรือลด
บทบาทเกษตรกรให้เป็นเพียงแรงงานราคาถูกก็ได้
ข้อดีของเกษตรพันธะสัญญาสําหรับบริษัทธุรกิจการเกษตรที่มารับซื้อคือ ความสม่ําเสมอของคุณภาพ
และปริมาณสินค้าโดยที่ไม่ต้องเผชิญความเสี่ยงของการซื้อหรือพยายามครอบครองที่ดินหรือทําการผลิตขนาด
54
ใหญ่ (plantation) สําหรับเกษตรกรเองก็มีช่องทางของสินเชื่อ เข้าถึงเมล็ดพันธุ์และเทคโนโลยี การซื้อ
วัตถุดิบจากบริษัทในปริมาณมากเกษตรกรอาจจะได้รับผลพลอยได้จากการประหยัดจากขนาด (economies
of scale) การทําสัญญากับบริษัทเป็นช่องทางที่เกษตรกรจะมีโอกาสได้ราคารับซื้อที่สูงสําหรับผลผลิตที่มี
มูลค่าสูงโดยไม่ต้องรับความเสี่ยงจากราคามาก เพิ่มความมั่นคงทางรายได้ และความรู้ทางเทคนิคที่ได้อาจช่วย
55
พัฒนาทักษะให้เกษตรกร
ข้อพึงระวังในมุมมองของบริษัทรับซื้อคือ เกษตรกรอาจหันไปขายผลผลิตในตลาดทั่วไปถ้าราคาสินค้า
ในตลาดสูงกว่าราคาที่ตกลงในสัญญา โดยที่บริษัทก็ไม่ได้รับการชดเชยใดๆ หรือบริษัทเองอาจต้องเผชิญกับ
คุณภาพสินค้าที่ขาดความสม่ําเสมอ เกษตรกรไม่มีแรงจูงใจมากนักที่จะลงทุนปรับปรุงพัฒนาที่ดินตัวเองเพราะ
ถึงแม้จะมีสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ แต่ก็ไม่มีเอกสารสิทธิ์ที่สมบูรณ์ในพื้นที่นั้น ทําให้ไม่สามารถทําได้ตามเป้าใน
สัญญา นอกจากนี้ ต้นทุนการทําสัญญา (transaction cost) อาจสูงมากถ้าต้องเกี่ยวข้องกับเกษตรกรจํานวน
56
มาก
ในมุมมองของเกษตรกร ในกรณีที่รายได้จากการทําเกษตรพันธะสัญญาเป็นรายได้หลักของเกษตรกร
และบริษัทรับซื้อเป็นผู้รับซื้อรายเดียว อํานาจการต่อรองของเกษตรกรจะมีน้อย การที่บริษัทให้สินเชื่อกับ
เกษตรกรล่วงหน้าทั้งสารเคมี ยาปราบศัตรูพืช เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย เกษตรกรมีความเสี่ยงที่จะเข้าไปติดอยู่กับกับดัก
หนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรที่ต้องลงทุนระยะยาว เช่น เกษตรกรที่ปลูกผลไม้ ในขณะที่วัตถุดิบที่บริษัท
จัดหาให้ก็มีโอกาสที่จะเป็นวัตถุดิบที่คุณภาพไม่สูงมากนัก นอกจากนี้ เงื่อนไขเวลาการส่งสินค้าและเกณฑ์
มาตรฐานการรับซื้อที่ไม่ชัดเจน เปิดโอกาสให้บริษัทสามารถถ่ายโอนความเสี่ยงในช่วงที่ราคาผันผวนมาให้
57
เกษตรกรได้ หรือการชําระเงินให้เกษตรกรล่าช้าเกินไป
54 Campbell et al., 2012 และ Tambunan, 2012
55 Eaton and Shepherd, 2001, Da Silva, 2005 และ Tambunan, 2012
56
Eaton and Shepherd, 2001 และ Da Silva, 2005
57
Glover and Kusterer, 1990 (อ้างถึงใน Vermeulen and Cotula, 2010)และ Da Silva, 2005
3-4