Page 49 -
P. 49
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการดําเนินธุรกิจร่วมกัน 2) ถึงแม้ทั้งบริษัทและเกษตรกรจะเป็นเจ้าของธุรกิจร่วมกันแต่
ถือว่าทั้งสองฝ่ายต่างมีสิทธิและสถานภาพทางกฎหมายเป็นเสมือนสองนิติบุคคลแยกขาดออกจากกัน
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาในแง่ของการเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตพบว่า สินทรัพย์ที่ใช้ในการดําเนินธุรกิจ
จําพวกที่ดินและอุปกรณ์ทางการเกษตรต่างๆ อาจถือครองโดยผู้ร่วมทุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ซึ่งโดยมากเกษตรกร
จะเป็นผู้ถือครองและเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตด้านที่ดินส่วนบริษัทมักจะเป็นผู้สนับสนุนด้านเงินทุน อุปกรณ์
ทางการเกษตร รวมถึงเทคโนโลยีและองค์ความรู้ต่างๆ และเนื่องจากการทําธุรกิจเป็นไปในลักษณะการร่วมทุน
ดังนั้นในทางกฎหมายจึงจําเป็นต้องจัดทําข้อตกลงในการถ่ายโอนเทคโนโลยีหรือข้อตกลงในการเช่าที่ดิน
ระหว่างบริษัทกับเกษตรกรเพื่อให้แต่ละฝ่ายสามารถเข้าถึงการใช้สินทรัพย์และบริการที่ถือครองของอีกฝ่าย
หนึ่งได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
ผู้ร่วมลงทุนทั้งสองฝ่ายจะมีการตัดสินใจร่วมกันผ่านระบบกรรมการ (Board of trustees) โดย
กรรมการที่แต่งตั้งขึ้นมาจากการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของสมาชิกผู้ร่วมทุน ซึ่งจะมีหน้าที่หลักในการกํากับ
ดูแล การบริหารงาน ตลอดจนการตัดสินใจวางแผนการผลิตของบริษัทร่วมทุน
ในด้านมิติของการแบ่งปันผลประโยชน์และการแบกรับความเสี่ยงด้านการผลิต ด้านการตลาด และ
ด้านการเงินนั้น บริษัทและเกษตรกรจะมีการแบ่งปันผลประโยชน์และภาระความเสี่ยงตามสัดส่วนการเป็น
เจ้าของธุรกิจ อย่างไรก็ตาม พบว่ารูปแบบธุรกิจนี้เป็นที่ยอมรับและนิยมนําไปปรับใช้เป็นโมเดลทางธุรกิจอย่าง
กว้างขวางทั้งในกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง กลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลาง และกลุ่มประเทศยากจน เช่น การ
ใช้รูปแบบ Land-based joint venture models (เกษตรกรรายย่อยเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตด้านที่ดิน) ใน
ประเทศแคนาดา เม็กซิโก แอฟริกาใต้ แทนซาเนีย ปาปัวนิวกินี มาเลเซีย สวีเดน และมาลี เป็นต้น
ข้อดีของธุรกิจร่วมทุนคือ เป็นการเปิดโอกาสให้เกษตรกรรายย่อยมีสิทธิในความเป็นเจ้าของธุรกิจ
เกษตรกรผู้ร่วมเป็นเจ้าของธุรกิจจะได้รับผลตอบแทนในรูปของค่าเช่าที่ดินและค่าแรงรวมไปถึงผลตอบแทนใน
รูปแบบของเงินปันผล (Dividends) การดําเนินธุรกิจสามารถสร้างแบรนด์และชื่อเสียงได้ชัดเจน นอกจากนี้
รูปแบบธุรกิจนี้ยังมีกรอบการดําเนินงานที่ชัดเจนทางกฎหมาย มีการแบ่งปันผลประโยชน์ตามสัดส่วนการเป็น
เจ้าของ จึงสามารถลดความเสี่ยงทางด้านกฎหมาย ความไม่เท่าเทียม และปัญหาด้านการเมืองที่อาจเกิดขึ้นได้
และยังเป็นการเพิ่มแรงจูงใจในกลุ่มผู้ผลิตอีกด้วย
ข้อจํากัดที่พบคือ ระบบบัญชีมีความยุ่งยากและซับซ้อน เกษตรกรอาจได้รับเงินปันผลน้อยเนื่องจากมี
ผู้ร่วมถือหุ้นเป็นจํานวนมาก และในกรณีที่มีความจําเป็นต้องระดมทุนเพิ่มเติมเพื่อขยายกิจการ เกษตรกรอาจมี
สัดส่วนของการถือหุ้นลดลงได้หากไม่ยอมลงทุนเพิ่ม นอกจากนี้ ข้อจํากัดอีกประการหนึ่งที่สําคัญคือ ความ
เสี่ยงสําหรับเกษตรกรรายย่อยหรือผู้ร่วมทุนรายย่อยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของระบบประกัน ระบบการจัดการความ
เสี่ยง และการแบ่งสัดส่วนของภาระหนี้สินด้วย
กรณีตัวอย่าง : ประเทศแอฟริกาใต้
หลังจากมีการปฏิรูปที่ดินในประเทศแอฟริกาใต้ รัฐบาลพยายามส่งเสริมการทําการเกษตรในรูปแบบ
การร่วมทุนในประเทศ กิจการที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐส่วนใหญ่เป็นกิจการทางการเกษตรที่เกี่ยวข้องกับพืช
สวนและพืชในโรงเรือนโมเดลทางธุรกิจในประเทศแอฟริกาใต้มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรปรับตัว
3-6
และเพิ่มความสามารถในการเข้าสู่ตลาดที่มีการแข่งขันสูง โดยจะกําหนดเงื่อนไขในการบริหารจัดการฟาร์ม
การแบ่งปันการแบกรับภาระต้นทุนและผลตอบแทน รวมถึงการกําหนดเงื่อนไขการถ่ายโอนองค์ความรู้และ
เทคโนโลยีระหว่างผู้ร่วมทุนอย่างชัดเจน ทั้งนี้ผลประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับจากการดําเนินกิจการในรูปแบบนี้
่