Page 48 -
P. 48
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โอกาสที่เกษตรกรน่าจะได้รับจากรูปแบบธุรกิจนี้คือ เกษตรกรที่มีศักยภาพน้อยก็สามารถร่วมใน
เกษตรพันธะสัญญาได้ อย่างไรก็ดี งานศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ในกรณีที่เกษตรกรที่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า เกษตร
พันธะสัญญาจะได้รับความสนใจเฉพาะจากกลุ่มที่พอมีที่ดินเป็นตัวเองและต้องการการช่วยเหลือด้านสินเชื่อ
วัตถุดิบ ในขณะเดียวกันก็มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าเกษตรกรที่เข้ามารวมในเกษตรพันธะสัญญาไม่ใช่กลุ่มที่
ด้อยโอกาสเพราะอย่างน้อยก็จะมีที่ดินทํากินของตนอยู่บ้างแล้ว อย่างไรก็ตาม โดยรวมแล้ว รูปแบบเกษตร
พันธะสัญญาสามารถนําไปสู่การผลิตสินค้าคุณภาพสูง ต้นทุนการตลาดต่ํา แก้ปัญหาความไม่พร้อมด้านวัตถุดิบ
และผลผลิต ปัญหาเชิงสถาบัน ปัญหาการเข้าถึงตลาดให้กับเกษตรกรได้ เหมาะสมกับสินค้าที่เน่าเสียได้ง่าย
และต้องใช้แรงงานในการผลิตจํานวนมาก ทั้งนี้ ควรที่ต้องมีการแข่งขันระหว่างบริษัทที่ต้องการทําเกษตร
พันธะสัญญาเพื่อสร้างรูปแบบที่เกษตรกรจะได้ประโยชน์ โดยเกษตรกรต้องได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ใน
ขณะเดียวกันกฎหมายในระดับท้องถิ่นต้องเอื้อต่อการทําธุรกิจและปกป้องผลประโยชน์ให้เกษตรกร
Liu (2014) พบว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนรูปแบบอื่นๆ แล้ว มีนักลงทุนจํานวนไม่น้อยที่เห็นว่า
รูปแบบการลงทุนที่ยังให้สิทธิเกษตรกรอยู่ในพื้นที่เดิม และทํางานร่วมกับชุมชนอย่างเกษตรพันธะสัญญาเป็น
ทางเลือกที่ดีกว่าการซื้อและเข้าครอบครองที่ดินโดยตรง และเห็นว่าเกษตรพันธะสัญญาที่จะประสบ
ความสําเร็จได้ต้องให้เกษตรกรมีส่วนร่วมกับการกําหนดกลไกราคาที่ชัดเจน และที่สําคัญคือค่าจ้างและราคาที่
ตกลงกันตามสัญญาต้องมากพอที่จะทําให้เกษตรกรรักษามาตรฐานความเป็นอยู่ได้ ส่วนในแง่การจ้างงาน
เกษตรกรพันธะสัญญาซึ่งใช้ที่ดินไม่มากนักอาจมีอัตราการจ้างงานต่อหน่วยพื้นที่สูงกว่าการลงทุนเกษตรที่ใช้
ที่ดินขนาดใหญ่มากด้วย สําหรับในบริบทของไทย งานศึกษาส่วนใหญ่เน้นไปที่ผลของการทําเกษตรพันธะ
58
สัญญาต่อการพัฒนา การแก้ปัญหาความยากจนและความเป็นธรรมของสัญญา Sriboonchitta and
Wiboonpongse (2008) ได้ชี้ให้เห็นกรณีความสําเร็จของการใช้เกษตรพันธะสัญญากับเกษตรกรในภาคเหนือ
ที่ปลูกถั่วเหลือง มันฝรั่ง ข้าวโพดอ่อน ข้าวโพดหวาน มะเขือเทศ โดยรูปแบบสัญญาในแต่ละพื้นที่จะต่างกันไป
และพบว่าในกรณีตัวอย่างของมะเขือเทศ และมันฝรั่ง แม้เกษตรกรในเกษตรกรพันธะสัญญาจะได้ระดับราคาที่
ค่อนข้างคงที่ ไม่ผันผวนมาก แต่ก็มีเกษตรกรจํานวนไม่น้อยที่เห็นว่าการอยู่นอกสัญญามีประโยชน์มากกว่าและ
เกษตรกรยินดีรับความเสี่ยงทางราคา กรณีสําเร็จมักจะเป็นกรณีที่สัญญามีความลงตัวทั้งในเรื่องเทคโนโลยีการ
ผลิต ระดับความไว้วางใจซึ่งกันและกัน แนวทางการกําหนดราคา การอุดหนุนด้านการเงิน และการพัฒนา
59
บุคลากรทั้งเกษตรกรและเจ้าหน้าที่บริษัท
3.1.2 การร่วมทุน (Joint venture)
เป็นรูปแบบธุรกิจในลักษณะการร่วมลงทุนระหว่างบริษัทกับเกษตรกรโดยทั้งบริษัทและเกษตรกรถือ
เป็นเจ้าของธุรกิจร่วมกัน ธุรกิจรูปแบบนี้จะมีลักษณะเด่นที่สําคัญ 2 ประการคือ 1) เนื่องจากทั้งบริษัทและ
เกษตรกรมีกรรมสิทธิ์ในธุรกิจร่วมกัน ดังนั้นทั้งสองฝ่ายจึงต้องแบ่งปันผลประโยชน์ และแบกรับภาระความ
58
Sriboonchitta and Wiboonpongse, 2008; Poonpiriyasup, 2007 และ Singh, 2004
59
สอดคล้องกับ Poonpiriyasup, 2007
3-5