Page 52 -
P. 52
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กรณีตัวอย่าง : Asoproban Banana Cooperative ประเทศโคลัมเบีย
Asoproban เกิดจากการรวมกลุ่มของเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยรายย่อยจํานวน 133 ราย โดยในปี ค.ศ.
1988 กลุ่มผ่านการรับรอง Fair trade certified กลุ่ม Asoproban มีหน้าที่หลักในการสนับสนุนบริการต่างๆ
ให้แก่สมาชิก เช่น การบริการการขนส่ง การจัดทําบรรจุภัณฑ์ และการจัดจําหน่ายสินค้าออกสู่ตลาด เป็นต้น
โครงสร้างของกลุ่มจะประกอบไปด้วย Executive Board มีวาระ 3 ปี ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง นอกจากนั้นยังมี
Administrative Board, Vigilance Board และ Agriculture Committee ทั้งนี้กลุ่มจะมีการบริหารและ
จัดสรรผลประโยชน์ที่ได้จากกิจการดังนี้ ร้อยละ 50 ของ fair trade premium จะถูกจัดสรรปันส่วนจ่ายคืน
ในแก่สมาชิกในรูปของเงินปันผล ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 50 จะถูกนําไปใช้ในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
ชุมชน การประกันสุขภาพ และการฝึกอบรบเพื่อพัฒนาศักยภาพของกลุ่มสมาชิก เป็นต้น (Fairtrade
3.1.4 เครือข่ายธุรกิจตามโซ่อุปทาน (Upstream/downstream business link)
รูปแบบธุรกิจนี้เป็นลักษณะของการสร้างความเชื่อมโยงและสนับสนุนด้านการผลิตและพัฒนา
ศักยภาพให้แก่บริษัทและเกษตรกรในโซ่อุปทาน (Supply chain) ธุรกิจในกลุ่มนี้ก็มักได้รับความช่วยเหลือ
หรือทํางานร่วมกับรัฐบาลและองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้มแข็งและ
มาตรฐานให้แก่ภาคเกษตรกรรมในประเทศ
เครือข่ายทางธุรกิจต้นน้ํา (Upstream business link) เข้ามามีส่วนช่วยสนับสนุนด้านการผลิตให้แก่
เกษตรกรรายย่อยและกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยจะครอบคลุมตั้งแต่การให้บริการและการจัดหาวัตถุดิบในห่วงโซ่
การผลิต เช่น การจัดหาเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย สารกําจัดศัตรูพืช การสนับสนุนด้านสินเชื่อ ระบบประกัน ตลอดจนการ
สนับสนุนด้านองค์ความรู้และเทคโนโลยี เป็นต้น ส่วนเครือข่ายทางธุรกิจปลายน้ํา (Downstream business
link) จะเข้ามามีส่วนช่วยสนับสนุนเกษตรกรในด้านการตลาดระบบการค้าส่งและการค้าปลีก การกระจาย
สินค้าและส่งมอบสินค้าสู่มือผู้บริโภค เป็นต้น
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงในมิติของการเป็นเจ้าของธุรกิจ พบว่า บริษัทที่เข้ามาอยู่ในเครือข่ายมักจะไม่มี
ลักษณะของการเป็นเจ้าของธุรกิจร่วมกัน (Co-ownership) ลักษณะการดําเนินธุรกิจแม้จะไม่ได้เอื้อให้แต่ละ
หน่วยธุรกิจเข้ามาทําการตัดสินใจวางแผนการผลิตร่วมกัน แต่ให้โอกาสในการสร้างความเชื่อมโยงและ
ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยธุรกิจต่างๆในสายห่วงโซ่เข้าไว้ด้วยกัน ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อพิจารณาถึงมิติของการแบก
รับภาระต้นทุนและการจัดการผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นพบว่า รูปแบบธุรกิจนี้เน้นและให้ความสําคัญกับต้นทุน/
ผลประโยชน์ ที่เกิดขึ้นในระยะยาวมากกว่าต้นทุน/ผลตอบแทนที่เกิดขึ้นในระยะสั้น โดยความเสี่ยงทาง
การตลาดที่เกิดขึ้นจะถูกแบ่งปันและแบกรับร่วมกันโดยสมาชิกในกลุ่มธุรกิจ
ข้อดีของรูปแบบธุรกิจนี้ คือ การสร้างเครือข่ายและความเชื่อมโยงทางธุรกิจตั้งแต่หน่วยธุรกิจต้นน้ําถึง
ปลายน้ํา ซึ่งถือเป็นการเปิดโอกาสในการเข้าสู่ตลาดให้แก่บริษัทและเกษตรกรรายย่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การ
เข้าสู่ตลาดที่มีมูลค่าสูงอย่างตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche market) เป็นต้น นอกจากนี้ โครงสร้างของธุรกิจใน
ลักษณะนี้ได้ส่งเสริมให้เกิดความหลากหลายทางธุรกิจของชุมชน และมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น
3-9