Page 54 -
P. 54
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กรณีตัวอย่าง : Hariyali Kisaan Bazaars ประเทศอินเดีย
Hariyali Kisaan Bazaars เป็นการเข้ามาดําเนินกิจการในโซ่อุปทานด้วยลักษณะการเป็นร้าน One–
stop–shop ที่ทําหน้าที่เสมือนศูนย์กลางการค้าขายและแลกเปลี่ยนของเกษตรกร โดยเกษตรกรสามารถเข้า
มาใช้บริการเพื่อขายผลผลิตของตน หรือซื้อวัสดุอุปกรณ์ทางการเกษตรและปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ย เมล็ดพันธุ์
สารกําจัดศัตรูพืช เครื่องจักรทางการเกษตร อาหารสัตว์ ก็ได้ สินค้าแต่ละประเภทที่จัดจําหน่ายในร้านค้าจะมี
ให้เลือกจากหลายแบรนด์ และมีหลายราคา นอกจากนี้พนักงานของร้านค้าทุกสาขายังผ่านการอบรมเพื่อให้
คําแนะนําแก่เกษตรกรอีกด้วย และยิ่งไปกว่านั้น บริษัท Hariyali Kisaan Bazaars ยังร่วมมือกับ ICICI Bank
ในการสนับสนุนด้านประกันและสินเชื่อ รวมทั้งยังให้บริการ Agricultural credit card เพื่อบรรเทาปัญหา
เงินทุนหมุนเวียนให้แก่เกษตรกรอีกด้วย จากการดําเนินงานที่ผ่านมาพบว่า บริษัทเป็นที่นิยมอย่างมากในกลุ่ม
เกษตรกรในประเทศอินเดีย แต่อาจมีข้อเสียคือ รูปแบบลักษณะธุรกิจของบริษัทอาจเข้าไปแทนที่ธุรกิจร้านค้า
รูปแบบธุรกิจทั้งสี่แบบข้างต้น คือ รูปแบบธุรกิจที่ยังเปิดโอกาสให้เกษตรกรมีบทบาทสําคัญในการ
ตัดสินใจดําเนินการผลิตหรือดําเนินธุรกิจ โดยไม่ลดฐานะของเกษตรกรเป็นเพียงผู้ขายแรงงานในพื้นที่เท่านั้น
และในการแบ่งรูปแบบก็ไม่ได้แบ่งตามวัตถุประสงค์ของการดําเนินธุรกิจว่าเป็นแบบแสวงหาผลกําไรหรือไม่
แสวงหาผลกําไร อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของการดําเนินกิจการซึ่งมีผลอย่างมากต่อการ
ออกแบบโครงสร้างและรูปแบบธุรกิจในพื้นที่ เราสามารถแบ่งรูปแบบธุรกิจได้เป็นสองแบบหลัก คือ 1) ธุรกิจที่
มุ่งแสวงผลกําไรธุรกิจเป็นหลัก ในลักษณะการดําเนินธุรกิจจึงไม่ได้ให้ความสําคัญกับประเด็นการพัฒนาสังคม
และสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของเกษตรกร กลุ่มนี้คือกลุ่มธุรกิจทั่วไปหรือ mainstream business และ
2) ธุรกิจที่ไม่มุ่งแสวงหาผลกําไรและหนึ่งให้วัตถุประสงค์การทําธุรกิจคือการสร้างประโยชน์ให้สังคม ยกระดับ
ชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร รักษาสิ่งแวดล้อมหรืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งมักเรียกกันว่ากลุ่มกิจการ
เพื่อสังคมหรือ social enterprise กลุ่มนี้กําลังมีบทบาทที่สําคัญและถือเป็นเครื่องมือในการพัฒนาพื้นที่ที่ขาด
ความสมดุลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม
3.1.5 กิจการเพื่อสังคม/ กิจการไม่หวังผลกําไร(Social enterprise/non- profit
organization)
การเคลื่อนไหวในยุคปัจจุบันเพื่อผลักดันกิจการเพื่อสังคมนั้นเกิดมาจากความเชื่อดั้งเดิมที่ว่า แม้การ
ดําเนินธุรกิจทั่วไปจะให้ประโยชน์กับสังคมได้ แต่เพื่อให้การดําเนินธุรกิจเกิดประโยชน์กับสังคมมากที่สุด มี
ความจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับลดจุดมุ่งหมายเชิงพาณิชย์ของธุรกิจนั้น เพื่อที่จะสามารถปกป้องกลุ่มที่
60
อ่อนแอกว่าหรือยากจนสังคมได้ ในเชิงวิชาการนั้น การให้คําจํากัดความกิจการเพื่อสังคมเป็นเรื่องยาก และ
ยังเป็นข้อถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง เนื่องมาจากนักวิชาการมองกิจการเพื่อสังคมจากหลายแง่มุม บ้างให้
ความสําคัญกับวัตถุประสงค์ บ้างให้ความสําคัญกับลักษณะการดําเนินธุรกิจ ในขณะที่นักวิชาการบางท่านให้
ความสําคัญกับลักษณะการก่อตั้งและโครงสร้างการบริหาร ในภูมิภาคยุโรป นิยามที่ค่อนข้างโดดเด่นคือนิยาม
60
Smith and Darko, 2014
3-11