Page 58 -
P. 58
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จะถูกนํามาใช้ในกิจกรรมเพื่อชุมชนในด้านต่างๆตามข้อกําหนด เช่น การพัฒนาด้านสาธารณูปโภคในชุมชน
การสร้างห้องสมุด การสร้างสนามเด็กเล่น เป็นต้น
สําหรับจุดแข็งของรูปแบบกิจการเพื่อสังคมกาแฟอินทรีย์มีวนาคือ การใช้ระบบการค้าแบบ Fair
trade ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ําด้วยการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกกาแฟอินทรีย์ร่วมกับ
ป่าได้โดยไม่ทําลายสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เนื่องจากกาแฟเป็นพืชที่ต้องการร่มเงาสูง ดังนั้นการปลูกกาแฟร่วมกับป่า
จึงทําให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพดี มีรสชาติและกลิ่นที่ดีกว่ากาแฟที่ปลูกในพื้นที่กลางแจ้งโดยทั่วไปอีกทั้ง สินค้า
ยังมีจุดเด่นในด้านของการเป็นกาแฟที่ปลูกด้วยระบบอินทรีย์ป่า (Organic forest coffee) ซึ่งจัดเป็นอุปทาน
ของกาแฟชนิดพิเศษ (Specialty coffee) ที่มีเพียงร้อยละ 1 ของกาแฟที่ผลิตได้ในโลกนี้เท่านั้น ดังนั้น กาแฟ
อินทรีย์มีวนาจึงเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาด
จากการดําเนินงานที่ผ่านมาของกิจการเพื่อสังคมกาแฟอินทรีย์มีวนา พบว่า ผืนป่าในบริเวณเขตป่าต้น
น้ําแม่ลาว แม่สรวย และแม่กรณ์ จังหวัดเชียงราย ได้รับการฟื้นฟู มีพื้นที่ป่าและความหลากหลายทางชีวภาพ
เพิ่มมากขึ้น เกษตรกรที่ได้เข้าร่วมโครงการต่างก็มีคุณภาพชีวิตและรายได้ที่ดีขึ้นจากการใช้ระบบการค้าแบบ
Fair trade เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นในชุมชน มีความมั่นคงในเศรษฐกิจท้องถิ่น ชุมชนมีความเข้มแข็ง และ
ชุมชนเกิดจิตสํานึกที่ดีในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3.2 การลงทุนด้านการเกษตรในที่สูงของไทย
การดําเนินธุรกิจการเกษตรโดยเกษตรกรพื้นที่สูงของไทยมีทั้งที่เป็นการค้าขายสินค้าแบบดั้งเดิมที่มี
พ่อค้าคนกลางเข้าไปรับซื้อผลผลิตถึงในพื้นที่หรือเกษตรกรนําสินค้าเกษตรออกมาขายในตลาดท้องถิ่น การทํา
เกษตรพันธะสัญญา และรูปแบบที่เกษตรกรรวมตัวกันเป็นวิสาหกิจชุมชนเพื่อส่งสินค้าไปขายตามที่ต่างๆ หรือ
หาตลาดเฉพาะ ข้อดีและข้อจํากัดของรูปแบบเหล่านี้ก็จะสอดคล้องไปกับผลการศึกษาจากวรรณกรรมที่
ทบทวนมาข้างต้น อย่างไรก็ดี ในกรณีของประเทศไทย รูปแบบการลงทุนและพัฒนาในพื้นที่สูงที่มีบทบาท
สําคัญมายาวนานและกระจายอยู่ตามพื้นที่สูงในหลายจังหวัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางภาคเหนือของไทยคือ
รูปแบบธุรกิจที่ได้รับการสนับสนุนและมาพร้อมกับการพัฒนาในองค์รวมของโครงการหลวงและสถาบันวิจัย
และพัฒนาพื้นที่สูง แม้ตัวโครงการเองอาจไม่สามารถถือเป็นรูปแบบธุรกิจของเกษตรกรรายย่อย แต่การ
ช่วยเหลือและพัฒนาในด้านช่องทางตลาดของโครงการ ปัญหาและความท้าทายที่โครงการประสบสามารถ
นําไปใช้ประกอบการพิจารณาคุณสมบัติที่เหมาะสมของธุรกิจเกษตรที่สร้างความยั่งยืนในพื้นที่สูงได้
โครงการหลวงมีจุดกําเนิดจากเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเยี่ยมราษฎรบนดอยต่างๆ ใน
เชียงใหม่ และทรงพบเห็นสภาพความแร้นแค้นของชาวเขาซึ่งขณะนั้นดํารงชีพด้วยการปลูกฝิ่นและถางป่าเพื่อ
ทําไร่เลื่อนลอยทําให้ป่าต้นน้ําถูกทําลายเป็นจํานวนมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดําริและ
พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ในการจัดตั้งโครงการหลวงขึ้นในปี พ.ศ. 2512 เพื่อพัฒนาเกษตรพื้นที่สูง ลด
การปลูกฝิ่นและอนุรักษ์ป่าต้นน้ํา เนื่องจากโครงการได้รับความร่วมมือและประสานงานจากหน่วยงานของ
ภาครัฐ อาสาสมัครผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ มีบุคลากรในโครงการมากขึ้นเรื่อยๆ จึงมีพระราชดําริให้
จัดตั้งเป็นมูลนิธิโครงการหลวงในปี พ.ศ. 2535 เพื่อเป็นองค์กรนิติบุคคล มีกฎหมายรองรับ มีระบบการบริหาร
3-15