Page 59 -
P. 59
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จัดการที่ทําให้ทํางานได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคงปัจจุบันมูลนิธิโครงการหลวงมีสถานีวิจัย 4 แห่งและศูนย์
พัฒนาโครงการหลวงกระจายอยู่ตามพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยาและลําพูน รวม
ทั้งหมด 38 ศูนย์ พื้นที่ที่อยู่ภายใต้การพัฒนาของโครงการถึง 149,257.12 ไร่ส่วนใหญ่อยู่บนเทือกเขา สูงจาก
ระดับน้ําทะเล 700 เมตรขึ้นไป มีเกษตรกรที่อยู่ในโครงการกว่า 151,277 คนหรือกว่า 30,000 ครัวเรือน ซึ่งมี
ทั้งที่เป็นคนเมืองและชาวเขากว่า 13 เผ่า ทํางานทั้งด้านการวิจัยพัฒนาทั้งพันธุ์พืชและสัตว์ที่เหมาะสมกับแต่
ละพื้นที่
กระบวนการทํางานที่มูลนิธิโครงการหลวงให้ความสําคัญมากที่สุดคืองานวิจัย โดยเริ่มตั้งแต่งานวิจัย
เพื่อคัดเลือกพันธุ์พืชและสัตว์ที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ วิธีการปลูกและการจัดการพืช ดิน ศัตรูพืช การเก็บ
เกี่ยว การแปรรูปผลิตภัณฑ์ อีกทั้งงานวิจัยด้านต้นทุนการผลิต การตลาด การอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ
งานด้านสังคม การศึกษา งานวิจัยได้พัฒนาต่อเนื่องเป็นงานส่งเสริมและพัฒนาในองค์รวมเพื่อยกระดับ
คุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ นอกจากนี้โครงการหลวงให้ความสําคัญมากกับคุณภาพผลผลิตที่ได้มาตรฐาน
ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชตามระบบเพาะปลูกที่ดี (GAP) ให้ผลผลิตปลอดภัยจากสารเคมีและไม่เกิดผล
กระทบกับแหล่งน้ําหรือพื้นที่ปลูก พัฒนาขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์สารตกค้างและระบบการจัดการคุณภาพ
ให้ความเชื่อมั่นด้านอาหารปลอดภัยและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ผลผลิตที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทั้ง 38 แห่ง
รวบรวมจากเกษตรกรในพื้นที่จะถูกส่งมายังศูนย์ผลิตผลโครงการหลวงซึ่งทําหน้าที่คัดบรรจุ และมีส่วนที่แยก
ส่งไปยังโรงงานอาหารแปรรูปที่เชียงใหม่ ตลอดขั้นตอนการคัดบรรจุ และการแปรรูปเน้นการควบคุมคุณภาพ
ตามมาตรฐาน GMP และ HACCP
งานที่มีบทบาทมากต่อความสําเร็จของโครงการหลวงคือการตลาด ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ. 2524 โดยเน้น
ส่งผลผลิตพืชเมืองหนาวของเกษตรกรออกจําหน่าย จนปัจจุบันระบบการตลาดของโครงการเป็นระบบครบ
วงจรเน้นสินค้าคุณภาพสูงปลอดภัยจากสารตกค้าง โครงการหลวงมีทั้งร้านค้าของตนเองและมีช่องทางการจัด
จําหน่าย กระจายไปตามไฮเปอร์มาร์เก็ตและซุปเปอร์มาร์เก็ตที่มีสาขาควบคุมทั่วประเทศ รวมถึงกลุ่มโรงแรม
และร้านอาหาร
มูลนิธิโครงการหลวงถือเป็นโครงการแรกของโลกที่ประสบความสําเร็จในการขจัดพื้นที่ปลูกฝิ่นด้วยวิธี
ที่สร้างสรรค์ผ่านแนวทางการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในที่สูงอย่างเหมาะสม จนสามารถทําให้ชาวเขาหันมา
ปลูกพืชเมืองหนาวแทนการปลูกฝิ่น แนวทางการดําเนินงานของมูลนิธิโครงการหลวงได้รับการยอมรับจาก
องค์กรและหน่วยงานต่างๆ ทั่วโลก การพัฒนาตามต้นแบบของโครงการหลวงได้ขยายไปยังประเทศต่างๆ เช่น
ภูฏาน อัฟกานิสถาน โคลัมเบีย และประเทศเพื่อนบ้านในเอเชีย
สําหรับสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงนั้น เริ่มดําเนินงานพัฒนาพื้นที่สูงตั้งแต่เมื่อยังมีสถานะเป็นกอง
พัฒนาเกษตรที่สูง สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดตั้งในปี พ.ศ. 2535 เพื่อทําหน้าที่ประสานงานและรับ
โอนงานบางส่วนจากมูลนิธิโครงการหลวง ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสํานักพัฒนาเกษตรที่สูงจนกระทั่งรัฐบาลมี
นโยบายที่จะสนับสนุนการขยายผลของการโครงการหลวงสู่พื้นที่สูงที่ห่างไกลและทุรกันดารอื่นๆ ต้องการ
หน่วยงานที่สามารถบริหารจัดการได้อย่างกว้างขวางและคล่องตัวในการดําเนินงาน จึงมีพระราชกฤษฎีกา
จัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) หรือ สวพส. ขึ้นในปี พ.ศ. 2548 สวพส. มีภารกิจ
3-16