Page 61 -
P. 61
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การเจรจาต่อรองกับตลาดก่อนปลูก วางแผนการผลิต ประมาณการผลผลิต เจรจาต่อรองก่อนส่งมอบผลผลิต
รวบรวมการผลิต ควบคุมคุณภาพ และส่งมอบผลผลิต
เนื่องจากโครงการหลวงเป็นรูปแบบการพัฒนาบนพื้นที่สูงที่ประสบความสําเร็จในหลายพื้นที่ ทําให้มี
การศึกษาในเชิงวิชาการเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของเกษตรกร มิติความยั่งยืนต่างๆ ในพื้นที่โครงการหลวง
พอสมควร ตัวอย่างเช่น Bila et al. (2007) ศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมจากการที่เกษตรกร
ในพื้นที่หมู่บ้านต้นผึ้ง จ.พะเยา เข้าร่วมโครงการเกษตรพันธะสัญญากับโครงการหลวงโดยพื้นที่บริเวณนี้เดิม
เป็นแหล่งปลูกฝิ่น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2526-2527 ที่โครงการหลวงได้เริ่มเข้ามาพัฒนาพื้นที่ และเริ่มใช้ระบบ
เกษตรพันธะสัญญา ในปัจจุบันร้อยละ 50 ของครัวเรือนทั้งหมดในหมู่บ้านเข้าร่วมกับโครงการหลวง โครงการ
หลวงทําเกษตรพันธะสัญญารับซื้อผลผลิตกับเกษตรกรที่ปลูกผักและสมุนไพร ซึ่งเป็นเกษตรกรที่เข้าถึงแหล่ง
น้ําการเกษตร เกษตรกรในพื้นที่โดยทั่วไปจะปลูกกะหล่ําปลีและหัวหอมแดง เพื่อขายและปลูกเพื่อใช้บริโภคใน
ครัวเรือนเกษตรกรที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการจะขายผลผลิตให้กับพ่อค้าคนกลางหรือตลาดใกล้เคียง สําหรับ
เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการหลวง โครงการหลวงสนับสนุนการปลูกผักสลัดคอส ผักกาดแก้ว กะหล่ําปลี
ผักกาดหางหงส์ ไม้ประดับและสมุนไพรต่างๆ สําหรับผักอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในการสนับสนุนของโครงการ
66
เกษตรกรจะขายกับตลาดทั่วไป
เกษตรกรต้องยอมรับเงื่อนไขราคาและคุณภาพที่โครงการหลวงกําหนดไว้ตามสัญญา โครงการหลวง
จะเป็นผู้กําหนดปริมาณการผลิต ปริมาณปุ๋ยและยาฆ่าแมลงที่สามารถใช้ได้ช่วงเวลาการใช้ โดยจะมีเจ้าหน้าที่
ภาคสนามลงตรวจสอบพื้นที่การเพาะปลูกของเกษตรกรเป็นระยะโครงการหลวงเสนอราคาให้กับเกษตรกรใน
2 รูปแบบด้วยกันคือ 1) ราคาใช้ราคาตลาดที่เป็นอยู่ในช่วงเวลาที่ส่งมอบผลผลิต และ 2) กําหนดราคาคงที่ให้
ล่วงหน้า
ถ้าเกษตรกรเลือกแบบที่หนึ่ง ราคาจะปรับตามราคาตลาด เกษตรกรต้องระบุในสัญญาว่าจะส่งผลิตผล
ของพืชแต่ละชนิดในปริมาณเท่าใด ของคุณภาพเกรดใด ถ้าสินค้าส่งไปขายที่ตลาดระดับบนได้ เกษตรกรจะ
ได้รับค่าตอบแทนสูง แต่ถ้าไม่ได้โครงการก็จะส่งผลผลิตไปขายในตลาดอื่นและขายในราคาที่ถูกลง หรือถ้าไม่
สามารถขายได้เลย สินค้าทั้งหมดก็จะถูกส่งกลับคืนมาให้ยังเกษตรกรเพื่อทําการขายเอง
ถ้าเกษตรกรเลือกแบบที่สอง ราคากําหนดตายตัวตามที่ระบุไว้ในสัญญา เกษตรกรจะต้องระบุใน
สัญญาว่าจะจัดส่งผลิตผลให้โครงการในปริมาณเท่าไร และรับทราบราคารับซื้อผลผลิตในแต่ละระดับคุณภาพ
หลังจากเก็บเกี่ยวและตรวจสอบคุณภาพของผลผลิตแล้ว เกษตรกรจะได้รับราคารับซื้อตามที่ระบุไว้ในสัญญา
66 เมื่อเกษตรกรแสดงความประสงค์ขอทําสัญญากับโครงการ เจ้าหน้าที่โครงการจะสอบถามประวัติการทํา
เกษตรและความต้องการปลูกของเกษตรกร รวมไปถึงการตรวจสอบว่าเกษตรกรผ่านเกณฑ์ต่างๆที่กําหนดไว้
ของโครงการหรือไม่ โดยเกณฑ์สําคัญคือ ทักษะของเกษตรกร การเข้าถึงแหล่งน้ําเพื่อทําการเกษตร ทุนการ
ผลิตทั้งทางด้านแรงงานและเงิน แผนการผลิตที่สอดคล้องกับคุณลักษณะพื้นที่ รวมไปถึงคุณภาพและขนาด
ของที่ดินที่มีอยู่ ทั้งนี้เกษตรกรสามารถแสดงความประสงค์ได้ว่าต้องการปลูกอะไร โดยโครงการหลวงจะเป็นผู้
พิจารณาว่าสามารถทําได้หรือไม่
3-18