Page 50 -
P. 50
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กรณีตัวอย่าง : ประเทศมาเลเซีย
รัฐบาลประเทศมาเลเซียสนับสนุนให้เกิดธุรกิจการเกษตรรูปแบบการร่วมทุน 3 ฝ่ายหรือ 3–ways
Joint venture ขึ้น โดยทั้ง 3 ฝ่าย ประกอบด้วย รัฐบาล บริษัทเอกชน และเกษตรกรรายย่อย โดยรัฐจะเป็นผู้
คัดเลือกบริษัทเอกชนที่เหมาะสมเพื่อเข้าร่วมลงทุน บริษัทที่ได้รับการคัดเลือกจะมีหน้าที่ในการสนับสนุนด้าน
ทุนทรัพย์และองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย โดยบริษัทจะมีสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของกิจการด้วยการถือหุ้น
ร้อยละ 60 ส่วนเกษตรกรที่เข้าร่วมเป็นเจ้าของกิจการจะเป็นผู้สนับสนุนปัจจัยการผลิตด้านที่ดิน ซึ่งจะมีส่วน
แบ่งในกิจการร้อยละ 30 ส่วนแบ่งที่เหลืออีกร้อยละ 10 จะถือครองโดยรัฐ ซึ่งรัฐจะมีหน้าที่หลักในการกํากับ
ี ้ ้ ึ ใ
3.1.3 กลุ่มเกษตรกรเป็นเจ้าของธุรกิจ (Farmer – owned business)
เป็นลักษณะรูปแบบที่เกิดจากการรวมกลุ่มกันของเกษตรกรเพื่อการทําธุรกิจ หรือเพื่อการก่อตั้งเป็น
บริษัท โดยรูปแบบของการรวมกลุ่มของเกษตรกรมี 3 รูปแบบด้วยกันคือ
1) การรวมกลุ่มเพื่อก่อตั้งสมาคม (Associations)หรือ ทําหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นตัวแทนของกลุ่ม
เกษตรกร ซึ่งโดยมากจะไม่มีเรื่องของผลกําไรเข้ามาเกี่ยวข้อง
2) ทรัสต์(Trusts) เป็นกลุ่มเกิดขึ้นโดยการทําสัญญาซึ่งอยู่บนรากฐานของความไว้ใจ ไม่ได้มีสภาพ
เป็นนิติบุคคล กลุ่มมีหน้าที่หลักเพื่อการบริหารจัดการทรัพย์สินและผลประโยชน์ให้แก่ผู้รับ
ประโยชน์ (Beneficiaries) หรือเพื่อการกุศล
3) การรวมกลุ่มเพื่อก่อตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจ(Enterprise) ซึ่งรวมถึงสหกรณ์ ห้างหุ้นส่วน หรือ
แม้กระทั่งก่อตั้งเป็นบริษัทที่เกษตรกรร่วมกันเป็นเจ้าของ การรวมกลุ่มในลักษณะนี้จะมี
วัตถุประสงค์มุ่งเน้นเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า และเพื่อบริหารจัดการแผนการผลิตของสมาชิก
ในกลุ่ม
ในรูปแบบธุรกิจนี้ เกษตรกรรายย่อยในกลุ่มจะร่วมกันเป็นเจ้าของธุรกิจและดําเนินธุรกิจร่วมกัน โดย
การตัดสินใจทางธุรกิจของกลุ่มจะใช้การออกเสียงแบบหนึ่งสมาชิกหนึ่งเสียง (one member, one vote)
หรือหนึ่งหุ้นหนึ่งเสียง (one share, one vote) ซึ่งการรวมกลุ่มของเกษตรกรจะช่วยให้การติดต่อและทํา
การค้ากับหน่วยเศรษฐกิจอื่นสามารถทําได้ง่ายขึ้น และยังเป็นการเพิ่มอํานาจต่อรองในการทําธุรกิจของ
เกษตรกรให้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
3-7