Page 45 -
P. 45
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บุคคลภายนอกเป็นเจ้าของเพื่อทําการเกษตร (tenant/sharing cropping) การร่วมทุน (joint venture)
เกษตรกรเป็นเจ้าของธุรกิจเอง (farmer-owned business) เช่น วิสาหกิจชุมชน และการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้
ซื้อผู้ขายโดยตรง (upstream/downstream business link) อย่างไรก็ดีการแบ่งลักษณะรูปแบบธุรกิจใน
ลักษณะนี้เป็นการแบ่งกลุ่มแบบหยาบๆ เท่านั้น เนื่องจากในความเป็นจริง แต่ละชุมชนอาจมีการผสมผสาน
หลายรูปแบบเข้าด้วยกัน เพื่อให้เหมาะสมกับชุมชนมากที่สุด
ในส่วนถัดไป ผู้วิจัยจะประมวลข้อดีและข้อจํากัดของแต่ละรูปแบบธุรกิจผ่านการพิจารณาใน 4 มิติ
ได้แก่ 1) มิติด้านการแบกรับความเสี่ยงด้านการผลิต 2) มิติการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางธุรกิจ 3) มิติการ
เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและ 4) มิติการแบ่งปันผลประโยชน์และภาระต้นทุน อย่างไรก็ดี เนื่องจากงานวิจัย
ชิ้นนี้ต้องการศึกษาความสัมพันธ์ของรูปแบบธุรกิจกับตัวแปรที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของชุมชน ในการทบทวน
วรรณกรรมทั้งของประเทศไทยและในต่างประเทศ จึงเน้นไปที่รูปแบบธุรกิจหรือข้อตกลงที่ยังให้เกษตรกรราย
ย่อยเป็นผู้เล่นที่สําคัญ ผู้วิจัยจึงจะไม่กล่าวถึงกรณีการทําสัญญาให้บุคคลภายนอกมาเช่าที่เพื่อผลิตหรือบริหาร
(lease/management contract) และการไปขอเช่าที่ที่บุคคลภายนอกเป็นเจ้าของเพื่อทําการเกษตร
(tenant/sharing cropping) เนื่องจากสิทธิ์ในการถือครองที่ดินอย่างชัดเจนของเกษตรกรมีความสําคัญมาก
สําหรับรูปแบบธุรกิจทั้งสองแบบนี้ รูปแบบการทําสัญญาให้บุคคลภายนอกมาเช่าที่ดินของเกษตรกรเพื่อบริหาร
จัดการหรือทําการผลิตบนพื้นที่ สิทธิ์การถือครองที่ดินถือเป็นเครื่องมือต่อรองที่สําคัญของเกษตรกร
เช่นเดียวกับกรณีเกษตรกรไปเช่าที่ที่เป็นของบุคคลภายนอกหรือบริษัทการเกษตรเพื่อทําการเกษตร นั่น
หมายถึงว่าภาครัฐต้องให้สิทธิการถือครองที่ดินบนที่ชันในลักษณะปัจเจกมีการซื้อขายได้ แม้ทั้งสองรูปแบบนี้
จะมีปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายสําหรับการเกษตรในพื้นที่ราบแต่ก็ไม่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่สูงซึ่งโดยมาก
เกษตรกรจะประกอบอาชีพในพื้นที่ที่ตนไม่มีเอกสารสิทธิ์ นอกจากนี้ ผู้วิจัยจะไม่กล่าวถึงรูปแบบการกว้านซื้อ
ที่ดินจํานวนมาก (large-scale acquisition)เช่น การให้บริษัทการเกษตรหรือนายทุนภายนอกมาซื้อที่ขนาด
ใหญ่ซึ่งรวมจากของเกษตรกรหลายรายเพื่อการผลิตในระยะเวลาที่ยาวนานมาก เนื่องจากขัดกับหลักกฎหมาย
52
ของไทยที่ห้ามชาวต่างชาติซื้อและครอบครองที่ดินโดยตรง และขัดกับหลักการการสร้างความยั่งยืนให้กับ
ชุมชน เพราะสิ่งที่ชุมชนจะได้กลับมาเป็นเพียงการจ้างงานในราคาถูกแต่ต้องสูญเสียสิทธิ์ในการเข้าถึงพื้นที่ การ
ใช้น้ําและทรัพยากร ส่งผลเสียอย่างรุนแรงต่อความมั่นคงทางอาหารและถือเป็นการทําลายวัฒนธรรม
53
การเกษตรในพื้นที่ ไม่สามารถยกระดับความเป็นอยู่ให้เกษตรกรได้
52 การลงทุนภาคเกษตรกรของนักลงทุนต่างชาติในหลายภูมิภาคทั่วโลกมักจะครอบครองที่ดินในลักษณะการเช่าซื้อระยะยาว
เช่น 50 ปี หรืออาจยาวนานถึง 99 ปี มากกว่าเป็นการซื้อขาด ทั้งนี้เพราะหลายประเทศมีกฎหมายห้ามชาวต่างชาติซื้อและ
ครอบครองที่ดินโดยตรง และไทยก็เป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศที่บังคับใช้กฎหมายนี้ อย่างไรก็ดี ผลกระทบต่อชุมชนในกรณีการ
เช่าที่ดินระยะยาวก็ไม่ต่างอะไรกับการซื้อและเป็นเจ้าของที่ดินโดยตรงเพราะระยะเวลาการเช่านั้นยาวนานมาก
53
ดูตัวอย่างใน Poulton et al., 2008; Vermeulen and Cotula, 2010และLiu, 2014ชี้ว่า การลงทุนเกษตรในลักษณะการ
เข้าไปถือครองที่ดินขนาดใหญ่มักส่งผลเสียมากกว่าผลดีต่อชุมชนท้องถิ่นที่รับการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่สิทธิ
เรื่องที่ดินของชุมชนท้องถิ่นขาดความชัดเจน การปกครองและการบริหารอ่อนแอ ชุมชนท้องถิ่นจะไม่สามารถเข้าถึงการใช้
ทรัพยากรจนความเป็นอยู่แย่ลง เกิดการต่อต้านกับรัฐบาลที่อนุญาตให้เกิดการลงทุน
3-2