Page 216 -
P. 216
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ส่งผลกระทบรุนแรงมากกับเกษตรกร กลไกสําคัญที่จะต้องมารองรับการใช้แนวทางปลูกพืชหลาย
ชนิดหรือปลูกผสมผสานคือ การรวมกลุ่มเพื่อขาย เนื่องจากเกษตรกรแต่ละรายปลูกพืชแต่ละชนิด
ในปริมาณไม่มาก จําเป็นที่ต้องมีกลไกลดต้นทุนการขนส่งและต้นทุนดําเนินการอื่นๆ
นอกจากนี้ ยังพบว่าในหลายพื้นที่ของน่านเกษตรกรเลือกการทําปศุสัตว์เช่น การเลี้ยงโค
กระบือ เป็นการกระจายความเสี่ยงช่องทางหนึ่ง และเน้นแนวทางการเลี้ยงดูแบบธรรมชาติทําให้
มีต้นทุนการเลี้ยงต่ํา สัตว์เหล่านี้มีราคาสูงจึงเป็นเหมือนหลักทรัพย์ที่สําคัญของเกษตรกรไปด้วย
2) การกระจายตลาดขายผลผลิต สําหรับพื้นที่ที่ยังต้องเน้นการปลูกพืชชนิดเดียวเป็นหลัก เช่น ใน
พื้นที่บ้านป่ากลาง แม้ว่ากลุ่มเกษตรกรมีรายได้หลักในระดับค่อนข้างสูงจากการขายมะม่วง
คุณภาพสูงให้บริษัทส่งออกผลไม้ไปต่างประเทศซึ่งมีความผันผวนของราคาไม่มากนัก แต่
เกษตรกรยังคงเผชิญความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากปริมาณการรับซื้อของผู้ส่งออก กลุ่มเกษตรกรจึงเริ่ม
ใช้ช่องทางการปลูกมะม่วงหลายพันธุ์เพื่อตอบสนองความต้องการของหลายตลาดได้ โดยปลูก
มะม่วงน้ําดอกไม้ตามความต้องการของตลาดญี่ปุ่น เกาหลี ปลูกมะม่วงสีทองตามความต้องการ
ตลาดไต้หวันและจีนซึ่งมีรสนิยมต่างออกไป และยังปลูกมะม่วงเขียวเสวยเพื่อขายตลาดใน
ประเทศ
นอกจากนี้ การแปรรูปยังสามารถใช้เป็นกลไกหนึ่งในการกระจายตลาดขายผลผลิตได้
เช่นกัน ตัวอย่างเช่น กลุ่มเกษตรกรในหมู่บ้านสันเจริญซึ่งมีรายได้หลักมาจากการปลูกกาแฟใช้
วิธีการขายสินค้าที่หลากหลายตามขั้นตอนการแปรรูปคือ ขายทั้งในรูปแบบเมล็ดกาแฟสด กะลา
กาแฟสาร และเมล็ดกาแฟคั่ว ทําให้มีตลาดที่หลากหลายมารองรับ ทั้งนี้ การรวมกลุ่มของ
เกษตรกรก็มีบทบาทสําคัญในกลไกการกระจายตลาดเช่นกัน เนื่องจากในการขยายหรือหาตลาด
รองรับเพิ่มจําเป็นที่ต้องมีปริมาณสินค้ารวมมากพอ
3) ระบบเกษตรพันธะสัญญาระบบเกษตรแบบพันธะสัญญาเป็นอีกกลไกหนึ่งที่สามารถช่วยลดความ
เสี่ยงจากความผันผวนทางราคาและตลาด โดยเกษตรกรจะทราบราคารับซื้อและปริมาณรับซื้อ
ล่วงหน้าและถือเป็นสิ่งที่ช่วยในการตัดสินใจก่อนที่จะดําเนินการผลิต เช่น เกษตรกรทําพันธะ
สัญญาปลูกเมล็ดพันธุ์ อย่างไรก็ดี จุดอ่อนสําคัญของการทําเกษตรพันธะสัญญาในหลายพื้นที่คือ
การที่เกษตรกรจะต้องพึ่งพิงกับบริษัทค่อนข้างมาก ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันด้านข้อมูลระหว่าง
เกษตรกรและบริษัท โดยส่วนใหญ่ในปัจจุบันบริษัทเป็นผู้นําเสนอข้อมูลให้กับเกษตรกรเพียงด้าน
เดียวโดยที่เกษตรกรยังไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้รับ เช่น ข้อมูลการ
คาดการณ์ตลาดในอนาคต ข้อมูลการผลิต เป็นต้น นอกจากนี้ เกษตรกรยังประสบปัญหาความ
เสี่ยงในกรณีที่บริษัทยกเลิกหรือไม่ต่อสัญญาในขณะที่เกษตรกรมีอํานาจการต่อรองค่อนข้างน้อย
พืชที่บริษัทต้องการทําพันธะสัญญามักเป็นพืชที่ต้องใช้ทักษะและแรงงานในการดูแลสูง (เกษตร
ประณีต) และมักมีต้นทุนปัจจัยการผลิตสูง อยู่ใกล้เส้นทางการคมนาคมหลักเนื่องจากบริษัทรับ
ซื้อจะต้องเข้ามาตรวจสอบดูแลเป็นระยะ ทําให้การเลือกใช้วิธีการเกษตรพันธะสัญญาเป็นการ
ตัดสินใจของบริษัทไม่ใช่จากเกษตรกร
8-9