Page 211 -
P. 211
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- การพัฒนาคุณภาพผลผลิต ซึ่งผลผลิตมีราคาต่อหน่วยสูงขึ้นและมีความผันผวนน้อยกว่าผลผลิตใน
ตลาดทั่วไป ในการผลิตผลผลิตที่มีคุณภาพสูงเกษตรกรจะต้องทุ่มเทกับการพัฒนาคุณภาพ
มากกว่าปริมาณ และลูกค้าที่เห็นคุณค่าของความพยายามนั้นและยินดีที่จะซื้อผลผลิตในราคา
สูงขึ้น ในพื้นที่บ้านมณีพฤกษ์ เจ้าของธุรกิจ Gem Forest พร้อมที่จะกําหนดราคารับซื้อขั้นต่ํา
ล่วงหน้าก่อนการเก็บเกี่ยว 2 เดือนและกําหนดสูงกว่าราคารับซื้อจากพ่อค้าจากภายนอก เช่น
พ่อค้าภายนอกรับซื้อเมล็ดกาแฟเชอร์รี่ที่ราคา 22 บาท ต่อ กก. แต่ Gem forest รับซื้อที่ 25
บาทต่อ กก. เพื่อให้เกษตรกรสามารถทุ่มเทกับการรักษาคุณภาพในช่วงการเก็บเกี่ยวผลผลิตได้
หรือในกรณีบ้านสันเจริญ เจ้าของธุรกิจแปรรูปกาแฟที่มีคุณภาพสูงจะยินดีกําหนดราคารับซื้อ
ผลผลิตล่วงหน้าจากเกษตรกรที่สูงกว่าการรับซื้อทั่วไปประมาณ 1-1.50 บาทต่อ กก. เนื่องจาก
ผลผลิตที่มีคุณภาพสูงนี้มีผลผลิตจากแหล่งอื่นมาทดแทนได้ยาก เช่นเดียวกับเกษตรกรผู้ปลูก
มะม่วงเพื่อการส่งออกในบ้านป่ากลางที่สามารถขายมะม่วงคุณภาพสูงที่ราคา 60-80 ต่อ กก.
ในขณะที่มะม่วงคุณภาพทั่วไปในย่านเดียวกันต้องขายในราคาประมาณ 25 บาทต่อ กก.
ทั้งนี้ การรวมกลุ่มจะมีบทบาทสําคัญในการผลิตผลผลิตที่มีคุณภาพสูง เพราะมีส่วนช่วย
ในการตรวจสอบดูแลคุณภาพผลผลิตระหว่างเกษตรกรด้วยกันเอง การกระจายความรู้ที่จําเป็น
ต่อการสร้างคุณภาพ การลดต้นทุนการตรวจสอบ (monitoring cost)
นอกจากนี้ การเพิ่มผลตอบแทนต่อไร่ผ่านการพัฒนาคุณภาพสินค้า อาจใช้นวัตกรรมเข้า
มาช่วยได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่สูงที่เผชิญข้อจํากัดทางกายภาพเรื่องแหล่งน้ําและการ
คมนาคมซึ่งมีผลมากกับการพยายามรักษาคุณภาพผลผลิตให้สม่ําเสมอ นวัตกรรมเกี่ยวกับการให้
ปุ๋ยในช่วงหน้าแล้ง การรักษาคุณภาพผลผลิตหลังเก็บเกี่ยวและช่วงการขนส่งล้วนมีบทบาทสําคัญ
ในการรักษาผลตอบแทนจากราคาที่สูงขึ้นให้ตกอยู่กับเกษตรกรอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตาม ปัญหาในปัจจุบันที่สําคัญมากประการหนึ่งคือระบบการตรวจสอบและ
138
รับประกันคุณภาพผลผลิตมักจะมีต้นทุนสูง ต้องดําเนินการโดยองค์กรภายนอกหรือพ่อค้า
ขนาดใหญ่ ทําให้มูลค่าเพิ่มและผลประโยชน์ที่ได้ตกอยู่กับผู้ดําเนินการตรวจและรับประกัน
คุณภาพซึ่งก็คือองค์กรหรือพ่อค้าขนาดใหญ่ ปัจจัยสําคัญประการหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพ
ผลผลิตให้ได้ผลสําเร็จและให้มูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นตกอยู่กับเกษตรกรในพื้นที่คือ การพัฒนาระบบ
การตรวจสอบคุณภาพของผลผลิตที่มีต้นทุนต่ําและสามารถดําเนินการได้ในระดับชุมชน เช่น
ระบบการตรวจสอบคุณภาพอย่างมีส่วนร่วมจากภายในชุมชนเอง หรือการตั้งมาตรฐานระดับ
ท้องถิ่นที่มีต้นทุนการตรวจสอบต่ําและได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค
- เลือกปลูกพืชที่ใช้จุดเด่นเฉพาะของพื้นที่ การปลูกพืชที่ใช้จุดเด่นเฉพาะของพื้นที่ทําให้ได้ผลผลิตที่
โดดเด่น เป็นที่ต้องการของตลาด และหาสินค้าทดแทนได้ยาก เช่น การปลูกพริกหวานในพื้นที่
138 ตัวอย่างเช่น การตรวจแปลงเพื่อรับรองมาตรฐาน GAP มีต้นทุนสูงถึง 5,000 บาท/แปลง ส่วนการรับรองมาตรฐานเกษตร
อินทรีย์โดยทั่วไปก็มีต้นทุนการดําเนินงานที่สูง
8-4