Page 214 -
P. 214

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                          อาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักมากนักในตลาดอาศัยสินค้าของพื้นที่เดียวกันที่มีชื่อเสียงในตลาดอยู่แล้วใน

                          การสร้างโอกาสให้ได้รับการยอมรับมากขึ้น เช่น พื้นที่ที่มีชื่อเสียงจากคุณภาพกาแฟอยู่แล้ว ก็
                          สามารถดึงบริการด้านท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นหรือในทางกลับกัน พื้นที่ที่เป็นที่ยอมรับ

                          ด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ก็สามารถพัฒนาสินค้าเกษตรจากพื้นที่ให้ได้รับการรับรองจากพื้นที่เอง

                          ภายใต้มาตรฐาน landscape  labeling  เดียวกัน นอกจากนี้ขั้นตอนการดําเนินการของ
                          landscape labeling  ทําให้คนที่เกี่ยวข้องในชุมชนได้ตระหนักถึงคุณค่าที่ชุมชนมีร่วมกัน ริเริ่ม

                          การจัดตั้งและพัฒนาระบบมาตรฐานและการตรวจสอบกันเองภายในชุมชนจากที่ไม่เคยมี ซึ่งจะ
                          ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพสินค้าต่อไป

                                 อย่างไรก็ดี การนําแนวคิด landscape  labeling  ไปประยุกต์ใช้จริงก็มีอุปสรรคหลาย

                          ด้าน แม้ในกรณีที่เกษตรกร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชนตระหนักถึงประโยชน์ของวิธีการนี้ แต่
                          เกษตรกรจําเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือในลักษณะบริการการเกษตรหลายอย่างโดยเฉพาะอย่าง

                          ยิ่งในช่วงเริ่มต้น โครงสร้างพื้นฐานของชุมชนที่ช่วยในการแปรรูปขั้นต้น การรักษาคุณภาพหลัง
                          เก็บเกี่ยวและตลอดจนการขนส่ง ความรู้ในการทําตลาด เป็นเรื่องสําคัญที่กําหนดว่าเกษตรกรจะ

                          ได้รับประโยชน์จากวิธีการนี้อย่างแท้จริงหรือไม่ แต่การที่เกษตรกรต้องดึงความช่วยเหลือจาก

                          ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้รู้จากภายนอกมาช่วยพัฒนาทักษะอาจมีต้นทุนสูงและจําเป็นที่ต้องได้รับการ
                          สนับสนุนจากองค์กรหรือหน่วยงานภายนอก

                                 อุปสรรคที่สําคัญอีกอย่างหนึ่งซึ่งพบว่ามีผลมากในพื้นที่ที่ทดลองใช้แนวคิดนี้ เกษตรกรที่

                          ไม่มีสิทธิ์ถือครองหรือสิทธิ์การใช้ประโยชน์จากที่ดินที่ชัดเจนมักจะขาดแรงจูงใจในการพัฒนาที่ดิน
                          หรือลงทุนปรับเปลี่ยนการทําเกษตรให้เป็นไปตามแนวทางที่สร้างความยั่งยืน ปัญหานี้เป็น

                          อุปสรรคต่อการขยายกลุ่มเกษตรกรที่พร้อมเข้ามาอยู่ในระบบ landscape  labeling  และเมื่อ
                          ปริมาณสินค้าไม่มากพอและขาดความแน่นอนก็จะไม่สามารถดึงดูดความสนใจจากบริษัท

                          ปลายทางขนาดใหญ่ที่ต้องการซื้อสินค้าจํานวนมากจากแหล่งผลิตที่ยึดแนวทางความยั่งยืน

                       4)  การแปรรูป ในกรณีที่สินค้ามีคุณลักษณะเหมาะต่อการแปรรูปและสามารถเพิ่มมูลค่าได้ การแปร
                          รูปเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มผลตอบแทนต่อไร่ให้เกษตรกร เช่น ในกรณีของกาแฟ เกษตรกร

                          สามารถแปรรูปกาแฟสดผ่านการกระเทาะเปลือก ตากกะลา สีกะลา คั่วสารกาแฟ จนกระทั่ง
                          สามารถขายในรูปเมล็ดกาแฟคั่วซึ่งมีมูลค่าเพิ่มสูงกว่าการขายเมล็ดกาแฟสดอย่างมาก เช่น เมล็ด

                          กาแฟเชอร์รี่สายพันธุ์ Catimor ซึ่งรับซื้อที่ราคา 25 บาทต่อเมล็ดกาแฟสด 1 กก. สามารถนําไป

                          แปรรูปเป็นเมล็ดกาแฟคั่วขายได้ในราคา 800 บาทต่อเมล็ดกาแฟคั่ว 1 กก. โดยเมล็ดกาแฟคั่วมี
                          ต้นทุนผันแปรประมาณ 400  บาทต่อ กก. และมาจากเมล็ดกาแฟเชอร์รี่ประมาณ 8  กก. นั่น

                          หมายความว่าหากเกษตรกรสามารถพัฒนาศักยภาพจนเข้าการแปรรูปได้เองก็สามารถสร้าง

                          มูลค่าเพิ่มอีกเกือบ 50  บาทต่อเมล็ดกาแฟเชอร์รี่ 1  กก. ได้ อย่างไรก็ดี กลไกจําเป็นที่ทําให้การ
                          แปรรูปสินค้าในชุมชนเกิดขึ้นได้คือองค์ความรู้ ทักษะ การลงทุน และการรวมกลุ่มของเกษตรกร

                          เพราะการลงทุนกับขั้นตอนแปรรูปจําเป็นที่ต้องเริ่มจากปริมาณวัตถุดิบที่มากพอ มีคุณภาพ


                                                           8-7
   209   210   211   212   213   214   215   216   217   218   219