Page 215 -
P. 215
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สม่ําเสมอ มีการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ร่วมกัน ในกรณีที่เกษตรกรไม่สามารถร่วมกันทํา
ขั้นตอนการแปรรูปเองได้ มูลค่าเพิ่มเหล่านี้ก็จะไปอยู่ที่เจ้าของธุรกิจแปรรูปหรือพ่อค้าคนกลาง
แทน
5) การจัดหาแหล่งน้ําหรือเชื่อมต่อแหล่งน้ําให้เกษตรกร เป็นวิธีการสําคัญที่จะลดข้อจํากัดทาง
กายภาพของการเกษตรบนพื้นที่สูงทําให้เกษตรกรมีโอกาสในการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ขนาดเล็ก
ได้เกือบทั้งปี และน้ําถือเป็นปัจจัยสําคัญของการพัฒนาคุณภาพสินค้า หรือการมุ่งตลาดคุณภาพ
น้ําเป็นตัวกําหนดลักษณะการให้ปุ๋ยและการดูแลด้านอื่นๆ ที่ส่งผลต่อคุณภาพผลผลิต ตัวอย่างคือ
เกษตรกรในกลุ่มวิสาหกิจส่งออกบ้านป่ากลางจะเป็นต้องลงทุนกับระบบน้ําเพื่อให้สามารถผลิตได้
ตามมาตรฐาน GAP นอกจากนี้ ในพื้นที่โครงการขยายผลฯ บ้านโป่งคํา แม่จริมและบ้านถ้ําเวียง
แก การมีน้ําใช้ได้ตลอดทั้งปีถือเป็นปัจจัยสําคัญต่อความสําเร็จของเกษตรกรปลูกผักโรงเรือน
และโครงการเน้นการสนับสนุนการจัดการระบบน้ําของเกษตรกร เมื่อมีน้ําและปลูกผักโรงเรือนได้
ทําให้เกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์และได้ผลตอบแทนเพียงพอจากพื้นที่ที่จํากัด
8.1.1.2 การลดหรือกระจายความเสี่ยงและการสร้างภูมิคุ้มกันต่อความเสี่ยงด้านต่างๆ ให้
เกษตรกร
นอกจากการสร้างผลตอบแทนต่อไร่ให้สูงพอแล้ว การสร้างช่องทางกระจายหรือลดความเสี่ยงให้
เกษตรกรถือเป็นหลักการสําคัญหลักการหนึ่งของการสร้างความยั่งยืนด้านความเป็นอยู่ เนื่องจากอาชีพ
เกษตรกรรมเป็นอาชีพที่เผชิญความเสี่ยงสูงทั้งจากภัยธรรมชาติ ความเสี่ยงจากตลาดรับซื้อ และความเสี่ยงจาก
ราคาผลผลิตที่ผันผวน ความเสี่ยงที่เกษตรกรเผชิญนี้มีผลทําให้การสะสมทุนของเกษตรกรเป็นไปอย่าง
ยากลําบาก จึงจําเป็นต้องมีกลไกที่ทําหน้าที่เป็นกันชน (buffer) เพื่อบรรเทาความเสี่ยงหรือสร้างภูมิคุ้มกันให้
เกษตรกรเพื่อลดผลกระทบจากความเสี่ยงในด้านต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น
บทเรียนสําคัญที่ได้จากการศึกษาการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในลักษณะพืชเชิงเดี่ยวคือ เมื่อเกิดปัญหา
ราคารับซื้อข้าวโพดตกต่ําและเกษตรกรไม่มีรายได้เสริมจากทางอื่น เกษตรกรมักตัดสินใจขยายพื้นที่ปลูกต่อใน
รอบถัดไปโดยหวังว่าจะได้รายได้เพิ่มขึ้นและสามารถชําระหนี้รอบที่ผ่านมา ทั้งนี้ เกษตรกรในหลายพื้นที่ที่เริ่ม
เปลี่ยนแปลงโดยลดหรือเลิกปลูกข้าวโพดจะพยายามสร้างความหลากหลายของแหล่งรายได้เพื่อกระจายความ
เสี่ยงทั้งจากราคาตลาด และภัยธรรมชาติ โดยเมื่อเกิดปัญหากับพืชชนิดหนึ่งชนิดใด เกษตรกรจะมีความ
ยืดหยุ่นมากพอที่จะรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นโดยไม่ต้องพึ่งการขยายพื้นที่เพาะปลูกและบุกรุกที่ป่า การ
กระจายหรือลดความเสี่ยงสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แนวทางหลัก ได้แก่
1) การปลูกพืชหลายชนิดรวมถึงการทําปศุสัตว์ เช่น การทําเกษตรผสมผสานซึ่งเป็นรูปแบบ
เกษตรกรรมที่ได้รับการยอมรับในเชิงวิชาการว่าเป็นรูปแบบการเกษตรที่เหมาะกับการกระจาย
ความเสี่ยง ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากพื้นที่บ้านถ้ําเวียงแก แม่จริม และ โป่งคํา เกษตรกรใน
พื้นที่เลือกทําเกษตรผสมผสานและมีการกระจายรายได้จากการเกษตรสูงเมื่อเทียบที่กับที่อื่นๆ
(ตารางที่ 5.3) นอกจากนี้ การปลูกพืชผสมผสานจะเป็นการบังคับให้เกษตรกรสร้างตลาดรองรับที่
หลากหลายไปในตัว ความผันผวนทางราคาหรือรสนิยมความต้องการของตลาดหนึ่งตลาดใดจะไม่
8-8