Page 218 -
P. 218
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เวียงแก โดยบุคลากรของโครงการเป็นผู้นําการสร้างกลุ่ม เป็นผู้วางแผนการผลิตของให้สมาชิกใน
กลุ่มและติดต่อตลาด เกษตรกรเป็นผู้ผลิตและช่วยในการรวบรวมสินค้า ในช่วงแรกเกษตรกรจะ
เห็นความสําคัญของการรวมกลุ่มเพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพื่อให้ได้ปริมาณมากพอที่จะเจาะ
ตลาดได้ แต่เมื่อกลุ่มมีความเข้มแข็งมากขึ้นก็จะสามารถพัฒนาบทบาทของกลุ่มให้มีหลายมิติมาก
ขึ้นได้
8.1.2 ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental sustainability)
ในการพัฒนาอย่างยั่งยืน นอกจากการคํานึงถึงความยั่งยืนด้านความเป็นอยู่ของเกษตรกรซึ่งรวมทั้ง
ประเด็นทางเศรษฐกิจและสังคมแล้ว ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมก็เป็นประเด็นที่ต้องให้ความสําคัญเป็นอย่าง
ยิ่ง ทั้งนี้ ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมนี้มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความเป็นอยู่ของคนในระยะยาวด้วย
เช่นกัน จากการศึกษาในพื้นที่พบว่า รูปแบบธุรกิจบางอย่างสามารถช่วยเหลือเกษตรกรในด้านการสร้าง
ผลตอบแทนต่อไร่สูงพอ ลดความเสี่ยงและส่งเสริมบทบาทกลุ่ม ซึ่งจะช่วยสร้างความยั่งยืนด้านความเป็นอยู่ได้
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่ได้ ในการ
บรรลุถึงผลลัพธ์ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม รูปแบบธุรกิจ ตลาดหรือชุมชนจําเป็นต้องกําหนดเงื่อนไขที่
เกี่ยวข้องโดยตรงกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยสามารถแบ่งที่มาของเงื่อนไขได้เป็น 3 แหล่งหลัก ได้แก่
เงื่อนไขจากระบบเกษตรกรรม เงื่อนไขจากรูปแบบธุรกิจ และเงื่อนไขจากชุมชน โดยมีรายละเอียดดังนี้
8.1.2.1 เงื่อนไขจากรูปแบบเกษตรกรรม
ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมในบางด้านเป็นลักษณะที่เกิดจากการเลือกรูปแบบเกษตรกรรมของ
เกษตรกร โดยเกษตรกรรมในรูปแบบต่างๆ ก็มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับตัวแปรความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมที่
แตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น รูปแบบเกษตรกรรมแบบวนเกษตร เช่น การปลูกกาแฟแบบใต้ร่มเงาไม้ใหญ่
(Shade grown) ซึ่งต้องพึ่งพาร่มเงาไม้ใหญ่จึงจะได้ผลผลิตคุณภาพดี และเป็นกลไกสําคัญที่ทําให้เกิดการ
อนุรักษ์ป่าขึ้นในหลายพื้นที่ที่ปลูกกาแฟในลักษณะนี้เป็นหลัก ในกรณีของบ้านสันเจริญนั้น เกษตรกรปลูก
กาแฟเป็นอาชีพหลักและเห็นคุณค่าของการรักษาป่าให้เกื้อกูลกับการปลูกกาแฟ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่อยู่สูงจาก
ระดับน้ําทะเลน้อยกว่า 800 เมตร กาแฟจําเป็นต้องพึ่งร่มเงาและความชุ่มชื้นจากไม้ใหญ่ เกษตรกรตระหนักว่า
คุณภาพผลผลิตหรือรายได้จะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับสภาพความสมบูรณ์ของป่า กิจกรรมด้านการดูแลป่าจึงเป็นงาน
สําคัญด้านหนึ่งของกลุ่มวิสาหกิจ สําหรับหมู่บ้านมณีพฤกษ์ที่กําลังหันหาการปลูกกาแฟก็ด้วยความมุ่งหวังว่า
ท้ายที่สุดกาแฟจะสามารถเข้าไปทดแทนการปลูกขิงซึ่งส่งผลกระทบในทางลบต่อสิ่งแวดล้อม
นอกจากระบบวนเกษตรแล้ว การปลูกพืชผสมผสานก็มีความสัมพันธ์กับตัวแปรด้านสิ่งแวดล้อมบาง
ด้านโดยตรง เช่น การใช้ทรัพยากรเหลือใช้จากการปลูกพืชชนิดต่างๆ หรือการบํารุงรักษาคุณภาพดิน ซึ่งเป็น
ลักษณะเด่นของการปลูกพืชผสมผสานและทําให้เกษตรกรต้องใช้สารเคมีในการบํารุงดินน้อยลง
อย่างไรก็ดี การสนับสนุนเกษตรกรในการเลือกระบบวนเกษตร หรือการปลูกกาแฟในลักษณะ
shade-grown จําเป็นต้องสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวพื้นที่ที่เหมาะสมกับการปลูกและอาจต้องมีการ
8-11