Page 223 -
P. 223
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
8.1.3 สรุปหลักดําเนินการ
ผลลัพธ์ที่ต้องการจากรูปแบบธุรกิจในพื้นที่สูงสามารถแบ่งออกได้เป็นความยั่งยืนด้านความเป็นอยู่
และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม โดยการดําเนินงานต่างๆ ควรต้องเป็นไปตามหลักการ “สร้างผลตอบแทนต่อ
ไร่สูงพอ ลดความเสี่ยง ส่งเสริมความเข้มแข็งชุมชน และกําหนดเงื่อนไขตรงเพื่อรับผิดชอบสิ่งแวดล้อม” ทั้งนี้
วิธีการต่างๆ ที่กล่าวในรายละเอียดข้างต้นเป็นเหมือนเครื่องมือเพื่อให้ธุรกิจการเกษตรบนพื้นที่สูงสามารถ
ดําเนินงานได้ตามหลักการดังกล่าว โดยแต่ละวิธีก็มีบทบาทในการสร้างความยั่งยืนที่แตกต่างกันไป บางวิธีช่วย
เพิ่มผลตอบแทนต่อไร่ให้สูงมากพอ แต่ไม่สามารถช่วยเรื่องการกระจายความเสี่ยงได้ บางวิธีการอาจช่วยสร้าง
ผลลัพธ์ความยั่งยืนด้านความเป็นอยู่ได้ แต่อาจด้อยเรื่องการสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม บางวิธีการอาจ
พัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน แต่ไม่สามารถสร้างผลตอบแทนที่เพียงพอหรือสม่ําเสมอได้ หรือไม่
สามารถช่วยเรื่องการกระจายความเสี่ยงซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการสร้างความยั่งยืนด้านความเป็นอยู่
เมื่อพิจารณาเชื่อมโยงกับปัญหาการเกษตรบนที่สูงที่แสดงในรูปที่ 4.4 จะเห็นว่าวิธีการหรือเครื่องมือ
ต่างๆที่ธุรกิจ องค์กร หรือเกษตรกรเลือกใช้มีความเหมาะสมในการแก้ไขปัญหาในจุดที่ต่างๆ กัน เมื่อพิจารณา
ตามลําดับขั้นของการเกิดปัญหา บางวิธีมุ่งเข้าไปแก้ไขข้อจํากัดตั้งต้นของการเกษตรในที่สูงซึ่งประกอบด้วย
ข้อจํากัดทางกายภาพ ข้อจํากัดเกษตรกร และข้อจํากัดเชิงสถาบัน เช่น การจัดหาแหล่งน้ํา การเลือกพืชหรือ
เทคโนโลยีต้นทุนต่ําเข้าไปแก้ไขเรื่องการขาดปัจจัยทุนของเกษตรกรบนที่สูง การจับพิกัดป่าและที่ทํากินเพื่อ
ช่วยลดข้อขัดแย้งของการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ที่ประเด็นสิทธิถือครองไม่ชัดเจนหรือการใช้บัญญัติท้องถิ่นเพื่อ
ช่วยลดปัญหาที่เกิดจากการบังคับใช้กฎหมายป่าไม้ บางวิธีเข้าไปแก้ไขเรื่องลักษณะพืชที่เกษตรกรเลือกกับ
ลักษณะตลาด/พ่อค้าที่เกษตรกรเผชิญอยู่ เช่น การเลือกพืชที่มีลักษณะเด่น หรือการมุ่งตลาดคุณภาพสูง หรือ
ไปแก้ไขที่พฤติกรรมของเกษตรกรกับพ่อค้าที่ทําให้เกษตรกรมีอํานาจต่อรองน้อย เช่น การใช้ระบบกลุ่ม
ประเด็นสําคัญที่ได้จากการเชื่อมโยงวิธีการต่างๆ กับปัญหาของการเกษตรที่สูงคือ แม้บางวิธีการมีผล
ในการลดข้อจํากัดตั้งต้นบางประการ เช่น การขาดความรู้ เงินทุน แต่ก็ไม่สามารถลดข้อจํากัดด้านอื่น ซึ่งทําให้
โอกาสที่เกษตรกรจะติดอยู่ในกับดักตลาดดั้งเดิมและไม่คํานึงถึงสิ่งแวดล้อมยังมีอยู่ จึงจําเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้
วิธีการอื่นที่อาจช่วยแก้ไขพฤติกรรมเกษตรกรหรือพ่อค้า หรือช่วยแก้ปัญหาปลายทางร่วมด้วย เช่น เกษตร
พันธะสัญญาอาจช่วยแก้ข้อจํากัดด้านเงินทุนตั้งต้นและความรู้ แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงใน
ระยะยาวและการไม่คํานึงถึงสิ่งแวดล้อมได้ จึงจําเป็นต้องกําหนดวิธีการหรือเงื่อนไขอื่นที่ส่งผลโดยตรงกับ
สิ่งแวดล้อมร่วมด้วย
โดยสรุปแล้ว เพื่อให้สามารถเกิดความยั่งยืนได้ตามหลักการดังกล่าวจึงจําเป็นต้องใช้หลายวิธีประกอบ
กัน รูปแบบที่ได้รับการส่งเสริมในแต่ละพื้นที่ควรที่คํานึงถึงความเหมาะสมและความสามารถในการบูรณาการ
วิธีการต่างๆ เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืนในพื้นที่สูงได้ในทุกด้าน การออกแบบรูปแบบธุรกิจที่มีวิธีการ
เหล่านี้ผสมกันอยู่อย่างพอเหมาะจะช่วยให้สร้างความยั่งยืนได้ในทั้งสองด้าน
8-16