Page 226 -
P. 226
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
8.2 บทบาทของภาครัฐ องค์กรภายนอก และธุรกิจการเกษตรในพื้นที่
จากรายละเอียดวิธีการต่างๆ ในส่วน 8.1 ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการดําเนินหลักการ “สร้างผลตอบแทน
ต่อไร่สูงพอ ลดความเสี่ยง ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน และกําหนดเงื่อนไขตรงต่อสิ่งแวดล้อม” และใช้เป็น
เครื่องมือในการลดข้อจํากัดของการเกษตรในที่สูง จะเห็นว่าช่องทางของการเข้าไปให้ความช่วยเหลือมีหลาย
ทาง ขึ้นอยู่กับบริบทเฉพาะของพื้นที่และความพร้อมของภาครัฐ องค์กรพัฒนาและภาคเอกชนที่ต้องการเข้าไป
ช่วยเหลือ ในพื้นที่ที่เกษตรกรสามารถแก้ไขข้อจํากัดบางส่วนไปได้บ้างแล้วหรือสามารถรวมกลุ่มได้ในระดับ
หนึ่ง บทบาทของภาครัฐ องค์กรภายนอกหรือธุรกิจในพื้นที่ก็ควรจะแตกต่างจากพื้นที่ที่เกษตรกรยังไม่สามารถ
รวมกลุ่มได้หรือพื้นที่ที่มีข้อจํากัดที่ต่างออกไป
บทบาทของภาครัฐ องค์กรพัฒนา และภาคเอกชนในพื้นที่สามารถแบ่งตามประเภทของลักษณะงาน
เป็น 2 ประเภท คือ 1) การแก้ไขปัญหาพื้นฐาน เช่น การลดข้อจํากัด การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเกษตรกร
และพ่อค้ารับซื้อ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นการนําส่งบริการการเกษตร (service delivery) โดยผู้เกี่ยวข้องสามารถ
ทําได้ทั้งการแก้ไขปัญหาเฉพาะด้านหรือให้บริการการเกษตรเฉพาะอย่างเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกษตรกรเผชิญ เช่น
การขนส่ง หรือการแก้ปัญหาพื้นฐานแบบครบวงจร ตั้งแต่การให้ความรู้ด้านการเพาะปลูกไปจนถึงขั้นตอนการ
จัดจําหน่ายที่ตลาดปลายทาง และ 2) การช่วยสนับสนุนพัฒนารูปแบบธุรกิจในชุมชน ทั้งนี้ การมีธุรกิจ
การเกษตรที่เหมาะสมจะมีส่วนสําคัญในการพัฒนาโครงสร้างการตลาดเพื่อแก้ปัญหาการขาดอํานาจต่อรอง
ของเกษตรกรได้
8.2.1 การแก้ไขปัญหาพื้นฐาน หรือการนําส่งบริการการเกษตร (service delivery)
บทบาทหนึ่งของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องคือการเข้ามาให้บริการด้านต่างๆ ที่จะช่วยแก้ปัญหา
พื้นฐานที่นําไปสู่ปัญหาอํานาจต่อรองของเกษตรกร ลดข้อจํากัดตั้งต้นของการเกษตรที่สูงและเชื่อมโยงผลผลิต
ของเกษตรกรสู่ตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การขนส่งสินค้า การให้บริการความรู้และปัจจัยการผลิต การ
เชื่อมต่อกับตลาด ธุรกิจการตรวจสอบและพัฒนาคุณภาพ (ตามรูปที่ 4.4) แนวทางการลดข้อจํากัดตั้งต้น
เหล่านี้ทําให้เกษตรกรสามารถเห็นทางเลือกที่เปิดกว้างมากขึ้นสําหรับตน และเห็นว่ามีแนวทางที่จะหลุดออก
จากกับดักรูปแบบการเกษตรดั้งเดิมหลายทาง
ผู้ดําเนินการแก้ไขข้อจํากัดหรือให้บริการทางเกษตรกรรมอาจเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
การเกษตร กิจการเพื่อสังคม NGO องค์กรพัฒนา หรือหน่วยงานภาครัฐ ทั้งนี้ อาจแบ่งลักษณะการเข้าไปแก้ไข
ปัญหาพื้นฐานในพื้นที่ได้เป็น 2 ลักษณะ
8.2.1.1 การแก้ปัญหาหรือการนําส่งบริการเฉพาะด้าน
1) ภาครัฐ
บทบาทของภาครัฐในปัจจุบันเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการดําเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาพื้นฐานและลด
ข้อจํากัดเฉพาะด้าน หน่วยงานรัฐต่างๆ ที่เกี่ยวข้องล้วนมีพันธกิจที่แตกต่างกันไปในการแก้ปัญหาให้กับ
เกษตรกร เช่น กรมชลประทานแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ําด้วยการสร้างแหล่งกักเก็บน้ําและระบบชลประทาน
ให้กับเกษตรกร หน่วยงานส่งเสริมการเกษตรอบรมฝึกฝนอาชีพเพิ่มเติมหรือจัดการศึกษาดูงานนอกพื้นที่
แนะนําพันธุ์พืชใหม่และให้พันธุ์พืช และเชื่อมงานวิจัยทางการเกษตรไปสู่การปฏิบัติเพื่อแก้ไขข้อจํากัดความรู้
8-16