Page 229 -
P. 229
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
140
มักใช้ผู้ตรวจสอบอิสระจากภายนอก ทําให้ผู้ที่ประสบความสําเร็จในการใช้ระบบ
certification โดยมากเป็นผู้ผลิตหรือบริษัทการเกษตรขนาดใหญ่หรือนักค้ากาแฟข้ามชาติที่มี
เงินทุนสําหรับการดูแลมาตรฐานและการตรวจสอบมากพอ แต่ในบริบทของเกษตรกรรายย่อยนั้น
การทําให้ได้ตามมาตรฐานและแสดงหลักฐานว่าได้ปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติที่กําหนดไว้มีภาระ
ทางต้นทุนที่สูง และเป็นอุปสรรคที่ทําให้เกษตรกรไม่สามารถได้ประโยชน์เต็มที่จากมูลค่าเพิ่มที่
เกิดขึ้นจากห่วงโซ่การผลิตนี้ รูปแบบที่ปรากฏทั่วไปในประเทศที่ผลิตกาแฟเป็นจํานวนมากคือ
เกษตรกรรายย่อยอยู่ในเกษตรพันธะสัญญากับบริษัทส่งออกขนาดใหญ่ โดยบริษัทจะระบุ
แนวทางปฏิบัติว่าเกษตรกรต้องทําหรือไม่ควรทําอะไร แต่ในระบบดังกล่าว การที่เกษตรกรปฏิบัติ
ตามเพื่อให้ได้มาตรฐานการรับรองไม่ได้หมายความว่าเกษตรกรจะได้ส่วนแบ่งจากมูลค่าเพิ่มที่
สูงขึ้นเสมอไป ราคาระดับพรีเมียมของสินค้าที่ปลายทางอาจจะไม่ได้ถูกส่งผ่านมาสร้างประโยชน์
หรือพัฒนาความเป็นอยู่ของเกษตรกรในระยะยาว สิ่งที่ต้องให้ความสําคัญมากกว่าคือ การหา
วิธีการที่ทําให้เกษตรกรรายย่อยสามารถเข้าถึงการได้มาตรฐานรับรองโดยไม่ต้องแบกรับภาระ
ต้นทุนมากจนเกินไป และให้บริการการเกษตรทั้งด้านเทคโนโลยีและความรู้ที่จําเป็นกับการใช้
ระบบมาตรฐานรับรอง
8.2.1.2 แก้ไขปัญหาพื้นฐานแบบองค์รวมหรือการดําเนินธุรกิจการเกษตรแบบครบวงจร
การแก้ไขปัญหาแบบองค์รวมหมายถึงการเข้าไปแก้ไขปัญหาพื้นฐานด้วยการแก้ไขข้อจํากัดตั้งต้นใน
พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งให้เกษตรกรทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด เพื่อแก้ปัญหาขาดอํานาจต่อรองตั้งแต่ต้นทาง (รูปที่
4.4) ในขณะที่การแก้ปัญหาเฉพาะด้านจะยึดปัญหาหรือประเด็นปัญหาเป็นสําคัญ การดําเนินงานแบบองค์รวม
นี้จะยึดพื้นที่เป็นสําคัญ ผู้ที่ดําเนินการในลักษณะนี้มักเป็นองค์กรพัฒนาที่มีขอบเขตการปฏิบัติงานเฉพาะพื้นที่
ไป และภาคเอกชนหรือกิจการเพื่อสังคมที่เข้าไปสร้างธุรกิจการเกษตรแบบครบวงจรในพื้นที่
1) องค์กรพัฒนา
การปฏิบัติงานขององค์กรพัฒนาที่พบเห็นโดยส่วนใหญ่จะเป็นการทํางานเชิงพื้นที่ โดยมีการกําหนด
พื้นที่เป้าหมายชัดเจน องค์กรจะดําเนินการแก้ไขปัญหาการเกษตรที่สูงในหลายขั้นตอนตั้งแต่ข้อจํากัดตั้งต้น
จนถึงการแก้ปัญหาอํานาจการต่อรอง ตัวอย่างของการดําเนินการแก้ไขแบบองค์รวมที่เห็นได้ชัดคือการ
ดําเนินงานของโครงการขยายผลฯ ในพื้นที่บ้านแม่จริม บ้านโป่งคํา และบ้านถ้ําเวียงแก โดยโครงการฯ แก้ไข
ข้อจํากัดเชิงกายภาพด้วยการพัฒนาระบบท่อน้ํา แก้ไขข้อจํากัดด้านความรู้และเงินทุนเกษตรกรด้วยการให้
ความรู้เกี่ยวกับทางเลือก ข้อมูลพืชที่เหมาะปลูกในพื้นที่และนําผลงานวิจัยด้านชนิดพืชและการเพาะปลูกพืช
มาให้เกษตรกร ลดต้นทุนการผลิตจากการใช้วัตถุดิบในฟาร์ม สนับสนุนปัจจัยการผลิต แก้ไขข้อจํากัดด้าน
ความห่างไกลและขาดข้อมูลตลาด ซึ่งนําไปสู่ปัญหาพ่อค้าคนกลางหลายช่วงด้วยการทําหน้าที่เชื่อมโยงผลผลิต
ของเกษตรกรสู่ตลาดเอง โดยที่โครงการฯ ไม่ต้องเป็นผู้รับซื้อแต่เป็นผู้เชื่อมโยงตลาดให้ แก้ไขปัญหาพฤติกรรม
140 เช่น มาตรฐานรับรองเอกชน C.A.F.E. ของ Starbucks ให้ SCS global service เป็นผู้ตรวจสอบ (third party
certification)
8-19