Page 233 -
P. 233
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
หากในพื้นที่มีบุคลากรที่ชุมชนยอมรับและสามารถทําหน้าที่ผู้นํากลุ่มอย่างเต็มที่ มีทักษะเพียงพอใน
การเชื่อมโยงกับตลาดและดูแลวางแผนการผลิต ภาครัฐหรือองค์กรภายนอกอาจจะมีบทบาทในการสนับสนุน
ความรู้ด้านการบริหารจัดการกลุ่ม ช่วยในการเชื่อมโยงตลาด การประสานงานผ่านผู้นํากลุ่มเกษตรกร แต่ใน
พื้นที่ที่ยังขาดบุคลากรที่จะมาเป็นผู้นําอย่างชัดเจน องค์กรภายนอกหรือภาครัฐอาจต้องสนับสนุนบุคลากรเข้า
ไปปฏิบัติหน้าที่เต็มเวลาเพื่อทําหน้าที่ประหนึ่งผู้นํากลุ่มในการช่วยวางแผนการผลิตและวางกลไกกลุ่ม
ในขณะที่เมื่อกลุ่มรวมตัวได้แล้ว บทบาทที่ภาครัฐหรือองค์กรภายนอกจะเปลี่ยนไปเน้นด้านการช่วย
ต่อรองหรือเน้นการขยายตลาดเพิ่มเพื่อลดความเสี่ยง
3) รูปแบบการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาคุณภาพ
สําหรับพื้นที่ที่พร้อมและต้องการพัฒนาคุณภาพ บทบาทการช่วยเหลือที่สําคัญจากทางภาครัฐ
ภาคเอกชน หรือองค์กรพัฒนาคือ การเชื่อมโยงตลาดที่ต้องการสินค้าคุณภาพซึ่งเป็นปัจจัยสําคัญที่สุดในการ
เริ่มให้เกษตรกรพัฒนาคุณภาพของผลผลิต เกษตรกรจําเป็นต้องเห็นว่าตนเองได้รับราคาผลผลิตที่สูงขึ้นจาก
การพัฒนาคุณภาพ มีความเสี่ยงน้อยลงและมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ในหลายพื้นที่พบว่า เกษตรกรต้องขาย
ผลผลิตคุณภาพสูงในราคาผลผลิตทั่วไปเนื่องจากไม่สามารถเชื่อมโยงไปหาตลาดที่ต้องการผลผลิตคุณภาพได้
ทําให้เกษตรกรท้อถอยและมีความพยายามในการรักษาคุณภาพผลผลิตน้อยลง เมื่อเชื่อมโยงผลผลิตเข้ากับ
ตลาดที่ต้องการคุณภาพได้แล้ว กลุ่มและเกษตรกรจําเป็นต้องได้รับการสนับสนุนทักษะและองค์ความรู้ที่จําเป็น
การสนับสนุนปัจจัยการผลิตเนื่องจากจะมีต้นทุนปัจจัยการผลิตเพิ่มขึ้น การพัฒนากลไกตรวจสอบคุณภาพ
เบื้องต้นในพื้นที่ และพัฒนากลไกการจัดการความเสี่ยงเนื่องจากผลผลิตมีต้นทุนสูงขึ้น และเมื่อกลุ่มสามารถ
พัฒนาคุณภาพได้ในระดับหนึ่งแล้ว กลุ่มอาจยังคงต้องการการช่วยเหลือด้านการจัดการผลผลิตที่ไม่ผ่านเกณฑ์
คุณภาพ รวมไปถึงการพัฒนาเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจนเนื่องจากการพัฒนาคุณภาพสินค้าในบางกรณี
อาจไม่ได้เน้นไปทางด้านการลดการใช้สารเคมีหรือแนวทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
การพัฒนากลุ่มคุณภาพ ภาครัฐจะมีบทบาทในการสนับสนุนองค์ความรู้ ทักษะ และการแก้ไขปัญหา
พื้นที่เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการผลิตผลผลิตที่มีคุณภาพ เช่น น้ํา ส่วนองค์กรพัฒนามีบทบาทสําคัญใน
ด้านการบริหารจัดการให้กลุ่มสามารถดําเนินงานได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการเข้าถึงปัจจัยการผลิต การ
วางแผนการผลิต การจัดการความเสี่ยงให้เกษตรกร การขนส่ง ในขณะที่ภาคเอกชนมีบทบาทในการเชื่อมโยง
สินค้าไปยังผู้บริโภค การกําหนดเงื่อนไขการผลิตจากความต้องการตลาด รวมทั้งอาจจะมีบทบาทในการ
ตรวจสอบและพัฒนาให้ผลผลิตของเกษตรกรผ่านมาตรฐานที่จําเป็นในการเพิ่มมูลค่าสินค้า
4) รูปแบบรวมกลุ่มเพื่อแปรรูป
สําหรับการรวมกลุ่มเพื่อแปรรูป แม้ว่าการตลาดจะยังมีความสําคัญเพื่อให้เกษตรกรมั่นใจว่าจะ
สามารถขายผลผลิตได้อย่างต่อเนื่อง แต่ประเด็นที่มีความสําคัญเพิ่มขึ้นและเป็นองค์ประกอบสําคัญที่สุดคือ
องค์ความรู้ในการแปรรูป เทคโนโลยีการแปรรูป แรงงานและปัจจัยการผลิตอื่นๆ และการเข้าถึงแหล่งเงินทุน
ภาครัฐมีบทบาทโดยตรงในการสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน หรือการสนับสนุนให้เอกชนมาลงทุนในพื้นที่
เพื่อทําการแปรรูป เพื่อแก้ปัญหาข้อจํากัดในเรื่องการลงทุนและเครื่องจักรที่ใช้เงินลงทุนสูง และการกํากับดูแล
8-23