Page 235 -
P. 235
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 9
สรุปและข้อเสนอแนะ
9.1 สรุป
จากปัญหาวิกฤตป่าต้นน้ําในประเทศไทยโดยเฉพาะที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดน่านและจังหวัดอื่นๆ ทาง
ภาคเหนือของไทยในทศวรรษที่ผ่านมาโดยมีสาเหตุหลักมาจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของการปลูกพืช
เชิงเดี่ยว เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทางออกหนึ่งที่กําลังได้รับความสนใจอย่างยิ่งทั้งจากชุมชนเองตลอดจนบุคคล
หรือองค์กรภายนอกคือการสร้างทางเลือกในการประกอบอาชีพให้กับเกษตรกรที่ปลูกพืชเชิงเดี่ยว ทั้งนี้
ทางเลือกที่เกิดขึ้นจะต้องสามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรและทําให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรดีขึ้นใน
ระยะยาว การศึกษาจํานวนมากแสดงให้เห็นว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไม่ได้เป็นพืชที่สร้างรายได้ต่อไร่ให้กับ
เกษตรกรสูงกว่าพืชอื่น มีพืชอีกจํานวนมากที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้ดีกว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
สาเหตุสําคัญที่เกษตรกรเลือกปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มาจากข้อจํากัดเชิงกายภาพของพื้นที่ และที่สําคัญคือ
ลักษณะตลาดของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มีผู้รับซื้อผลผลิตแน่นอน มีการสนับสนุนปัจจัยการผลิตจากพ่อค้าคน
กลางหากเกษตรกรต้องการ ปัจจัยทางด้านตลาดเหล่านี้ล้วนส่งผลสําคัญต่อการตัดสินใจของเกษตรกรและผล
ต่อความยั่งยืนของพื้นที่ในระยะยาว
การหาทางออกจากปัญหาการปลูกพืชเชิงเดี่ยวและความเสื่อมโทรมของทรัพยากรจึงต้องให้
ความสําคัญต่อลักษณะตลาดและรูปแบบธุรกิจที่มารองรับพืชทางเลือกว่าจะสามารถตอบโจทย์ความต้องการ
ของเกษตรกรได้มากน้อยเพียงใด ดังนั้น การพัฒนารูปแบบธุรกิจที่สร้างความยั่งยืนให้เกษตรกรในพื้นที่สูงจึงมี
ความสําคัญต่อการแก้ปัญหาให้เกษตรกรสามารถหลุดออกจากวงจรเกษตรเชิงเดี่ยวที่ส่งผลทางลบต่อชีวิต
ความเป็นอยู่และสภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ อย่างไรก็ดี ด้วยข้อจํากัดของพื้นที่สูงต่างๆ ทั้งในเชิงกายภาพ การ
เข้าถึงแหล่งน้ํา ข้อจํากัดด้านความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับทางเลือกอื่น รวมถึงข้อจํากัดเชิงสถาบันเกี่ยวความ
ชัดเจนของสิทธิถือครองและใช้ประโยชน์จากที่ดิน ทําให้การหารูปแบบธุรกิจการเกษตรที่เหมาะสมกับพื้นที่
และสร้างความยั่งยืนทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่สูงเป็นเรื่องท้าทาย การยอมรับ
แบบจําลอง “คนอยู่กับป่า” และไปพร้อมกับการเชื่อมโยงผลผลิตการเกษตรกับตลาดปลายทางทําให้ต้อง
ระมัดระวังไม่ให้เกิดการสร้างแรงจูงใจที่ผิดที่จะนําไปสู่การบุกรุกป่าเพิ่ม รวมถึงการฉกฉวยผลประโยชน์ของทั้ง
คนในและนอกพื้นที่ ซึ่งจะทําลายความยั่งยืนทั้งทางด้านความเป็นอยู่และสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
จุดประสงค์หลักของงานวิจัยฉบับนี้คือ ศึกษาและทําความเข้าใจถึงข้อดีและข้อจํากัดของรูปแบบธุรกิจ
ต่างๆ บนพื้นที่สูงของไทย เพื่อให้เข้าใจถึงกลไกที่ธุรกิจแต่ละรูปแบบสามารถมีส่วนช่วยในการแก้ไขข้อจํากัด
การเกษตรที่ชุมชนในพื้นที่สูงต้องเผชิญ และศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างลักษณะของแต่ละรูปแบบธุรกิจกับตัว
แปรด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่สะท้อนความยั่งยืนของการเกษตรในพื้นที่ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้
สามารถระบุลักษณะของรูปแบบธุรกิจที่ควรส่งเสริมเพื่อนําไปสู่ความยั่งยืนในพื้นที่สูงได้ รวมทั้งให้สามารถ
เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาและบทบาทของภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจ
การเกษตรในพื้นที่สูงให้มีความเหมาะสมและนําไปสู่ความยั่งยืนได้
9-1