Page 236 -
P. 236

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                       ในการศึกษา ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลจากการทําวิจัยเชิงสํารวจผ่านการทําแบบสอบถามรายครัวเรือน

               และการสัมภาษณ์เชิงลึกครอบคลุม 7  พื้นที่ในจังหวัดน่าน ประกอบด้วย 1)  บ้านป่ากลาง อ. ปัว ซึ่งมีทั้ง
               เกษตรกรที่แยกกันขายมะม่วงให้ตลาดทั่วไปในประเทศและที่รวมกลุ่มขายมะม่วงคุณภาพสูงให้ตลาด

               ต่างประเทศ 2)  บ้านสบเป็ด อ.ท่าวังผา ที่เกษตรกรปลูกมะม่วงและแยกกันขายให้ตลาดทั่วไปในประเทศ 3)

               บ้านสันเจริญ อ.ท่าวังผา ที่มีทั้งเกษตรกรที่ปลูกและแปรรูปกาแฟขายผ่านกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและที่ขายเมล็ด
               กาแฟให้กลุ่มย่อยต่างๆ ในหมู่บ้าน  4) บ้านมณีพฤกษ์ อ. ทุ่งช้าง ที่มีทั้งเกษตรกรที่ขายเมล็ดกาแฟให้พ่อค้ารับ

               ซื้อทั่วไปและที่ขายให้พ่อค้าที่เน้นตลาดคุณภาพและให้ความสําคัญกับประเด็นสังคมและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ 5)
               บ้านแม่จริม อ.แม่จริม ที่มีทั้งเกษตรกรที่ปลูกพืชผสมผสานภายใต้การสนับสนุนของโครงการขยายผลโครงการ

               หลวงแล้วขายสินค้าผ่านการรวมกลุ่ม และเกษตรกรที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ภายใต้ระบบเกษตรพันธะสัญญาของ

               บริษัทเอกชน  6) บ้านโป่งคํา อ.สันติสุข ที่เกษตรกรปลูกพืชผสมผสานภายใต้การสนับสนุนของโครงการขยาย
               ผลฯ และขายสินค้าผ่านการรวมกลุ่ม 7)  บ้านถ้ําเวียงแก อ.สองแคว ที่เกษตรกรปลูกพืชในโรงเรือนและ

               รวมกลุ่มขายตรงให้ตลาดปลายทางภายใต้การสนับสนุนของโครงการขยายผลฯ พื้นที่เหล่านี้เป็นตัวแทนของ
               กลุ่มชุมชนที่ต้องการเปลี่ยนวิถีชีวิตจากการพึ่งพาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หรือพืชไร่เชิงเดี่ยวอื่นๆ ที่ส่งผลเสียของต่อ

               สิ่งแวดล้อมไปสู่ทางเลือกที่ดีกว่าโดยมีรูปแบบธุรกิจที่เหมาะสมมารองรับและช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับ

               ทางเลือกที่เกิดขึ้น
                       การศึกษาวิเคราะห์และเปรียบเทียบข้อมูลและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ทําให้เห็นความ

               หลากหลายของรูปแบบธุรกิจที่มาต่อยอดรูปแบบเกษตรกรรมที่แตกต่างกันไปตามลักษณะของพื้นที่ ถึงแม้

               เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่เดียวกันจะเลือกระบบเกษตรกรรมเดียวกัน แต่อาจเลือกอยู่ในรูปแบบธุรกิจที่ต่างกันไป
               และที่สําคัญคือการเห็นภาพวิวัฒนาการของรูปแบบธุรกิจจากรูปแบบหนึ่งไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่งเพื่อแก้ปัญหา

               เฉพาะที่เกษตรกรในแต่ละพื้นที่ต้องเผชิญ ทั้งนี้ ในการศึกษาผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ
               โดยใช้เครื่องมือทางสถิติและเศรษฐมิติอย่างง่ายในการประเมินผลของตัวแปรชี้วัดความยั่งยืนและสามารถสรุป

               ประเด็นจากผลการศึกษาและตอบโจทย์สําคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืนในพื้นที่สูงได้ดังต่อไปนี้

                       9.1.1  กับดักการซื้อขายแบบดั้งเดิมและปัญหาของเกษตรกรบนพื้นที่สูง
                       ปัญหาหลักของที่เกษตรกรในพื้นที่สูงจํานวนมากต้องเผชิญคือ ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ํา

               เกษตรกรรายย่อยเป็นผู้รับภาระความเสี่ยงทั้งหมดจากความผันผวนของราคาตลาด บริษัทหยุดรับซื้อและภัย
               ธรรมชาติ  ปัญหาปลายทางเหล่านี้เป็นผลมาจาก การขาดอํานาจต่อรองของเกษตรกรที่อยู่ในระบบการซื้อขาย

               แบบดั้งเดิมที่เกษตรกรแยกกันขายผลผลิตให้พ่อค้าคนกลางไม่ว่าจะมาในรูปของการมีสัญญาซื้อขายหรือไม่มี

               สัญญาการซื้อขายหรือไม่ก็ตาม เกษตรกรที่เผชิญปัญหาเหล่านี้ซ้ําแล้วซ้ําเล่าต่างพยายามที่จะหาทางออกจาก
               ปัญหาและพัฒนาอํานาจต่อรองของตนเองแต่ก็มีจํานวนไม่มากนักที่ประสบความสําเร็จ ส่วนใหญ่ยังติดอยู่ใน

               กับดักของการซื้อขายแบบดั้งเดิมที่ไม่ให้อํานาจต่อรองกับเกษตรกร จากการศึกษาพบว่า เหตุผลตั้งต้นที่นําให้

               เกษตรกรจํานวนมากเข้าไปติดกับดักการซื้อขายแบบดั้งเดิมมาจากข้อจํากัดที่เกษตรกรในพื้นที่สูงเผชิญ โดย
               แบ่งออกได้เป็น ข้อจํากัดเชิงพื้นที่ เช่น ไม่มีระบบชลประทานที่ทั่วถึง ห่างไกลจากตลาด ข้อจํากัดของ

               เกษตรกร เช่น เกษตรกรส่วนใหญ่ขาดความรู้ด้านทางเลือกพืชที่เหมาะสม ขาดเงินทุน ขาดความรู้ในการ


                                                           9-2
   231   232   233   234   235   236   237   238   239   240   241