Page 238 -
P. 238
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สามารถเข้าถึงน้ําได้ตลอดทั้งปี เกษตรกรจะมีทางเลือกที่มากขึ้น เช่น การเลือกปลูกพืชแบบผสมผสาน พืช
โรงเรือน เป็นต้น นอกจากนี้ พืชบางชนิดจะมีความเหมาะสมในการปลูกในเฉพาะบางพื้นที่ เช่น กาแฟที่ต้อง
ปลูกในพื้นที่ที่มีความสูงเหนือระดับน้ําทะเลในระดับหนึ่งจึงจะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี ในขณะที่ขนาดพื้นที่ทํา
กินก็มีส่วนในการกําหนดพฤติกรรมของเกษตรกร โดยมากเป็นการกําหนดว่าเกษตรกรจะจัดสรรที่ดินอย่างไร
แต่ไม่ได้เป็นปัจจัยหลักในการเลือกพืชที่ปลูก เช่น เกษตรกรที่มีพื้นที่น้อยอาจจะเลือกปลูกพืชโดยเน้นคุณภาพ
มากขึ้นเพื่อให้มีรายได้เพียงพอจากพื้นที่ที่จํากัด
พืชและระบบเกษตรที่เกษตรกรเลือกใช้จะส่งผลต่อตัวแปรความยั่งยืนในด้านต่างๆ ทั้งเศรษฐกิจ
สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยในด้านเศรษฐกิจพบว่า การทําเกษตรแบบโรงเรือนและแบบผสมผสานจะทําให้
เกษตรกรมีรายได้ต่อไร่สูง มีการกระจายรายได้ที่ดีกว่าการเกษตรแบบอื่นๆ แต่ก็มีความต้องการการดูแลและ
น้ําที่มากกว่าการปลูกลักษณะอื่นเช่นกัน ในด้านสังคมพบว่า เกษตรกรที่ปลูกเมล็ดพันธุ์แบบพันธะสัญญาและ
การปลูกพืชผสมผสานมีสัดส่วนหนี้สินต่อรายได้ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะการปลูกเมล็ดพันธุ์ที่มีปริมาณหนี้สูง
เนื่องจากใช้เงินลงทุนและการดูแลรักษาในการปลูกพืชแต่ละรอบมากกว่าการเกษตรแบบอื่นๆ เกษตรกรที่ปลูก
พืชผสมผสานนี้ยังมีแนวโน้มจะเปลี่ยนแปลงพืชหลักได้มากกว่าหากเผชิญเหตุการณ์ผิดปกติใดๆ ในขณะที่
เกษตรกรที่ปลูกเมล็ดพันธุ์และไม้ยืนต้น เช่น มะม่วง จะมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงน้อย มีทางเลือกในการ
ปรับตัวได้น้อย ในด้านสิ่งแวดล้อม เกษตรกรในทุกระบบมีการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมในทางที่ดีขึ้นแต่ใน
ระดับที่แตกต่างกันเมื่อเทียบกับการปลูกพืชไร่เชิงเดี่ยวในอดีต โดยการปลูกพืชในระบบวนเกษตรและพืช
โรงเรือนแบบผสมผสานมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินที่ดีขึ้นมากที่สุด ลดการใช้สารเคมีมาก ในขณะที่
การปลูกเมล็ดพันธุ์แบบพันธะสัญญามีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในสัดส่วนที่น้อยที่สุด ทั้งในด้านการใช้ที่ดินและ
การใช้สารเคมี
9.1.3 รูปแบบธุรกิจและผลต่อความยั่งยืน
การเปรียบเทียบผลของรูปแบบธุรกิจเกษตรที่มีต่อตัวแปรความยั่งยืนแสดงให้เห็นว่ารูปแบบธุรกิจที่
แตกต่างกันไปส่งผลกระทบในลักษณะที่แตกต่างกัน โดยพบว่า
6) เกษตรแบบพันธะสัญญาสามารถลดความเสี่ยงในด้านการผันผวนทางราคาและปริมาณให้กับ
เกษตรกรได้ค่อนข้างมาก เกษตรกรมีรายได้ต่อไร่สูงขึ้น แต่พบว่ามีอัตราการพึ่งพิง (หนี้สินต่อ
ต้นทุน) และหนี้สินโดยเฉพาะหนี้สินนอกระบบในลักษณะการกู้วัตถุดิบที่สูง และในด้าน
สิ่งแวดล้อมพบว่ามีการใช้สารเคมีและยาปราบศัตรูพืชในระดับที่สูงมากและแทบไม่มีการใช้ปุ๋ย
อินทรีย์เลย และมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ที่ดีขึ้นในระดับไม่สูงมากนัก
7) การรวมกลุ่มแบบวิสาหกิจชุมชนมีส่วนช่วยในการสร้างความมั่นใจให้เกษตรกรในแง่ของการรู้
ราคาผลผลิตล่วงหน้าหรือมีการกําหนดราคารับซื้อขั้นต่ํา โดยเกษตรกรมีบทบาทและส่วนร่วมใน
การดําเนินงานของกลุ่ม
8) การรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีการพัฒนาคุณภาพผลผลิตมีผลค่อนข้างมากทั้งในแง่การสร้าง
ความมั่นใจให้เกษตรกรในการตกลงราคาล่วงหน้าและบทบาทการช่วยเหลือในด้านต่างๆ เช่น
ความรู้ การต่อรอง การเงิน การมีส่วนร่วมของเกษตรกร และส่งผลต่อตัวแปรความยั่งยืนในด้าน
9-4