Page 237 -
P. 237
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บริหารจัดการผลผลิตและการรักษาคุณภาพ และขาดข้อมูลด้านการตลาดของผลผลิต และข้อจํากัดเชิงสถาบัน
เช่น การไม่มีสิทธิการถือครองที่ดินที่ชัดเจน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวและเปราะบางทางนิเวศ
และอยู่ภายใต้กฎหมายป่าไม้ ทําให้เกิดความขัดแย้งและความไม่มั่นคงในการทํามาหากินของเกษตรกร
ข้อจํากัดทั้ง 3 ด้านนี้ ทําให้เกษตรกรมีทางเลือกน้อย มักปลูกพืชทั่วไปที่ไม่มีจุดเด่น ผลผลิตในพื้นที่คล้ายคลึง
กัน เก็บรักษาได้ไม่นาน พ่อค้าสามารถหาสินค้ามาทดแทนได้ง่ายเนื่องจากเป็นผลผลิตทั่วไป มีจํานวนพ่อค้าเข้า
มารับซื้อในพื้นที่ไม่มากนักแต่รับซื้อต่อกันหลายช่วง ราคาผลผลิตในตลาดทั่วไปมีความผันผวนค่อนข้างมาก
และเกษตรกรเป็นผู้แบกรับความเสี่ยงจากราคาที่ผันผวนนั้น ด้วยลักษณะพืชและตลาดเช่นนี้ทําให้เกษตรกรมัก
รอราคา ทําให้ต้องแย่งกันขายผลผลิตในช่วงท้ายฤดูกาล เกษตรกรรวมกลุ่มกันได้ยาก ในขณะที่พ่อค้ารับซื้อ
สามารถรอซื้อผลผลิตในช่วงที่สามารถกดราคาได้และอาจร่วมกันกําหนดราคารับซื้อกับพ่อค้ารายอื่น
พฤติกรรมการรอราคาและการแย่งกันขายผลผลิตของเกษตรกรและพฤติกรรมพ่อค้า ล้วนส่งผลให้เกษตรกรมี
อํานาจต่อรองในการขายผลผลิตน้อยลงไปอีก นอกจากนี้ด้วยข้อจํากัดในการรักษาคุณภาพผลผลิต ขาดความรู้
และเทคโนโลยีและความห่างไกลตลาด เกษตรกรส่วนใหญ่จึงยอมขายผลผลิตแบบคละคุณภาพในราคาที่ต่ํา
กว่าการขายแบบแบ่งคุณภาพ และต้องการขายทั้งหมดให้กับผู้รับซื้อเจ้าเดียว ไม่ต้องเผชิญปัญหาการบริหาร
จัดการผลผลิต พฤติกรรมเหล่านี้ทําให้เกษตรกรไม่มีโอกาสพัฒนาอํานาจการต่อรองของตน จึงต้องเผชิญ
ปัญหาราคารับซื้อต่ํา ความเสี่ยงสูง ไม่สามารถสะสมทุน มีแนวโน้มในการปลูกพืชไร่เชิงเดี่ยวมากและไม่ค่อยให้
ความสําคัญของสิ่งแวดล้อมหรือการรักษาทรัพยากรบนที่สูง
ด้วยข้อจํากัดที่มากของที่สูง นําไปสู่ทางเลือกที่น้อยสําหรับเกษตรกร และส่งผลต่อเนื่องไปกําหนด
พฤติกรรมของเกษตรกรและพ่อค้า จนนําไปสู่ปัญหาขาดอํานาจการต่อรองของเกษตรกร ซึ่งเป็นสาเหตุสําคัญ
ของราคารับซื้อต่ํา รับความเสี่ยงทั้งหมด ปัจจัยภายนอก เช่น นโยบายของรัฐ มีผลอย่างมากในการกําหนด
ระดับความรุนแรงของปัญหาการขาดอํานาจการต่อรอง นโยบายที่ช่วยเปิดทางเลือกให้เกษตรกรหรือ
ควบคุมดูแลพฤติกรรมพ่อค้าหรือตลาดอาจส่งผลช่วยให้อํานาจการต่อรองของเกษตรกรสูงขึ้น และในทาง
ตรงกันข้ามนโยบายที่ปิดทางเลือกเกษตรกรให้น้อยลง และไม่กํากับดูแลพฤติกรรมของพ่อค้ารับซื้อตลอดจน
พันธะสัญญาที่มีกับเกษตรกรจะยิ่งทําให้ปัญหาอํานาจการต่อรองรุนแรงยิ่งขึ้น
การตกอยู่ในกับดักรูปแบบการซื้อขายแบบเดิมที่เกษตรกรมีอํานาจการต่อรองต่ํามากและเป็นผู้รับ
ความเสี่ยงทั้งหมด เป็นหนึ่งในสาเหตุสําคัญที่ทําให้เกษตรกรยังคงติดอยู่ในวังวนการปลูกพืชเชิงเดี่ยวได้อย่าง
หลีกเลี่ยงได้ยาก แม้ว่าในบางพื้นที่จะสามารถหาวิธีการหรือความช่วยเหลือที่ทําให้ตนเองหลุดจากกับดักของ
การรูปแบบธุรกิจแบบดั้งเดิมได้แล้ว แต่ในบางพื้นที่แล้วเกษตรกรส่วนใหญ่ยังประสบปัญหาอยู่มากและอาจ
ต้องการแรงกระตุ้นจากภายนอกเพื่อให้ชุมชนสามารถหลุดพ้นออกจากกับดักนี้ได้ (รายละเอียดในส่วนที่ 4.2)
9.1.2 ลักษณะการเกษตรและผลต่อความยั่งยืน
ปัจจัยสําคัญที่ส่งผลต่อการเลือกระบบเกษตรของเกษตรกรโดยส่วนใหญ่เป็นปัจจัยทางกายภาพของ
พื้นที่ เช่น การเข้าถึงแหล่งน้ําสาธารณะ ความสูงจากระดับน้ําทะเล เป็นต้น โดยในเบื้องต้น เกษตรกรจะเผชิญ
ข้อจํากัดในการเลือกพืชที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ ในพื้นที่ที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งน้ําสาธารณะ เกษตรกร
จะต้องเลือกพืชที่มีความต้องการน้ําน้อย ใช้แค่น้ําฝนในการเพาะปลูก เช่น การปลูกมะม่วง ส่วนพื้นที่ที่
9-3