Page 232 -
P. 232

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               ในชุมชนผ่านการส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกร ด้วยว่ากลุ่มจัดเป็นโครงสร้างจําเป็นพื้นฐานทั้งในเรื่องการสร้าง

               ผลตอบแทนให้สูงพอ ลดความเสี่ยง และสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน และเข้าไปแก้ปัญหาพฤติกรรมเกษตรกร
               ที่อาจแย่งกันขายสินค้าในบางช่วงฤดูกาล และยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เกษตรกรมีทางเลือกของรูปแบบธุรกิจ

               มากขึ้น หน่วยงานต่างๆ จะเข้ามามีส่วนร่วมและบทบาทในการพัฒนารูปแบบธุรกิจจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง

               เข้าใจพลวัตการเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจในชุมชน ความต้องการของชุมชน ศักยภาพที่ชุมชนมีอยู่เดิม และ
               องค์ประกอบที่จําเป็นในการสร้างรูปแบบธุรกิจ เพื่อให้การพัฒนารูปแบบธุรกิจเป็นไปอย่างเหมาะสมและเกิด

               ประโยชน์กับเกษตรกรและชุมชน
                       1)  รูปแบบพันธะสัญญา

                       ในกรณีที่ชุมชนจะพัฒนาไปในทิศทางของเกษตรพันธะสัญญาโดยไม่ต้องการผ่านการรวมกลุ่ม ซึ่ง

               อาจจะเป็นเพราะเกษตรกรหรือกลุ่มยังไม่มีความเข้มแข็ง หรือการสนับสนุนของภาครัฐและหน่วยงานต่างๆ ยัง
               ไม่เพียงพอที่จะสร้างความเข้มแข็งในการสร้างกลุ่มได้ ในกรณีนี้ ภาครัฐหรือหน่วยงานต่างๆ อาจจะสนับสนุน

               การจับคู่ทําสัญญาระหว่างเกษตรกรและธุรกิจ เจ้าของธุรกิจจะต้องเข้ามาเกี่ยวข้องตั้งแต่ขั้นตอนการเพาะปลูก
               และได้รับประโยชน์ชัดเจนจากการเป็นผู้ขายสินค้าในตลาดปลายทาง อย่างไรก็ตาม หากไม่มีการกํากับดูแลที่ดี

               เกษตรกรจะยังประสบปัญหาอํานาจต่อรอง ความเสี่ยงของตลาดและผู้รับซื้อจากความไม่เท่าเทียมของสัญญา

               มีการใช้สารเคมีมาก ขาดเงื่อนไขทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ภาครัฐควรมีบทบาทในการช่วยจับคู่และการกํากับ
               ดูแลการทําสัญญาให้เกิดความเป็นธรรมกับเกษตรกร และสร้างเงื่อนไขทางสังคมและสิ่งแวดล้อมกํากับ

               พฤติกรรม ในขณะที่ชุมชนเองอาจมีบทบาทในการกําหนดเกณฑ์ลักษณะธุรกิจการเกษตรที่อนุญาตให้ลงทุนใน

               พื้นที่ได้ผ่านข้อตกลงหรือบัญญัติท้องถิ่น
                       2)  รูปแบบการรวมกลุ่มเพื่อขาย

                       ในกรณีที่เกษตรกรยังไม่สามารถรวมกลุ่มกันเองได้ ความช่วยเหลือจากภายนอกในการสร้าง
               องค์ประกอบต่างๆ ที่เหมาะสมมีความสําคัญมากในการช่วยสร้างกลุ่มเกษตรกร ความพยายามของเกษตรกร

               กันเองในการรวมกลุ่มมักประสบความล้มเหลวเนื่องจากเกษตรกรมักแยกขายผลผลิตในช่วงก่อนสินค้าเน่าเสีย

               หรือก่อนราคาตกหรือในช่วงที่พ่อค้าเพิ่มราคารับซื้อขึ้นเล็กน้อย แม้ในกรณีที่เกษตรกรสามารถรวมกลุ่มได้แล้ว
               และสามารถรวบรวมปริมาณผลผลิตให้ได้มากพอที่จะช่วยเปิดตลาดหรือเพิ่มโอกาสการขาย แต่กลุ่มอาจจะยัง

               ไม่มีบทบาทมากนักในด้านการต่อรองราคา เกษตรกรยังคงรับความเสี่ยงจากการผันผวนทางราคาและตลาด
               ดังนั้น ภาครัฐ องค์กรภายนอก หรือภาคเอกชนจึงสามารถเข้ามามีบทบาทได้ตั้งแต่ในขั้นการสร้างกลุ่มไปจนถึง

               การเพิ่มบทบาทของกลุ่มในระยะยาว

                       ตัวอย่างเช่น ในพื้นที่บ้านแม่จริม บ้านโป่งคํา และบ้านถ้ําเวียงแกที่เกษตรกรยึดแนวทางเกษตร
               ผสมผสาน แต่ละรายผลิตสินค้าจํานวนไม่มากนักและต้องพึ่งกลุ่มในการเพิ่มผลผลิตเพื่อดึงดูดให้พ่อค้ามารับซื้อ

               โครงการฯ มีบทบาทสําคัญในการผลักดันการสร้างกลุ่ม วางแผนการผลิตให้เกษตรกรในกลุ่ม ช่วยในการ

               รวบรวมสินค้า ติดต่อตลาด เชื่อมโยงข้อมูลตลาดสู่กลุ่ม และประสานงานกับผู้นํากลุ่มเกษตรกร โครงการฯ ใช้
               การอุดหนุนปัจจัยการผลิตผ่านกลุ่มเกษตรกรถือเป็นเครื่องมือจูงใจอย่างหนึ่งให้เกษตรกรรวมกลุ่ม





                                                           8-22
   227   228   229   230   231   232   233   234   235   236   237