Page 228 -
P. 228

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               จะเกิดขึ้นเมื่อการดําเนินงานดังกล่าวส่งผลดีต่อธุรกิจซึ่งทําให้อาจจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้ครบในทุกด้าน

               นอกจากนี้ การดําเนินงานของเอกชนซึ่งในทางหนึ่งเป็นการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากพื้นที่สูงต้องไม่แลกกับ
               การทําให้สิ่งแวดล้อมที่แย่ลง หรือเกษตรกรมีความเสี่ยงมากขึ้น หรือชุมชน/กลุ่มเกษตรกรอ่อนแอลง โดย

               ภาครัฐจะต้องมีกลไกและหน้าที่ในการส่งเสริมและกํากับการดําเนินงานดังกล่าว ตัวอย่างการดําเนินงานของ

               เอกชนที่ช่วยแก้ปัญหาเฉพาะด้านของเกษตรกร ได้แก่
                       -  การรักษาผลผลิตและการขนส่ง พื้นที่สูงโดยส่วนใหญ่อยู่ห่างไกลซึ่งการขนส่งผลผลิตจาก

                          เกษตรกรไปตลาดปลายทางใช้ระยะเวลาและต้นทุนสูง เกษตรกรประสบปัญหาการรักษาคุณภาพ
                          ผลผลิต ในบางครั้งเกษตรกรประสบปัญหาว่าผลผลิตที่คัดคุณภาพจากต้นทางอาจมีคุณภาพแย่ลง

                          เมื่อถึงมือผู้รับซื้อปลายทางและทําให้ราคารับซื้อราคาต่ําลง ในขณะที่พ่อค้ารับซื้อก็ขาดผลผลิตที่

                          มีคุณภาพเช่นกัน ปัญหาที่เกิดจากความไม่สมมาตรของข้อมูลทําให้เกษตรกรขาดความมั่นใจทั้ง
                          ต่อระบบการขนส่งและการตรวจสอบคุณภาพผลผลิตปลายทาง ภาคเอกชนสามารถเข้ามามี

                          บทบาทในการให้บริการเทคโนโลยีการรักษาผลผลิตและรับช่วงดูแลเพื่อลดความกดดันจากภาวะ
                          ของการเร่งขาย และทําให้เกษตรกรมั่นใจในคุณภาพการขนส่งและการคัดเกรด ประกันความ

                          เสี่ยงที่ทําให้ผลผลิตเสียหายจากการขนส่งระยะไกล จะช่วยเพิ่มอํานาจการต่อรองให้เกษตรกรไป

                          ด้วยพร้อมๆ กัน
                       -  บริการด้านข้อมูลการตลาด และการวางแผนการผลิต โดยรวมไปถึงการวางแผนช่วงเวลาการ

                          ส่งผลผลิต การวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับช่วงเวลาของตลาด และการหาตลาดที่เหมาะกับ

                          คุณภาพสินค้า การช่วยเหลือในด้านข้อมูลตลาดทําให้เกษตรกรรับรู้ข้อมูลการรับซื้อผลผลิตที่
                          คุณภาพแตกต่างกันและสามารถบริหารจัดการผลผลิตคุณภาพต่างๆ กันของตนเองได้ดีขึ้น การ

                          รับทราบข้อมูลจะช่วยในเรื่องการบริหารความเสี่ยงของเกษตรกร เนื่องจากไม่ต้องพึ่งพาตลาด
                          เพียงตลาดเดียว ข้อมูลเหล่านี้สําคัญมากกับผลผลิตที่เสียหายง่ายและมีช่วงที่เหมาะกับการขายไม่

                          นาน เช่น พืชผัก

                       -  บริการการจัดการเพื่อให้ได้มาตรฐานรับรอง ในกรณีที่สินค้าต้องผ่านการแปรรูปหลายขั้นตอน
                          และจําเป็นต้องมีมาตรฐานรับรอง เช่น กาแฟคุณภาพซึ่งต้องใช้ความรู้ในการดูแลและรักษา

                          คุณภาพการผลิตตั้งแต่ขั้นตอนการปลูก เก็บเกี่ยว ไปจนถึงขั้นตอนการแปรรูปสุดท้าย การเข้าถึง
                          การจัดการเพื่อให้ได้มาตรฐานรับรองมีความสําคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพการแข่งขัน

                          ปัจจุบันที่มีกระแสการใช้มาตรฐานการรับรองที่เข้มงวดเป็นเครื่องมือในการแข่งขันในตลาดโลก

                          ไม่ว่าจะเป็นการใช้มาตรฐานรับรองเอกชน (certification) เจาะตลาดผู้บริโภคให้ความสําคัญกับ
                          แหล่งที่มา (traceability) และความถูกต้องทางจริยธรรมของการผลิต (ethic) ทั้งนี้ ผู้ที่อยู่ในห่วง

                          โซ่การผลิต (ได้แก่ เกษตรกร ผู้รับซื้อ ผู้แปรรูป ผู้ส่งออกกาแฟ) ต้องปฏิบัติตามข้อกําหนด กฎ

                          กติกามากมายเพื่อให้สินค้าได้รับการรับรองตามมาตรฐานเหล่านี้ และที่สําคัญคือมาตรฐานเหล่านี้







                                                           8-18
   223   224   225   226   227   228   229   230   231   232   233