Page 231 -
P. 231
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ภาคเอกชนสามารถในการแก้ปัญหาแบบองค์รวมได้เช่นกัน ผ่านการดําเนินธุรกิจการเกษตรแบบครบ
วงจรที่ดําเนินตามหลักการ “สร้างผลตอบแทนต่อไร่ให้สูงพอ ลดความเสี่ยง ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน
และมีเงื่อนไขรับผิดชอบตรงกับสิ่งแวดล้อม” ซึ่งเหมาะสมกับสินค้าที่ต้องผ่านการแปรรูปหลายขั้นตอนและต้อง
ได้รับการดูแลตรวจสอบมาตรฐานในทุกขั้นตอนด้วย ตัวอย่างเช่น กิจการเพื่อสังคมของกาแฟมีวนา ที่นําส่ง
บริการทางความรู้เพื่อการผลิตกาแฟอินทรีย์ตั้งแต่ขั้นตอนการเพาะปลูกไปจนถึงการเก็บเกี่ยว สนับสนุนกล้า
พันธุ์ดีและปัจจัยการผลิตคุณภาพสูงเช่น ปุ๋ยอินทรีย์ โดยมีวนาจะรับซื้อกาแฟกะลาจากเกษตรกรมาแปรรูป
เป็นกาแฟสารและกาแฟเมล็ดคั่วต่อไป และในการรับซื้อจะตกลงราคากับเกษตรกรล่วงหน้า เกษตรกรจะได้
ราคาประกันขั้นต่ํา นอกจากนั้น พร้อมกับการนําส่งบริการ ธุรกิจกําหนดเงื่อนไขที่เกษตรกรต้องรับผิดชอบ
โดยตรงต่อสิ่งแวดล้อม และมีกําหนดเงื่อนไขที่ธุรกิจต้องรับผิดชอบกับสิ่งแวดล้อมโดยตรงด้วย
ลักษณะการทําเกษตรพันธะสัญญาในพื้นที่สูงถือเป็นลักษณะหนึ่งของการให้บริการทางเกษตรกรรม
ครบวงจร เนื่องจากผู้รับซื้อสินค้าเข้ามาให้บริการนําส่งปัจจัยการผลิต ให้สินเชื่อ ความรู้ของขั้นตอนการผลิต
การดูแลก่อนเก็บเกี่ยว ตลอดจนการขนส่งผลผลิต นอกจากนี้ บริษัทเอกชนที่เน้นผลงานวิจัยหรือ R&D ด้าน
พันธุ์พืชสามารถหาพันธุ์ที่สามารถใช้จุดเด่นของพื้นที่ซึ่งจะช่วยเพิ่มอํานาจการต่อรองและเพิ่มตลาดให้
เกษตรกรได้ แต่เนื่องจากให้บริการด้าน R&D มีต้นทุนสูงและเจ้าของธุรกิจต้องรับความเสี่ยงของการทดลอง
ปลูก การให้บริการด้าน R&D จึงมักจะเกิดขึ้นในกรณีการดําเนินกิจการครบวงจร
อย่างไรก็ดี รูปแบบเกษตรพันธะสัญญาโดยทั่วไปมักขาดเงื่อนไขเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อม บริษัทไม่ได้
กําหนดเงื่อนไขของการดูแลสิ่งแวดล้อมสําหรับเกษตรกรที่ต้องการเข้ามาอยู่ในรูปแบบธุรกิจและบริษัทไม่ได้มี
เงื่อนไขที่ระบุให้ตนเข้ามามีส่วนรับผิดชอบกับสิ่งแวดล้อมโดยตรง จากกรณีศึกษาจะเห็นได้ว่าเมื่อเปรียบเทียบ
กับเกษตรกรในพื้นที่เดียวกัน กลุ่มเกษตรกรที่รับจ้างผลิตเมล็ดพันธุ์ในลักษณะเกษตรพันธะสัญญาเป็นกลุ่มที่ใช้
สารเคมีในปริมาณมากกว่ากลุ่มอื่น ดังนั้นหากสามารถเพิ่มมิติการดูแลสิ่งแวดล้อมผ่านการกําหนดเงื่อนไขทาง
ธุรกิจหรือการเลือกพืชที่จะผลิต และมีวิธีการตรวจสอบผลในทางปฏิบัติ เช่น เกษตรกรลดการใช้สารเคมีอย่าง
ชัดเจน ก็จะทําให้รูปแบบนี้เหมาะสมกับการเกษตรในพื้นที่สูงมากขึ้น
เนื่องจากในรูปแบบการให้บริการการเกษตรแบบครบวงจร เจ้าของธุรกิจได้ประโยชน์ชัดเจนจากการ
ควบคุมกระบวนการผลิตและเป็นผู้ได้ประโยชน์โดยตรงจากการขายสินค้าในตลาดปลายทางที่ให้ความสําคัญ
กับการตรวจสอบย้อนกลับ (traceability) สิ่งที่จําเป็นต้องมีแฝงอยู่ในเงื่อนไขการให้บริการคือ วิธีการชัดเจนที่
นําไปสู่การสร้างผลตอบแทนต่อไร่ที่เพียงพอให้เกษตรกรหรือกลไกที่จะสร้างความมั่นใจว่าเกษตรกรจะได้รับ
ประโยชน์จากการที่สินค้าปลายทางมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น มีกลไกช่วยในการกระจายความเสี่ยงให้เกษตรกรราย
ย่อย และมีเงื่อนไขกําหนดโดยตรงว่าเกษตรกรที่รับบริการและธุรกิจที่ให้บริการนั้นรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
อย่างไร และเงื่อนไขเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้หรือไม่นอกจากจะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และความตั้งใจของผู้
ให้บริการการเกษตรในพื้นที่แล้วยังขึ้นอยู่กับทิศทางนโยบายเกี่ยวกับการลงทุนภาคเกษตรในที่สูงของประเทศ
8.2.2 งานการพัฒนารูปแบบธุรกิจในชุมชน
นอกจากลักษณะงานการแก้ปัญหาพื้นฐานทั้งแบบเฉพาะด้านหรือแบบองค์รวมแล้ว ภาครัฐ องค์กร
พัฒนาหรือภาคเอกชนสามารถมีบทบาทในการสร้างความยั่งยืนด้วยการผลักดันให้เกิดการพัฒนารูปแบบธุรกิจ
8-21