Page 227 -
P. 227
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เกษตรกร ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรช่วยเหลือด้านสินเชื่อและการลงทุนในเครื่องจักรกล
เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องการเข้าถึงแหล่งเงินทุน หน่วยงานส่งเสริมการค้าจัดโครงการแสดงสินค้าเชื่อมโยงสินค้า
จากพื้นที่ห่างไกลสู่ตลาดปลายทางหรือผู้บริโภคมากขึ้นเพื่อแก้ไขข้อจํากัดความห่างไกลตลาด และหน่วยงาน
กรมป่าไม้หรือกรมอุทยาน สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ร่วมแก้ไขข้อจํากัดจากความไม่ชัดเจนและความขัดแย้งเรื่อง
การใช้ประโยชน์พื้นที่ด้วยการจับพิกัด เป็นต้น
การดําเนินงานของหน่วยงานรัฐในการแก้ปัญหาของเกษตรกรมีส่วนร่วมจากหลายหน่วยงานที่มีหน้าที่
ความรับผิดชอบแตกต่างกันไป แต่ละหน่วยงานจึงสามารถทุ่มเททรัพยากรไปที่การช่วยเหลือด้านใดด้านหนึ่ง
โดยเฉพาะ สามารถประหยัดต้นทุนในการดําเนินงานในกิจกรรมที่เหมือนๆ กันหรือเกิดการประหยัดต่อขนาด
และสร้างความเชี่ยวชาญทําให้สามารถระบุผู้รับผิดชอบได้ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ปัญหาพื้นฐานของการเกษตร
ที่สูงมีหลายมิติ แต่ละพื้นที่มีลักษณะข้อจํากัดเฉพาะที่ต่างๆ กันไป จึงไม่สามารถกําหนดแนวทางในการ
แก้ปัญหาแบบเดียวกันที่จะนําไปใช้กับในทุกพื้นที่ได้ การผสมผสานวิธีการดําเนินงานเพื่อนําไปสู่ความยั่งยืนจะ
ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของพื้นที่ การประสานงานและบูรณาการแผนงานระหว่างหน่วยงานจึงมีความสําคัญ
มากต่อการเลือกวิธีการสร้างความยั่งยืนที่เหมาะสมกับพื้นที่ และเป็นองค์ประกอบสําคัญในการกําหนด
ความสําเร็จของการแก้ปัญหาในระดับพื้นที่
ภาคการศึกษาหรือนักวิชาการสามารถมีบทบาทอย่างยิ่งในด้านการวิจัยพัฒนาหรือการหานวัตกรรมที่
เอื้อต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เช่น การวิจัยพันธุ์พืชดั้งเดิมที่ทนโรคและไม่ต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมีหรือยาปราบศัตรูพืช
จํานวนมาก โดยที่เกษตรกรสามารถเก็บพันธุ์ต่อเองได้หรือการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยลดต้นทุนการผลิต
และสามารถคุ้มทุนได้ในพื้นที่ขนาดเล็ก รวมไปถึงงานวิจัยพัฒนาที่เกี่ยวกับด้านการรักษาคุณภาพผลผลิต
ในช่วงการขนส่ง ทั้งนี้ งานวิจัยพัฒนาที่มีลักษณะของงานวิจัยพื้นฐานจะเป็นส่วนที่นักวิจัยจาก
สถาบันการศึกษาสามารถเข้ามามีบทบาทได้มากและอาจจะมากกว่าภาคเอกชนซึ่งมักจําเป็นต้องมีแรงจูงใจ
ทางธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและสถานศึกษาในการพัฒนา
innovation hub ร่วมกัน ถือเป็นทางออกหนึ่งของการนํานวัตกรรมมาใช้แก้ไขข้อจํากัดและสร้างความยั่งยืน
กับฐานทรัพยากรและในขณะเดียวกันให้แรงจูงใจที่เพียงพอกับภาคธุรกิจด้วย เช่น กรณีการสร้างศูนย์
นวัตกรรม Global Innovation Incubator จากความร่วมมือระหว่างกลุ่มบริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปร
ดักส์ จํากัด (มหาชน) (TUF) ผู้ส่งออกทูน่าบรรจุกระป๋องอันดับหนึ่งของโลก กับคณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพัฒนานวัตกรรมที่สร้างความยั่งยืนกับห่วงโซ่การผลิต
คุณภาพสินค้าและตอบโจทย์ความยั่งยืนทั้งในแง่ธุรกิจและทรัพยากรปลาทูน่า
2) ภาคเอกชน
นอกจากการดําเนินงานในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานโดยภาครัฐแล้ว ภาคเอกชนหรือธุรกิจสามารถมี
บทบาทในการให้บริการทางเกษตรกรรมเพื่อเสริมงานของภาครัฐหรือแก้ไขปัญหาในส่วนที่ภาครัฐไม่สามารถ
ดําเนินการเองได้ การดําเนินการโดยภาคเอกชนโดยส่วนใหญ่จะต้องมีส่วนในการสร้างผลประโยชน์ให้กับธุรกิจ
ตนเองจึงเกิดแรงจูงใจให้เข้ามาแก้ปัญหา แรงจูงใจผ่านระบบตลาดนี้มีส่วนสําคัญในการกํากับให้การดําเนินงาน
ของภาคเอกชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและตรงประเด็น อย่างไรก็ตาม การที่การแก้ปัญหาของภาคเอกชน
8-17