Page 239 -
P. 239

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                          ต่างๆ โดยเกษตรกรมีรายได้สุทธิต่อไร่สูงขึ้น และในด้านสิ่งแวดล้อมพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงการ

                          ใช้พื้นที่ที่ดีขึ้น มีการใช้สารเคมีและยาปราบศัตรูพืชลดลงมาก
                       9)  สําหรับกลุ่มที่นําโดยผู้ประกอบการที่มีลักษณะการดําเนินงานเพื่อสังคมพบว่า การตกลงราคา

                          และปริมาณรับซื้อล่วงหน้าทําให้เกษตรกรมีความมั่นใจมากขึ้น ในขณะที่การช่วยเหลือเกษตรกร

                          ในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ การเงิน การมีส่วนร่วม การรับซื้อผลผลิตโดยให้ความสําคัญกับการดูแล
                          คุณภาพ มีผลทําให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น มีสัดส่วนหนี้ต่ํา และมีการใช้สารเคมีกับยาปราบ

                          ศัตรูพืชน้อยกว่าเกษตรกรที่ขายให้กับพ่อค้าทั่วไปในตลาดแบบดั้งเดิม
                       10) การดําเนินงานของกลุ่มย่อยที่เป็นคนในพื้นที่ซึ่งมีความผูกพันเชิงสังคมกับเกษตรกรส่งผลกระทบ

                          ต่อตัวแปรความยั่งยืนใกล้เคียงกับการดําเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน การส่งเสริมให้มีกลุ่ม

                          ย่อยที่เป็นคนในพื้นที่อาจจะเป็นรูปแบบหนึ่งในการพัฒนารูปแบบธุรกิจเมื่อผลผลิตในพื้นที่มี
                          จํานวนมากขึ้นเกินกว่าระดับที่เหมาะสมภายใต้การบริหารงานของวิสาหกิจ และเป็นแนวทางหนึ่ง

                          ในการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันระหว่างผู้รับซื้อในพื้นที่และนําไปสู่ผลดีต่อเกษตรกรได้
                          (รายละเอียดในบทที่ 5 และ 6.1 และ 6.2)

                       9.1.4  ข้อดีและข้อจํากัดของรูปแบบธุรกิจต่างๆ

                       ผู้วิจัยพบว่ารูปแบบธุรกิจสําหรับเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่วิจัยทั้ง 7  พื้นที่สามารถแบ่งตามลักษณะ
               กิจกรรมหลัก ได้ดังนี้ 1)  เกษตรกรอยู่ในรูปแบบธุรกิจซื้อขายแบบดั้งเดิม 2) การทําเกษตรพันธะสัญญากับ

               บริษัทเอกชนนอกพื้นที่ 3) รูปแบบการรวมกลุ่มเพื่อขาย 4)  การรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาคุณภาพ 5)  การรวมกลุ่ม

               เพื่อแปรรูป 6) การรวมกลุ่มเพื่อแปรรูปและพัฒนาคุณภาพ แต่ละรูปแบบมีจุดแข็งและข้อจํากัดต่างกันออกไป
               โดยมีประเด็นสําคัญดังนี้

                       -  ในพื้นที่ที่เกษตรกรอยู่ในระบบเกษตรพันธะสัญญา เกษตรกรได้รับประโยชน์จากรายได้ที่มั่นคง
                          ขึ้นเพราะมีแหล่งขายผลผลิตที่ชัดเจน มีแหล่งให้กู้ปัจจัยการผลิตที่ชัดเจน ได้ความรู้จากบริษัทที่

                          จ้างทํา อย่างไรก็ตาม เกษตรกรยังไม่มีอํานาจต่อรองและยังเผชิญความเสี่ยงหากกระบวนการ

                          ผลิตมีปัญหา และมีโอกาสในพัฒนาองค์ความรู้ร่วมกันในชุมชนน้อย นอกจากนี้โดยส่วนใหญ่ยัง
                          พบว่า พื้นที่เพาะปลูกจะมีสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมลง เนื่องจากบริษัทไม่ได้มีการกําหนด

                          เงื่อนไขใน การดูแลสิ่งแวดล้อมในเกณฑ์การเพาะปลูกหรือลักษณะพืชที่ให้ปลูก
                       -  ในกรณีที่เกษตรกรรวมกลุ่มเป็นเจ้าของธุรกิจร่วมกันเพื่อทําการขายผลผลิตในตลาดทั่วไป

                          เกษตรกรได้ประโยชน์ชัดเจนในการหาตลาดหรือมีพ่อค้าให้ความสนใจมากขึ้นเนื่องจากปริมาณ

                          สินค้ามากพอ ลดต้นทุนการขนส่งทั้งสําหรับด้านเกษตรกรและพ่อค้ารับซื้อ เกษตรกรสามารถตัด
                          ช่วงของพ่อค้าคนกลางออกไปได้บ้าง มีการแบ่งปันความรู้กันเพิ่มขึ้น แต่เนื่องจากสินค้าที่ผลิตยัง

                          ไม่มีจุดเด่น เกษตรกรมีอํานาจต่อรองต่ําและรับความเสี่ยงทั้งหมด ในกรณีที่สินค้าเน่าเสียได้ง่าย

                          โอกาสที่จะมีเกษตรกรแตกกลุ่มจะยิ่งสูงมากขึ้นอีก ทั้งนี้ การรวมกลุ่มเพื่อขายสินค้าในตลาดทั่วไป
                          ไม่ได้มีบทบาทมากนักในการพัฒนาสิ่งแวดล้อม พ่อค้าโดยทั่วไปไม่มีบทบาทและไม่ได้ให้

                          ความสําคัญต่อสิ่งแวดล้อมมากนัก เนื่องจากผลผลิตทั้งหมดถูกขายในตลาดทั่วไปที่เน้นการผลิต


                                                           9-5
   234   235   236   237   238   239   240   241   242   243   244