Page 244 -
P. 244

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               ต่อรอง ลดต้นทุน สร้างองค์ความรู้ ความสามารถในการแก้ปัญหาในอนาคต รูปแบบธุรกิจที่เหมาะสมต้องไม่

               ทําลายความเข้มแข็งของชุมชนหรือทําให้กลุ่มเกษตรกรอ่อนแอลง และ 4)  มีเงื่อนไขโดยตรงที่ช่วยพัฒนา
               คุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรในพื้นที่เพื่อให้

               เกิดผลดีต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม

                       ในการดําเนินธุรกิจตาม 4 หลักการข้างต้น เจ้าของธุรกิจไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรเองหรือบุคคลนอกพื้นที่
               สามารถเลือกใช้เครื่องมือและวิธีการที่แตกต่างออกไปตามบริบทความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของพื้นที่

               และอาจต้องผสมหลายวิธีการเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถบรรลุหลักการทั้งสี่ โดยสามารถสรุปและจัดหมวดหมู่
               ของวิธีการได้ดังนี้

                       -  การสร้างผลตอบแทนต่อไร่ให้สูงพอ อาจเลือกใช้วิธีการดังนี้ 1)  สร้างอํานาจต่อรอง 2)  เลือกพืช

                          เทคโนโลยีหรือวิธีการเพาะปลูกที่ทําให้ต้นทุนต่ํา 3) หาตลาดที่ให้คุณค่าเฉพาะกับพื้นที่นั้นด้วย
                          เห็นความสําคัญของการเป็นพื้นที่เปราะบางหรือพื้นที่ที่มีคุณค่าทางนิเวศสูง และ 4)  แปรรูป

                          สินค้าที่มีคุณสมบัติเอื้อต่อการแปรรูป และในการสร้างอํานาจการต่อรองนั้น แนวทางที่เห็นได้ชัด
                          จากพื้นที่ว่าช่วยในการอํานาจต่อรอง ได้แก่ การสร้างระบบกลุ่ม การสร้างการแข่งขันในพื้นที่

                          การผลิตผลผลิตที่มีคุณภาพสูง และการเลือกผลิตพืชที่ใช้จุดเด่นของพื้นที่

                       -  การลดความเสี่ยง เกษตรกรหรือเจ้าของธุรกิจอาจเลือกใช้วิธีการกระจายความเสี่ยงผ่านการเพิ่ม
                          ตลาดที่มารองรับผลผลิต หรือปลูกพืชหลากหลายชนิด และการทําเกษตรพันธะสัญญา

                       -  การสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน อาจใช้วิธีการส่งเสริมการสร้างองค์ความรู้ของเกษตรกร ส่งเสริม

                          ให้เกษตรกรรวมกลุ่มดําเนินการเอง หรือเข้าไปเป็นผู้นําในการสร้างกลุ่มเกษตรกร
                       -  การกําหนดเงื่อนไขโดยตรงที่ช่วยพัฒนาสิ่งแวดล้อม เงื่อนไขอาจถูกกําหนดจากระบบเกษตรที่

                          เกษตรกรเลือก เช่น วนเกษตร หรือ ถูกกําหนดจากชุมชนเอง เช่น การจับพิกัดป่าร่วมกัน หรือ
                          การทําบัญญัติท้องถิ่นเกี่ยวกับการจัดการและดูแลป่า หรือถูกกําหนดมาจากธุรกิจ ซึ่งมีได้หลาย

                          ลักษณะ อาจเป็นเงื่อนไขที่กําหนดจากตลาดปลายทาง เช่น มาตรฐานรับรองต่างๆ หรือเงื่อนไขที่

                          กําหนดเจ้าของธุรกิจกําหนดว่าธุรกิจนั้นจะมีส่วนในการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรมอย่างไร
                          หรือธุรกิจกําหนดเงื่อนไขกับเกษตรกรที่จะเข้าร่วมในธุรกิจนั้นว่าต้องใช้แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับ

                          สิ่งแวดล้อมอย่างไร
                       สิ่งสําคัญคือ วิธีการที่ช่วยสร้างความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจอาจไม่ได้ช่วยสร้างความยั่งยืนด้าน

               สิ่งแวดล้อมวิธีการที่ใช้สร้างผลตอบแทนต่อไร่ให้สูงมากพออาจไม่สามารถช่วยเรื่องการลดความเสี่ยงหรือสร้าง

               ความเข้มแข็งให้ชุมชนได้ บางวิธีการอาจพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนอย่าง
               ชัดเจน แต่ไม่สามารถสร้างผลตอบแทนที่เพียงพอหรือสม่ําเสมอได้ หรือไม่สามารถช่วยลดความเสี่ยงซึ่งเป็น

               องค์ประกอบหนึ่งของการสร้างความยั่งยืนด้านความเป็นอยู่ เพื่อให้ดําเนินการได้ตามหลักการ “สร้าง

               ผลตอบแทนต่อไร่สูงพอ ลดความเสี่ยง สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน และมีเงื่อนไขตรงกับสิ่งแวดล้อม” จึงมี
               ความจําเป็นต้องใช้หลายวิธีการประกอบกัน





                                                           9-10
   239   240   241   242   243   244   245   246   247   248   249