Page 247 -
P. 247

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               หรือการคํานึงถึงผลกระทบอย่างรอบด้านอาจจะนําไปสู่การสร้างแรงจูงใจที่ไม่ถูกต้องจนนําไปสู่การขยายพื้นที่

               การปลูกและสร้างความเสื่อมโทรมต่อระบบนิเวศของพื้นที่ต้นน้ํา
                       จากการสังเคราะห์ผลการศึกษาทั้งหมด ผู้วิจัยได้สรุปข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนารูปแบบ

               ธุรกิจการเกษตรเพื่อเป็นเครื่องมือในการลดการปลูกพืชไร่เชิงเดี่ยวในพื้นที่สูงและการช่วยฟื้นคืนพื้นที่ป่าต้นน้ํา

               ทั้งนี้ รูปแบบธุรกิจการเกษตรเป็นเครื่องมือหรือองค์ประกอบหนึ่งที่สําคัญสําหรับชุมชนที่ต้องการการเชื่อมโยง
               ตลาดภายนอกในการขายผลผลิตเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม อาจจะมีชุมชนบางชุมชนที่ต้องการการพัฒนาฐาน

               ความเป็นอยู่โดยยึดแนวทางการผลิตเพียงเพื่อให้พอกับการบริโภค เน้นการผลิตข้าวได้พอเพียงเป็นหลัก และ
               ขายสินค้าที่เหลือเท่าที่จําเป็น มีการเลี้ยงสัตว์ไว้เพื่อเป็นสินทรัพย์และกระจายความเสี่ยง มีความเป็นอยู่ที่

               กลมกลืนกับการวิถีธรรมชาติและให้ความสําคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไปในแนวทาง “คนอยู่กับ

               ป่า” อย่างชัดเจน และมักเป็นชุมชนที่เข้มแข็งระดับหนึ่งแล้ว ซึ่งในกรณีดังกล่าว การพัฒนาธุรกิจการเกษตรใน
               พื้นที่สูงอาจจะไม่ใช่เครื่องมือที่สําคัญในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ดังนั้นในเบื้องต้น ภาครัฐจําเป็นต้องแยก

               พื้นที่ที่ต้องการผลิตเพียงเพื่อให้พอกับการบริโภคออกจากพื้นที่ต้องการตลาดมานําการเปลี่ยนผ่านอย่างชัดเจน
               เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและส่งเสริมสิ่งที่ไม่ตรงกับเป้าหมายในการพัฒนาของชุมชน

                       สําหรับชุมชนที่ต้องพึ่งพิงและใช้ตลาดในการขายผลผลิตเพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพียงพอเป็นหลักนั้น

               การพัฒนารูปแบบธุรกิจการเกษตรเพื่อให้หลุดพ้นจากรูปแบบธุรกิจแบบดั้งเดิมซึ่งสร้างปัญหามากมายให้
               เกษตรกรนั้นเป็นสิ่งที่มีความสําคัญและจําเป็น ผู้วิจัยเสนอข้อเสนอแนะในการพัฒนารูปแบบธุรกิจการเกษตร

               ในพื้นที่สูงโดยแบ่งออกเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ และข้อเสนอตามบริบทของพืช

               โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
                       9.2.1  ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

                       ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายโดยแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มข้อเสนอ ได้แก่
                       1)  ปรับปรุงแผนที่เกี่ยวข้องกับนโยบายเกษตรของไทยให้ครอบคลุมประเด็นการเกษตรในพื้นที่สูง

                       2) ประยุกต์ใช้และแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่เพื่อส่งเสริมการลงทุนด้านเกษตรที่เหมาะสมกับพื้นที่สูงของ

                          ไทย
                       3) แก้กฎระเบียบในระดับหน่วยงานหรือการทําข้อตกลงร่วมกันระหว่างหน่วยงานเพื่อให้สามารถ

                          ดําเนินการพัฒนาการเกษตรในพื้นที่สูงของไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                       โดยในแต่ละกลุ่มข้อเสนอ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

                       1)  ปรับปรุงแผนนโยบายการเกษตรของไทยโดยให้มีการกําหนดนโยบายการเกษตรบนพื้นที่สูงอย่าง

                          ชัดเจน
                       ข้อสังเกตสําคัญจากปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อขยายพื้นที่การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์คือ แม้ว่า

               ข้าวโพดเป็นพืชที่มีผลตอบแทนต่อไร่ต่ํา แต่เป็นพืชที่มีลักษณะการผลิตและการตลาดที่สามารถตอบโจทย์

               ข้อจํากัดมากมายของพื้นที่สูง ตั้งแต่ข้อจํากัดทางกายภาพ ข้าวโพดไม่ต้องการน้ํามาก ไม่ต้องการการดูแลมาก
               แม้เป็นพืชต้นทุนสูงแต่ก็มีเครือข่ายผู้ให้กู้ปัจจัยการผลิตที่เข้าถึงทุกพื้นที่ มีความต้องการซื้อจากตลาดอยู่เสมอ





                                                           9-13
   242   243   244   245   246   247   248   249   250   251   252