Page 248 -
P. 248
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ไม่ว่าปลูกมากเท่าไรก็ขายได้หมด มีระบบให้บริการสีและขนส่งที่กระจายอยู่ทุกพื้นที่ ลักษณะตลาดเช่นนี้เป็น
แรงจูงใจสําคัญที่ทําให้เกษตรกรเลือกปลูกข้าวโพด
การหาพืชทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์นั้นทําได้ไม่ยาก แต่จะไม่สามารถแก้ไข
ปัญหาการลุกลามของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้เลยหากไม่คํานึงถึงระบบตลาดและรูปแบบธุรกิจที่มารองรับพืช
ทางเลือกต่างๆ ให้มีความเหมาะสมกับลักษณะและข้อจํากัดของเกษตรกรในพื้นที่ชัน ความท้าทายของการ
แก้ปัญหาการปลูกพืชไร่เชิงเดี่ยวในพื้นที่ชันจึงอยู่ที่การพัฒนาระบบตลาดและรูปแบบธุรกิจที่เหมาะสมของพืช
ทางเลือกมากกว่าประเด็นผลตอบแทนของพืชทางเลือก
การศึกษาฉบับนี้แสดงถึงลักษณะเฉพาะของการเกษตรในพื้นที่สูงซึ่งเผชิญข้อจํากัดทั้งทางกายภาพ
และทางสถาบัน ทําให้การพัฒนาเกษตรบนพื้นที่สูงมีความแตกต่างจากการเกษตรบนพื้นที่ราบอย่างชัดเจน
โดยเฉพาะในประเด็นที่เกษตรกรมีอํานาจในการต่อรองต่ํา ทําให้เกษตรกรมีส่วนแบ่งจากมูลค่าของสินค้า
ปลายทางน้อย การพัฒนาใดๆ ที่มุ่งเน้นเพียงเพิ่มมูลค่าให้สินค้าปลายทางไม่ได้หมายความว่าเกษตรกรต้นทาง
จะได้รายได้เพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ เนื่องจากการเกษตรบนพื้นที่สูงเป็นกิจกรรมที่เกิดบนพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวและมี
ความสําคัญในเชิงนิเวศเป็นอย่างมาก การพัฒนารูปแบบธุรกิจการเกษตรในพื้นที่สูงที่เหมาะสมจะเป็น
เครื่องมือสําคัญที่นําไปสู่การฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้อย่างประสบความสําเร็จ นโยบายการเกษตรในพื้นที่สูงจะมี
ผลกระทบภายนอกต่อสังคม (Social benefits and costs) เข้ามาเกี่ยวข้อง การปล่อยให้การตัดสินใจต่างๆ
เป็นไปตามกลไกตลาดไม่สามารถนําไปสู่ระดับสวัสดิการสังคมที่สูงสุดได้ ซึ่งเป็นผลมาจากความล้มเหลวของ
144
กลไกตลาด (Market failures) ดังนั้น จึงมีความสําคัญยิ่งที่ภาครัฐจะต้องกําหนดแผนและนโยบายที่
เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการเกษตรและรูปแบบธุรกิจการเกษตรในพื้นที่สูงอย่างชัดเจน เพื่อให้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นมี
ประสิทธิภาพและนําไปสู่ความยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงแผนหรือยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในด้านการเกษตรพบว่า โดย
ส่วนใหญ่แล้วให้ความสําคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต (เช่น การลดต้นทุนการผลิตผ่านมาตรการ
ต่างๆ) และการสร้างมูลค่าเพิ่มในการขายสินค้า ซึ่งเป็นโจทย์ที่สําคัญของการเกษตรในพื้นที่ราบ แต่ยังขาด
แผนหรือยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมกับการพัฒนาการเกษตรในพื้นที่สูง ซี่งมีลักษณะและข้อจํากัดต่างจาก
การเกษตรในพื้นที่ราบเป็นอย่างมากดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น
ผู้วิจัยจึงเสนอให้ภาครัฐมีนโยบายหรือแผนเฉพาะในการกํากับดูแลและพัฒนารูปแบบธุรกิจการเกษตร
ในพื้นที่สูงที่ชัดเจน แยกต่างหากจากนโยบายการเกษตรในพื้นที่ราบทั่วไป โดยเฉพาะเป้าหมายในการเพิ่ม
อํานาจต่อรองให้กับเกษตรกรซึ่งเป็นปัญหาหลักที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรในพื้นที่สูง ให้มีการกําหนดแผนระยะยาว
ในด้านการตลาดและการผลักดันการรวมกลุ่มของเกษตรกร และการให้ความสําคัญกับกลไกที่จะทําให้
144
ในพื้นที่สูง การตัดสินใจผลิตหรือบริการโดยธุรกิจหรือเกษตรกรมักไม่ได้รวมต้นทุนและผลประโยชน์ของสังคม ส่งผลให้
นําไปสู่การตัดสินใจผลิตหรือบริการที่มากหรือน้อยเกินไป และราคาที่ปรากฎก็ไม่สามารถสะท้อนต้นทุนทางสังคมที่แท้จริง
และก่อให้เกิดความล้มเหลวของตลาด การตัดสินใจนี้ไม่สามารถสร้างระดับสวัสดิการสังคมที่สูงสุดได้
9-14