Page 249 -
P. 249

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               มูลค่าเพิ่มของสินค้าตกอยู่กับเกษตรกรต้นทางได้ เพื่อเป็นกรอบการดําเนินงานให้กับหน่วยงานต่างๆ ทั้งนี้

               แผนการพัฒนาเกษตรในพื้นที่สูงจะต้องให้ความสําคัญหลักดําเนินการได้แก่ “สร้างผลตอบแทนต่อไร่สูงพอ ลด
               ความเสี่ยง สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน และมีเงื่อนไขตรงกับสิ่งแวดล้อม”

                       หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ หน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนในการกําหนดแผน นโยบาย และยุทธศาสตร์ใน

               ด้านการเกษตรของประเทศ เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
               กระทรวงพาณิชย์ สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

                       2) ประยุกต์ใช้และแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่เพื่อส่งเสริมการลงทุนด้านเกษตรที่เหมาะสมกับพื้นที่สูงของ
                       ไทย

                       ในการพัฒนารูปแบบธุรกิจการเกษตรบนพื้นที่สูง จําเป็นต้องมีการออกกฎหมายที่จําเป็นเพื่อส่งเสริม

               การดําเนินงานในบางด้าน ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการกํากับดูแลอย่างเหมาะสม รวมทั้งการเตรียมความพร้อม
               ต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ผู้วิจัยเสนอให้มีการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นต่างๆ

               ดังต่อไปนี้
                       2.1)  กฎหมายเพื่อส่งเสริมการดําเนินงานของวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social enterprise)

                                   วิสาหกิจเพื่อสังคมเป็นกลไกที่สําคัญประการหนึ่งในการพัฒนารูปแบบธุรกิจ

                            การเกษตรบนพื้นที่สูง เนื่องจากการดําเนินงานจะมีความคํานึงถึงประเด็นทางสังคมและ
                            สิ่งแวดล้อมนอกเหนือไปจากการแสวงหากําไรเพียงอย่างเดียว จึงมีความเหมาะสมกับการ

                            ดําเนินงานในพื้นที่สูงซึ่งมีข้อจํากัดจํานวนมากที่ทําให้ผู้ประกอบการทั่วไปไม่สนใจเข้าไปดําเนิน

                            ธุรกิจในพื้นที่ หรือดําเนินธุรกิจแต่ไม่สนใจแง่มุมทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ภาครัฐจึงควร
                            ส่งเสริมการดําเนินงานของวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social  enterprise)  โดยเฉพาะในธุรกิจที่

                            เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรและมีการให้ผลตอบแทนกลับคืนไปพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมใน
                            พื้นที่ที่เกี่ยวข้อง

                                   เกี่ยวกับประเด็นนี้รัฐควรสนับสนุนให้มีการบังคับใช้ (ร่าง) พ.ร.บ. ส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อ

                            สังคม ซึ่งสนับสนุนธุรกิจที่มีวัตถุประสงค์และการดําเนินการครอบคลุมการให้คุณค่ากับชุมชน
                            ความเป็นอยู่ของเกษตรกรและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากดําเนินธุรกิจในพื้นที่สูงจําเป็นที่ธุรกิจต้อง

                            แก้ไขข้อจํากัดการเกษตรในหลายประเด็นและต้องคํานึงถึงคุณค่าของธุรกิจในเชิงสังคมและ
                            สิ่งแวดล้อมไปด้วยพร้อมกัน ทําให้ต้องใช้เงินลงทุนมาก เผชิญความเสี่ยงสูง และมีอุปสรรคใน

                            การดําเนินการมากธุรกิจมุ่งผลกําไรทั่วไป ภาครัฐจําเป็นที่ต้องส่งสัญญาณการสนับสนุนที่

                            ชัดเจนว่ารูปแบบธุรกิจนี้จะได้รับการผลักดันและสนับสนุนทั้งด้านเงินลงทุนและสินเชื่อ รวมไป
                            ถึงการดูแลสภาพการแข่งขันที่เป็นธรรมในพื้นที่เพื่อให้ธุรกิจที่ไม่ได้มุ่งหวังกําไรแต่เพียงอย่าง

                            เดียวมีพื้นที่ยืนในการทําธุรกิจการเกษตรบนพื้นที่สูง










                                                           9-15
   244   245   246   247   248   249   250   251   252   253   254