Page 252 -
P. 252
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
147
จัดทําหลักการการลงทุนภาคเกษตรอย่างรับผิดชอบ (RAI) โดยกําหนดหลักการพื้นฐาน
เกี่ยวกับการลงทุนภาคเกษตรไว้ 10 ข้อหลัก เพื่อป้องกันปัญหาการแย่งชิงที่ดิน (land
grabbing) และการเข้าถือครองที่ดินขนาดใหญ่ ซึ่งทําลายความยั่งยืนของชุมชนและสร้าง
148
ผลกระทบมากมายด้านความมั่นคงอาหารและฐานทรัพยากร หลักการการลงทุนเหล่านี้
คํานึงถึงการสร้างความยั่งยืนด้านความเป็นอยู่ของเกษตรกรและความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมไป
พร้อมๆ กับประเด็นด้านธรรมภิบาลและการมีส่วนร่วมของชุมชน
หลักการนี้มีขอบเขตครอบคลุมในระดับโลก โดยจะถูกนําไปตีความและประยุกต์ใช้ให้
สอดคล้องกับพันธกรณีทางกฎหมาย ทั้งกฎหมายในประเทศและระหว่างประเทศโดยกลุ่มผู้ที่
สามารถนําหลักการนี้ไปใช้ คือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้ได้รับผลประโยชน์ และผู้ได้รับผลกระทบ
จากการลงทุนในภาคการเกษตรและระบบอาหาร และภายใต้หลักการนี้กลุ่มผู้รับซื้อสินค้า
ปลายทางของห่วงโซ่อุปทานมีอํานาจในการกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ผลิตหรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องใน
ภาคการผลิตต้นน้ํา ต้องปฏิบัติตามหลักการ RAI โดยคํานึงถึงความเป็นอยู่ของเกษตรกรราย
ย่อย ความมั่นคงทางอาหารของชุมชน และคุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงความสําคัญการแบ่งประเภทของการลงทุนให้ชัดเจน เช่น
เป็นการลงทุนในลักษณะการบริการการเกษตรเฉพาะ เข้ามาเกี่ยวข้องในแบบเป็นเพียง
ส่วนย่อยของห่วงโซ่อุปทาน ไม่ได้เป็นผู้จัดจําหน่ายสินค้าโดยตรงในตลาดปลายทาง หรือ เข้า
มาลงทุนเกือบหรือครบวงจรและเป็นผู้ได้ประโยชน์จากการจําหน่ายสินค้าโดยตรงที่ตลาด
ปลายทาง ทั้งนี้เพื่อช่วยในการกําหนดเงื่อนไขของการลงทุน ในการลงทุนด้านการเกษตรกรบน
ที่สูงจําเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบกิจการต้องยึดถือคุณค่าและเลือกผสมวิธีการในการดําเนินธุรกิจ
เพื่อสร้างความยั่งยืนด้านความเป็นอยู่ไปพร้อมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมให้เกษตรกร การเข้า
มาของธุรกิจเกษตรข้ามชาติในลักษณะของการเช่าที่ดินของเกษตรกรรายย่อยหลายรายและ
ปลูกพืชเชิงเดี่ยวในแปลงขนาดใหญ่โดยขาดข้อผูกพันในการสร้างผลตอบแทนต่อไร่ให้สูงพอ
การกระจายความเสี่ยง ทําลายความเข้มแข็งของชุมชน และไม่ได้มีเงื่อนไขโดยตรงด้าน
สิ่งแวดล้อมที่ให้เกษตรกรและเจ้าของกิจการมีส่วนรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม จึงเป็นการลงทุนที่
ไม่เหมาะกับที่สูงอย่างสิ้นเชิง ในฐานะที่ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ตกลงยอมรับในหลักการ RAI
แล้วกฎหมายของไทยที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนภาคเกษตร นอกจากต้องสามารถป้องกันการเข้า
147
RAI พัฒนาต่อจากแนวทางหรือพันธะที่มีอยู่เดิม เช่น หลักการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบของสหประชาชาติ แนว
ดําเนินการของบริษัทข้ามชาติของ OECD Guidelines การครอบครองที่ดิน การทําประมงและป่าไม้อย่างมีธรรมาภิบาลของ
FAO และหลักการ Equator ของ UNDP
148
ดูเพิ่มเติมในหนังสือ นักแย่งยึดที่ดิน: การต่อสู้ครั้งใหม่ ใครคือเจ้าของผืนดิน (The Land Grabbers), 2559
แต่งโดย เฟรด เพียร์ซ และแปลโดย กิตติพล เอี่ยมกมล
9-18