Page 257 -
P. 257
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1) ปรับปรุงการดําเนินงานของหน่วยงานให้มีความบูรณาการและตอบรับกับปัญหาของพื้นที่มาก
ยิ่งขึ้น
แม้ภาครัฐ องค์กรพัฒนา หรือภาคเอกชน สามารถเลือกบทบาทการให้บริการการเกษตรตามความ
เชี่ยวชาญหรือความถนัดของหน่วยงาน เช่น ในพื้นที่หนึ่งองค์กรพัฒนาอาจช่วยลดข้อจํากัดด้านน้ําผ่านการ
พัฒนาการเข้าถึงแหล่งน้ํา ลดข้อจํากัดเงินทุนผ่านการอุดหนุนปัจจัยการผลิต หน่วยงานหนึ่งของภาครัฐเข้าไป
ลดข้อจํากัดด้านความรู้และทางเลือกในการเกษตรผ่านการให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะปลูก และเทคโนโลยีการ
ผลิต อีกหน่วยงานหนึ่งของภาครัฐเข้าไปลดข้อจํากัดด้านเงินทุนด้วยการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ํา เอกชนเข้าไป
ให้บริการด้านการขนส่ง แต่หากข้อจํากัดสําคัญอย่างอื่นยังมีอยู่ เช่น ข้อจํากัดด้านความห่างไกลตลาด ยังขาด
ผู้เชื่อมโยงผลผลิตของเกษตรกรสู่ตลาดที่เหมาะกับคุณภาพสินค้า หรือยังมีข้อจํากัดเชิงสถาบันและข้อขัดแย้งที่
อาจเกิดจากเรื่องสิทธิการถือครองที่ดินไม่ชัดเจน ก็จะมีโอกาสที่การเข้าไปแก้ข้อจํากัดของหลายภาคส่วนนั้นไม่
สามารถนําไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้ เกษตรกรอาจยังเผชิญกับภาวะกดดันจากการซื้อขายแบบดั้งเดิมและไม่
สามารถหันออกจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวได้ จําเป็นที่จะต้องให้หน่วยงานที่สามารถแก้ไขข้อจํากัดเชิงสถาบัน
เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ข้อจํากัดด้วย สิ่งสําคัญที่จะทําให้การพัฒนาในพื้นที่สําเร็จ คือ ถึงแม้จะแยกส่วน
ทํางานตามหน้าที่และความเชี่ยวชาญแต่ต้องบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาโดยยึดพื้นที่เป็นหลัก (area-based) และ
ควรกําหนดให้มีหน่วยงานที่ทําหน้าที่เป็นเจ้าภาพในการดําเนินงานหลัก (แตกต่างกันไปตามพื้นที่) และส่งเสริม
การมีส่วนร่วมของทั้งหน่วยงานอื่นและประชาชนในขั้นตอนการดําเนินงานตั้งแต่ขั้นเริ่มต้น ตัวอย่างคือ การทํา
แผนที่ที่แสดงการใช้ประโยชน์ที่ดินของชุมชนร่วมกันที่มีสถานะได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย
ผู้วิจัยจึงเสนอให้ในแต่ละพื้นที่สูงที่ต้องได้รับการพัฒนาทางการเกษตร ให้มีการกําหนดหน่วยงานที่
เกี่ยวข้อง หน่วยงานที่เข้ามาเป็นเจ้าภาพในด้านต่างๆ และให้มีการดําเนินงานร่วมกันตั้งแต่ในการกําหนด
ทิศทางในการพัฒนาในพื้นที่ การดําเนินงานที่มีการรับรู้และยอมรับอย่างทั่วถึง ไม่ซ้ําซ้อน ไม่ขัดแย้งกันเอง
โดยในแต่ละพื้นที่และแต่ละด้านอาจจะมีหน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพแตกต่างกันไป เช่น การจัดการพื้นที่ในเขต
อุทยานให้กรมอุทยานเป็นเจ้าภาพหลัก และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งทางด้านเกษตร การปกครอง ท้องถิ่น
ทหาร เข้ามามีส่วนร่วมรับรู้และร่วมดําเนินการเพื่อให้เกิดการยอมรับ และให้เอกสารที่มีการตกลงร่วมกันนี้
สามารถนําไปใช้ดําเนินการในเรื่องต่างๆ ในหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ต่อไป
2) การให้บริการทางการเกษตรเพื่อให้การดําเนินธุรกิจเกิดขึ้นได้
เนื่องจากปัญหาการขาดอํานาจต่อรองและการดําเนินธุรกิจของเกษตรกรในพื้นที่สูงเป็นผลสืบ
เนื่องมาจากข้อจํากัดตั้งต้นที่มากมายของพื้นที่สูง นําไปสู่ทางเลือกที่ไม่มากนัก กําหนดพฤติกรรมเกษตรกร
และพ่อค้าจนทําให้เกษตรกรติดกับดักของรูปแบบการซื้อขายดั้งเดิมที่ปิดโอกาสการสะสมทุนของเกษตรกรเอง
การแก้ไขที่ต้นทางคือ การเข้าไปลดข้อจํากัดต่างๆ ผ่านการให้บริการทางการเกษตร และสิ่งสําคัญที่จะช่วย
สร้างบริการการเกษตรที่เหมาะกับที่สูงคือ นวัตกรรม (ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมทางผลิต การตลาด การเงินและ
สังคม) โดยที่ทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรพัฒนาสามารถเข้ามามีบทบาทในการให้บริการการเกษตรได้ ทั้งนี้
การลดข้อจํากัดด้านต่างๆ เป็นการช่วยอํานวยความสะดวกให้สายการดําเนินธุรกิจเกิดขึ้นได้ โดยสามารถแบ่ง
9-23