Page 259 -
P. 259

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                            ที่เสียหายง่าย มีช่วงที่เหมาะกับการขายไม่นาน การให้บริการที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีการเก็บ

                            รักษาผลผลิต ในกรณีเช่นนี้ ภาครัฐควรสนับสนุนการดําเนินงานของเอกชนที่มีส่วนช่วย
                            แก้ปัญหาข้อจํากัดของพื้นที่สูง แต่ต้องเป็นไปอย่างเท่าเทียมกันและส่งเสริมให้เกิดการแข่งขัน

                            เพื่อพัฒนาการให้บริการมากขึ้น

                       2.4)  การลดข้อจํากัดเชิงสถาบัน
                                   การให้บริการการเกษตรที่แก้ไขข้อจํากัดเชิงสถาบันที่เกี่ยวกับเรื่องสิทธิการใช้

                            ประโยชน์จากที่ดินที่ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถทําได้ คือ การร่วมกันจับพิกัด
                            แยกแยะการใช้พื้นที่ร่วมกับชุมชน เพื่อให้เกษตรกรมีความมั่นใจในการใช้พื้นที่ และพัฒนา

                            คุณภาพผลผลิต ในขณะที่องค์กรพัฒนาหรือภาคเอกชนอาจช่วยลดข้อจํากัดเชิงสถาบันได้ ด้วย

                            การหาหรือพัฒนาเครื่องมือการตลาดที่ช่วยรับรองคุณภาพสินค้าจากชุมชนในพื้นที่ที่ถึงแม้จะมี
                            ข้อจํากัดเชิงสถาบัน แต่มีบทบาทเฉพาะในเรื่องการดูแลพื้นที่สูง เช่น Land Labeling

                       2.5)  การเพิ่มศักยภาพของเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกร
                                   การรวมกลุ่มเป็นรากฐานที่สําคัญในการพัฒนาต่อยอด กลุ่มรูปแบบธุรกิจที่แตกต่างกัน

                            มีความต้องการการสนับสนุนที่ต่างกัน ในพื้นที่ที่ไม่มีการรวมกลุ่มเกษตรกรมาก่อน เกษตรกร

                            ติดอยู่ในกับดักของการซื้อขายแบบดั้งเดิม อาจจําเป็นต้องมีการผลักดันจากภายนอกด้วยหาก
                            พื้นที่นั้นขาดองค์ประกอบสําคัญของการรวมกลุ่ม เช่น ผู้นํา ความรู้ด้านการบริหารจัดการกลุ่ม

                            และการเชื่อมโยงกับตลาด ทั้งภาครัฐ องค์กรพัฒนาจําเป็นต้องทุ่มเทบุคลากรและทรัพยากรใน

                            การช่วยสร้างกลุ่มค่อนข้างมาก แต่สําหรับเป็นกลุ่มที่รวมกันได้อยู่แล้วในระดับหนึ่งและต้องการ
                            พัฒนาสินค้าสู่ระดับคุณภาพสูง บทบาทที่สําคัญของภาครัฐและองค์กรภายนอก คือการ

                            เชื่อมโยงและจัดหาตลาดเฉพาะให้ ในขณะที่กลุ่มที่ต้องการพัฒนาสู่การแปรรูป อาจต้องการ
                            ความช่วยเหลือทางด้านปัจจัยการผลิต เช่น  ปัจจัยทุน องค์ความรู้ เป็นหลัก ส่วนกลุ่มที่

                            ต้องการพัฒนาต่อไปสู่การแปรรูปและคุณภาพสูงนั้นต้องการความช่วยเหลือไม่มากเท่ากลุ่มอื่น

                            นักเนื่องจากกลุ่มเกษตรกรมักจะมีความเข้มแข็งในระดับหนึ่งอยู่แล้ว
                                   ภาครัฐ องค์กรภายนอกหรือเอกชน สามารถมีบทบาทในการผลักดันการจัดตั้งกลุ่ม

                            เกษตรกรที่ดําเนินการโดยชาวบ้านเองทั้งหมด โดยหน่วยงานสนับสนุนเพียงองค์ความรู้หรือให้
                            คําปรึกษา หรือผลักดันโดยส่งคนที่ทําให้หน้าที่เป็นผู้นํากลุ่มและให้สมาชิกเกษตรกรในกลุ่มทํา

                            หน้าที่เพียงผลิตผลผลิตเพื่อส่งให้กับผู้นําหรือคนที่ทําหน้าที่รวบรวมและขาย ซึ่งในรูปแบบหลัง

                            นี้หน่วยงานหรือองค์กรภายนอกอาจจะสนับสนุนบุคลากรให้ทําหน้าที่เสมือนผู้นํากลุ่ม วาง
                            แผนการผลิตให้สมาชิกและรวบรวมผลผลิต แต่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในเรื่องการผลิตหรือการบริหาร

                            จัดการกลุ่ม ซึ่งการจะการเลือกใช้บทบาทใด ขึ้นอยู่กับความพร้อมและทิศทางของชุมชนและ

                            เกษตรกร การผลักดันโดยไม่ได้เข้าใจถึงทิศทางความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่และไม่ได้
                            คํานึงถึงองค์ประกอบที่จําเป็นต่อการสร้างกลุ่มหรือรูปแบบธุรกิจ ทําให้การผลักดันไม่เกิด

                            ประสิทธิผล


                                                           9-25
   254   255   256   257   258   259   260   261   262   263   264