Page 261 -
P. 261

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                       จากผลการศึกษาในรายละเอียด ผู้วิจัยได้สรุปข้อเสนอแนะตามรายพืชที่ปรากฏในงานวิจัย เพื่อช่วยใน

               การสื่อประเด็นให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยเป็นชุดข้อเสนอสําหรับพื้นที่สูงตามขอบเขตการวิจัยฉบับนี้ ได้แก่พื้นที่ที่อยู่
               ในการดูแลของกฎหมายป่าไม้ เช่น พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นๆ โดยที่

               เกษตรกรไม่มีเอกสารสิทธิ์ในพื้นที่ แต่ในขณะเดียวกันมักเป็นพื้นที่ที่มีการบุกรุกเพื่อปลูกไร่พืชเชิงเดี่ยว ซึ่งใน

               การผลักดันการเปลี่ยนผ่านจากการปลูกพืชไร่เชิงเดี่ยวสู่รูปแบบเกษตรกรรมอื่นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาก
               ขึ้น จําเป็นต้องพัฒนารูปแบบธุรกิจที่จะเอื้อต่อความยั่งยืนบนพื้นที่สูง คือ เกษตรกรต้องมีรายได้ต่อไร่สูงพอ

               ความเสี่ยงน้อย (มีภูมิคุ้มกัน) เกษตรกรและชุมชนมีความเข้มแข็ง และเกษตรกรและธุรกิจที่เกี่ยวข้องมีส่วน
               รับผิดชอบสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะรายพืชนี้สามารถนําไปประยุกต์ใช้กับพืชอื่นๆ ที่มีลักษณะและบริบท

               คล้ายกันได้ตามความเหมาะสม

                       1)  มะม่วง
                       มะม่วงเป็นตัวอย่างของไม้ยืนต้นที่ปลูกในพื้นที่บ้านสบเป็ดและบ้านป่ากลางในลักษณะเชิงเดี่ยว เป็น

               พืชที่เหมาะกับลักษณะพื้นที่ ให้ผลผลิตค่อนข้างดี ต้นทุนไม่สูงมาก เป็นพืชที่มีต้นทุนการผลิตต่ําและใช้สารเคมี
               ยากําจัดวัชพืชน้อยกว่าพืชไร่เชิงเดี่ยวอย่างข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ แต่ในแง่มุมการแข่งขันในตลาด ถือว่าเป็นสินค้าที่

               สามารถหาผลผลิตจากที่อื่นทดแทนได้ง่าย ดังนั้นการจะช่วยให้การปลูกมะม่วงสามารถสร้างผลตอบแทนต่อไร่

               ที่สูงพอในระยะยาวอาจทําได้ 3  วิธีคือ การรวมกลุ่มเพื่อขายและลดต้นทุนการขนส่ง การสนับสนุนให้มีการ
               แข่งขันรับซื้อในพื้นที่ และการพัฒนาคุณภาพ

                       ในพื้นที่ที่เกษตรกรยังติดอยู่ในรูปแบบการซื้อขายแบบดั้งเดิม ที่มักทําให้เกษตรกรต้องแย่งกันขาย รีบ

               ขายคละและเผชิญปัญหาขาดอํานาจต่อรอง เช่น บ้านสบเป็ด การจะปรับเปลี่ยนจากการแยกกันขายภายใต้
               รูปแบบธุรกิจดั้งเดิมมาสู่การรวมกลุ่มเพื่อขายเป็นขั้นตอนการพัฒนาที่ยาก และอาจจําเป็นต้องมีการช่วย

               จัดการจากภายนอก เช่น หากชุมชนยังขาดบุคลากรที่จะเชื่อมโยงกับตลาดและจัดการเรื่องการวางแผนการ
               ผลิตหรือการขาย ก็อาจต้องมีบุคลากรจากภายนอกเข้าไปทําหน้าที่นั้นแทน องค์ประกอบที่สําคัญมากในขยับสู่

               การรวมกลุ่มเพื่อขาย คือ

                       -  เกษตรกรมีแรงจูงใจที่มากพอที่จะสร้างกลุ่ม เช่น มีการเชื่อมโยงตลาดหรือพ่อค้ารับซื้อที่สามารถ
                          รับซื้อมะม่วงจํานวนมากจากกลุ่มได้อย่างสม่ําเสมอ

                       -  มีผู้นําที่จะช่วยจัดการวางแผนการขายและการผลิตตลอดจนการแบ่งปันผลประโยชน์จากกลุ่มให้
                          สมาชิก

                       ในพื้นที่ยังไม่พร้อมเรื่ององค์ประกอบที่นําไปสู่การรวมกลุ่ม ภาครัฐอาจต้องใช้วิธีการกํากับดูแลให้เกิด

               การแข่งขันในการรับซื้อในพื้นที่ ดูแลไม่ให้เกิดเหตุการณ์พ่อค้าร่วมกันกําหนดราคา รวมไปถึงการให้ข้อมูล
               ข่าวสารที่ถูกต้องเกี่ยวกับตลาดปลายทาง เช่น การเปลี่ยนแปลงราคาของมะม่วงที่ตลาดปลายทาง เพื่อให้

               เกษตรกรสามารถรู้เท่าทันเนื่องจากรับทราบข้อมูลที่จําเป็นสําหรับการตัดสินใจขาย

                       สําหรับพื้นที่ที่เกษตรกรสนใจการพัฒนาคุณภาพสู่การขายในตลาดคุณภาพสูงหรือตลาดที่ต้องการ
               สินค้าที่ปลอดภัยจากสารเคมีและพร้อมจะให้ราคารับซื้อที่แตกต่างจากผลผลิตคุณภาพทั่วไป การขายสินค้าใน

               ตลาดบน เกษตรกรไม่ต้องเผชิญความผันผวนของราคามากเท่ากับการขายในตลาดทั่วไป และจะมีเงื่อนไขจาก


                                                           9-27
   256   257   258   259   260   261   262   263   264   265   266