Page 260 -
P. 260

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว







                       3)  ส่งเสริมการสร้างตลาดใกล้พื้นที่เกษตรกรรม
                       ปัญหาที่สําคัญมากที่สุดประการหนึ่งของการทําการเกษตรในพื้นที่สูงคือ ต้นทุนค่าขนส่งที่แพงใน

               ขณะที่ผลผลิตทางการเกษตรส่วนใหญ่เน่าเสียได้ง่าย การบริหารจัดการผลผลิตให้ถึงตลาดจึงมีต้นทุนสูงและทํา

               ให้ผลผลิตจากพื้นที่สูงแข่งขันกับผลผลิตจากพื้นที่ราบได้ยาก เช่น การที่ต้องนําผลผลิตการเกษตรจากพื้นที่สูง
               ในจังหวัดน่านส่งไปยังตลาดการเกษตรที่กรุงเทพฯ หรือพิษณุโลก ทําให้ต้นทุนการขนส่งสูงและเกษตรกรจะ

               ได้รับราคารับซื้อที่ต่ําลง การแก้ปัญหาทางหนึ่งคือการพยายามสร้างตลาดที่อยู่ใกล้กับพื้นที่การเกษตรของ
               เกษตรกร เพื่อแก้ปัญหาการขนส่งและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับเกษตรกรในพื้นที่สูง ตัวอย่างเช่น

                                                                      149
               การทําโครงการส่งเสริมการใช้ผลผลิตทางการเกษตรในจังหวัด  โดยทําฐานข้อมูลผลผลิตการเกษตรใน
               จังหวัด ให้มีตลาดกลางการเกษตร (ระดับจังหวัดหรืออําเภอ) ที่เกษตรกรสามารถนําสินค้ามาขายหมุนเวียนกัน
               ไปได้ (หรืออาจจะทําข้อตกลงกับห้างค้าปลีกและค้าส่งในจังหวัดให้ช่วยเป็นตัวกลางในการขายผลผลิตของ

               เกษตรกร) และให้ป้ายหรือสัญลักษณ์กับผู้ประกอบการท่องเที่ยวหรือร้านอาหารในจังหวัดที่ใช้ผลผลิต
               การเกษตรจากเกษตรกรในจังหวัดตนเอง อาจจะมีมาสคอตสําหรับส่งเสริมผลผลิตของแต่ละพื้นที่ (เช่น กรณี

               ประเทศญี่ปุ่น) และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในจังหวัดและนักท่องเที่ยวร่วมสนับสนุนผู้ประกอบการหรือ

               ร้านอาหารที่ใช้ผลผลิตการเกษตรจากในพื้นที่เป็นหลัก ซึ่งจะเป็นการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
               ควบคู่กันไป โดยภาครัฐทําหน้าที่ในการอํานวยความสะดวกและตรวจสอบกํากับดูแลคุณภาพของผลผลิตให้ได้

               มาตรฐานตามที่ตลาดต้องการ

                       โครงการดังกล่าวนี้นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาต้นทุนการขนส่งที่สูงแล้ว ยังช่วยเปิดตลาดใหม่ๆ ที่สร้าง
               คุณค่าให้กับผลผลิตในเชิงพื้นที่ด้วย ทําให้ผู้ซื้อตระหนักถึงความสําคัญของการใช้พื้นที่และการรักษาระบบ

               นิเวศในจังหวัดของตนเอง และทําให้ผลผลิตที่ได้จากการปลูกในจังหวัดและมีการดําเนินการอย่างดีได้รับความ
               นิยมและมีมูลค่ามากยิ่งขึ้น เกษตรกรจะสามารถขายผลผลิตได้ในราคาที่สูงขึ้นด้วย ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการ

               พัฒนาคุณภาพของผลผลิตและการสร้างเงื่อนไขในการรักษาสิ่งแวดล้อมให้เกษตรกรในระยะยาวต่อไป

                       แม้ว่าในปัจจุบันจะมีความพยายามในการสร้างตลาดสินค้าเกษตรระดับท้องถิ่นเพิ่มขึ้นมาก แต่ยังไม่
               ค่อยประสบความสําเร็จมากนักเพราะขาดทิศทางที่ชัดเจนและขาดการประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภค

               ทําให้ตลาดที่เกิดขึ้นมักจะเป็นลักษณะตลาดนัดสินค้าเกษตรในระดับชุมชนที่เกษตรกรนําสินค้ามาขาย ทั้งนี้
               ภาครัฐและจังหวัดควรกําหนดแนวทางการดําเนินงานของจังหวัดให้ชัดเจน เป็นโครงการที่เชื่อมโยงสินค้า

               เกษตรเข้ากับผู้บริโภคโดยตรงมากขึ้น ทําเป็นโครงการระยะยาว และต้องให้ความสําคัญเป็นอย่างยิ่งกับการทํา

               การตลาดและการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจและการรับรู้ให้กับผู้บริโภค โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวซึ่งมี
               การให้ความสําคัญกับสินค้าท้องถิ่นมากขึ้น โดยอาจจะติดต่อร่วมมือกับผู้ประกอบการต่างๆ ในจังหวัด เช่น

               สายการบิน โรงแรมและที่พัก ร้านอาหาร เป็นต้น

                       9.2.3  ข้อเสนอแนะรายพืช



               149
                 สําหรับจังหวัดน่าน อาจจะใช้ชื่อโครงการ “น่า(น)กิน”
                                                           9-26
   255   256   257   258   259   260   261   262   263   264   265