Page 255 -
P. 255
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ปัญหาสําคัญประการหนึ่งของการเกษตรในพื้นที่สูงคือการที่เกษตรกรไม่มีสิทธิในการ
ใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างชัดเจนและถูกต้องตามกฎหมาย ส่งผลให้เกษตรกรไม่สามารถได้รับการ
รับรองมาตรฐานบางประเภทที่กําหนดเงื่อนไขตามสิทธิในการถือครองที่ดิน ทําให้เกษตรกร
ไม่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาคุณภาพผลผลิตของตนเองและยังทําให้เกษตรกรบางส่วน
ลังเลที่จะลงทุนระยะยาวเพื่อพัฒนาคุณภาพที่ดิน
ผู้วิจัยเสนอให้ต้องมีมาตรการที่สร้างความชัดเจนในเรื่องสิทธิการใช้ประโยชน์จากที่ดิน
ในพื้นที่สูง โดยควรสนับสนุนการสร้างข้อตกลงร่วมกันในการใช้ที่ดินระหว่างภาครัฐและ
ประชาชน การจับพิกัดการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ได้รับการยอมรับร่วมกัน และการส่งเสริมให้
ชุมชนมีบทบาทในการดูแลและตรวจสอบการใช้พื้นที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ การให้สิทธิ์การใช้
ประโยชน์จากที่ดินไม่ควรทําในลักษณะการให้สิทธิ์ต่อปัจเจกบุคคล
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กรมป่าไม้
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สํานักงานปฏิรูปที่ดิน
เพื่อการเกษตร) กระทรวงมหาดไทย องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาชน
3.3) สนับสนุนการพัฒนากลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
เนื่องจากแต่ละพื้นที่มีปัญหา พื้นฐานทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน การมีกฎ
ระเบียบของชุมชนที่ได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและมีผลบังคับใช้จริงในทาง
ปฏิบัติจะช่วยให้ ชุมชนสามารถกําหนดทิศทางการพัฒนาที่เหมาะสมกับชุมชนได้มากขึ้น
เกี่ยวกับเรื่องนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถใช้อํานาจนิติบัญญัติที่ตนมีในการออก
ข้อบัญญัติท้องถิ่น บัญญัติท้องถิ่นสามารถใช้เป็นเครื่องมือสําคัญในการกําหนดทิศทางรูปแบบ
ธุรกิจที่ชุมชนต้องการให้มีในพื้นที่สูง โดยสามารถกําหนดเกณฑ์ที่การดําเนินธุรกิจพึงมีในเรื่อง
การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม การมีส่วนร่วมในการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน รวมถึงการร่วม
ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่ ในสถานการณ์ที่ยังไม่มีกฎ กติกาหรือกฎหมายรองรับที่
ชัดเจนเกี่ยวกับการลงทุนภาคเกษตรในพื้นที่สูง รวมถึงไม่ได้มีการกํากับดูแลเพื่อให้เกิดการ
แข่งขันที่เป็นธรรมของธุรกิจการเกษตรในพื้นที่สูง การใช้บัญญัติท้องถิ่นเป็นเครื่องมือในระดับ
ชุมชนที่มีความสําคัญมากในการกํากับดูแลการลงทุนดังกล่าว
ผู้วิจัยจึงเสนอให้ภาครัฐรวมถึงองค์ปกครองส่วนท้องถิ่นควรสร้างกลไกและให้อํานาจ
ท้องถิ่นในการกําหนดเงื่อนไขข้อบังคับในระดับท้องถิ่น และส่งเสริมการบังคับใช้ โดยเฉพาะใน
ประเด็นที่ไม่ได้มีกําหนดไว้และไม่ขัดกับกฎหมายอื่น เช่น เงื่อนไขหรือผลกระทบของการลงทุน
ทางการเกษตรของภาคเอกชน
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3.4) ปรับปรุงเงื่อนไขการให้สินเชื่อภาคเกษตรในพื้นที่สูงโดยให้มีการสร้างแรงจูงใจในการรักษา
สิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป
9-21