Page 253 -
P. 253
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
มาทําธุรกิจในลักษณะนี้ในพื้นที่สูงได้แล้ว ควรต้องสะท้อนเงื่อนไขที่จําเป็นต้องมีเพื่อดําเนิน
หลักการที่นําไปสู่ความยั่งยืนรวมไปถึงระบบการตรวจสอบประสิทธิผลของเงื่อนไขเหล่านั้น
นอกจากนี้ เนื่องจากการดูแลให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรมระหว่างธุรกิจ
การเกษตรที่มีแหล่งผลิตสินค้าอยู่ในพื้นที่เดียวกันอาจทําได้ยากในทางปฏิบัติ ทําให้การกําหนด
เกณฑ์สําหรับธุรกิจการเกษตรบนพื้นที่สูงมีความสําคัญในลักษณะของการ screening เบื้องต้น
ผู้วิจัยจึงเสนอให้มีการพิจารณากําหนดเงื่อนไขและแนวทางการดําเนินธุรกิจที่ชัดเจน
ให้กับภาคเอกชนหรือธุรกิจที่ต้องการลงทุนบนพื้นที่สูงเพื่อลดปัญหาของการฉกฉวย
ผลประโยชน์จากพื้นที่สูงแต่ทิ้งปัญหาด้านความเสี่ยง ด้านชุมชน และสิ่งแวดล้อมไว้กับพื้นที่
โดยให้มีการกําหนดเงื่อนไขกับธุรกิจที่จะได้ประโยชน์ชัดเจนจากการเป็นผู้เชื่อมโยงสินค้าจาก
แหล่งผลิตสู่ตลาดปลายทาง (sourcing) เพื่อให้ธุรกิจการเกษตรบนพื้นที่สูงสามารถดําเนินการ
ตามหลักการ “สร้างผลตอบแทนต่อไร่ให้สูงพอ ลดความเสี่ยง ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน
และมีเงื่อนไขรับผิดชอบตรงกับสิ่งแวดล้อม” ทั้งนี้ จําเป็นต้องมีการแบ่งประเภทของการลงทุน
ด้านเกษตรที่ชัดเจน และออกแบบเงื่อนไขที่จําเป็นต้องมีสําหรับธุรกิจแต่ละประเภท เนื่องจาก
การภาคธุรกิจสามารถเข้าไปมีบทบาทในพื้นที่ได้ในหลายระดับแตกต่างกันไป บางรายอาจเข้า
ไปเกี่ยวข้องในลักษณะให้บริการย่อยหรือเฉพาะ เช่น การขนส่งสินค้า ในขณะที่บางรายเข้าไป
เกี่ยวข้องในลักษณะธุรกิจการเกษตรเกือบหรือครบวงจรทําให้มีผลในการกําหนดระดับความ
เป็นอยู่ของเกษตรกรมาก
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ สํานักงาน
คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร องค์กรพัฒนา
ระหว่างประเทศและในประเทศ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม
ในภาพรวม การเสนอให้นํากฎหมายที่มีอยู่ (พ.ร.บ. กิจการเพื่อสังคม) หรือต่อยอดกฎหมายที่มีบังคับ
ใช้อยู่แล้ว (พ.ร.บ. เกษตรพันธะสัญญา) มาใช้เป็นเกณฑ์เบื้องต้นในลักษณะเครื่องคัดกรองการลงทุนภาคเกษตร
บนพื้นที่สูง (screening device) เป็นการส่งสัญญาณผ่านกฎหมายและสามารถเพิ่มอํานาจการต่อรองให้ชุมชน
ได้ ทั้งนี้ การคัดกรองในเบื้องต้นอาจมีประสิทธิผลกว่าการเข้าไปกํากับดูแลพฤติกรรมของธุรกิจในภายหลังซึ่งทํา
ได้ยาก
3) แก้กฎระเบียบในระดับหน่วยงานหรือการทําข้อตกลงร่วมกันระหว่างหน่วยงานเพื่อให้สามารถ
ดําเนินการพัฒนาการเกษตรในพื้นที่สูงของไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากการออกและแก้กฎหมายหลักดังที่ได้กล่าวไว้ในข้อ 2 แล้ว ควรมีการปรับปรุงกฎระเบียบบาง
ด้านเพื่อให้การดําเนินงานด้านการพัฒนาการเกษตรในที่สูงมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้
3.1) พัฒนาและปรับปรุงนโยบายที่มีบทบาทในการจัดการปัญหาความเสี่ยงของผลผลิต
9-19