Page 250 -
P. 250

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                                   โดยล่าสุดคณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติส่งเสริม
                                            145
                            วิสาหกิจเพื่อสังคม  พ.ศ..... ของสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งประเด็นหลักของ
                            พระราชบัญญัติจะเกี่ยวข้องกับการจัดตั้งสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคมแห่งชาติ การ

                            จัดตั้งกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม การจัดตั้งธนาคารเพื่อกิจการเกี่ยวกับการสนับสนุน

                            วิสาหกิจเพื่อสังคมและการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
                                   เนื้อหาหลักของ พ.ร.บ. ฉบับนี้เน้นไปการส่งเสริมทุน สินเชื่อ สร้างแรงจูงใจด้วยการให้

                            สิทธิประโยชน์ทางภาษี และส่งเสริมความรู้ในเชิงวิชาการและการดําเนินธุรกิจกิจการเพื่อสังคม
                            ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นสําคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาว่าการทําธุรกิจการเกษตรหรือ

                            นําส่งบริการการเกษตรในพื้นที่สูงควรมีเงื่อนไขกําหนดความรับผิดชอบของตนต่อสิ่งแวดล้อม

                            และชุมชนอย่างชัดเจน รูปแบบธุรกิจกิจการเพื่อสังคมจะเผชิญข้อจํากัดในการเริ่มต้นมากกว่า
                            การทําธุรกิจทั่วไป อย่างไรก็ดี ข้อมูลจากพื้นที่แสดงให้เห็นเพิ่มเติมว่า สภาพการแข่งขัน

                            ระหว่างกิจการเพื่อสังคมและธุรกิจทั่วไปในพื้นที่มีความสําคัญมาก การสร้างการแข่งขันที่เป็น
                            ธรรมในพื้นที่จะส่งผลกับความอยู่รอดของธุรกิจ เช่น ในการรับซื้อสินค้าต้นทางเพื่อการแปรรูป

                            สิ่งที่เกษตรกรเห็นประโยชน์โดยตรงคือราคารับซื้อที่ผู้รับซื้อให้ ซึ่งธุรกิจเกษตรขนาดใหญ่ทั่วไป

                            ที่มีช่องทางกระจายสินค้าอยู่แล้วและไม่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขการดําเนินการใดๆ จะมีแต้มต่อ
                            ในเชิงธุรกิจสูง สามารถเสนอราคารับซื้อที่สูงได้ ซึ่งทําอาจให้กิจการเพื่อสังคมประสบปัญหาใน

                            การแข่งขันและประโยชน์โดยตรงที่เคยให้กับเกษตรกรและชุมชนต้องถูกจํากัดลง

                                   ดังนั้น ผู้วิจัยเสนอให้ 1) ต้องมีการกําหนดเงื่อนไขของธุรกิจที่จะเข้ามาดําเนินงานด้าน
                            การเกษตรในพื้นที่สูง โดยอาจจะประยุกต์เงื่อนไขจาก (ร่าง) พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม

                            เพื่อใช้ในการกลั่นกรองธุรกิจที่เข้ามาดําเนินงานให้มีการคํานึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อมมากกว่า
                            การแสวงหากําไรเป็นหลัก 2) ให้มีข้อกําหนดและเงื่อนไขที่ชัดเจนเกี่ยวกับการรับผิดชอบต่อ

                            สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศในพื้นที่ของกิจการเพื่อสังคมที่ดําเนินการในพื้นที่สูงในร่าง พ.ร.บ.

                            ดังกล่าว
                                   หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ กระทรวงพาณิชย์

                       2.2)  กฎหมายในการกํากับการเกษตรพันธะสัญญา
                                   แม้การทําเกษตรพันธะสัญญาในพื้นที่สูงถือเป็นลักษณะหนึ่งของการให้บริการทาง

                            เกษตรกรรมที่ค่อนข้างครบวงจร เนื่องจากผู้รับซื้อสินค้าเข้ามาให้บริการนําส่งปัจจัยการผลิต

                            ให้สินเชื่อ ความรู้ของขั้นตอนการผลิต การดูแลก่อนเก็บเกี่ยว ตลอดจนการขนส่งผลผลิต แต่มี
                            ข้อควรระวังคือ รูปแบบเกษตรพันธะสัญญาโดยทั่วไปไม่ได้กําหนดเงื่อนไขเรื่องการดูแล

                            สิ่งแวดล้อมไว้ทั้งในแง่สิ่งที่เกษตรกรต้องทําหรือธุรกิจต้องทําดังนั้นหากต้องการให้มีรูปแบบ

                            ธุรกิจแบบเกษตรพันธะสัญญาในพื้นที่ ภาครัฐรวมถึงองค์ท้องถิ่นควรมีบทบาทในการกํากับดูแล



               145
                 เมื่อเมษายน พ.ศ. 2559 โดยร่างนี้เป็นร่างที่เสนอโดยสภาปฏิรูปแห่งชาติ
                                                           9-16
   245   246   247   248   249   250   251   252   253   254   255