Page 251 -
P. 251
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ให้สัญญามีความเหมาะสมและเป็นธรรม มีการคํานึงถึงปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่
และแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมกันด้านข้อมูลระหว่างเกษตรกรและบริษัท โดยส่วนใหญ่ใน
ปัจจุบันบริษัทเป็นผู้นําเสนอข้อมูลให้กับเกษตรกรเพียงด้านเดียวโดยที่เกษตรกรยังไม่สามารถ
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้รับ เช่น ข้อมูลการคาดการณ์ตลาดในอนาคต ข้อมูลการ
ผลิต เป็นต้น
ปัจจุบันร่าง พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธะสัญญาที่เป็นธรรม พ.ศ. ......
ได้ผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และกําลังอยู่ในช่วงของการเสนอต่อไปที่สภานิติบัญญัติ
แห่งชาติ ซึ่งใน พรบ. กําหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธะสัญญา
ขึ้น เพื่อเสนอพัฒนาระบบเกษตรพันธะสัญญา กําหนดแนวทางให้หน่วยงานภาครัฐดําเนินการ
ตามแผน กําหนดรูปแบบสัญญา ออกประกาศเพื่อกําหนดเกณฑ์ต่างๆ นอกจากนี้ พ.ร.บ. ได้
เปิดโอกาสให้เกิดการกํากับดูแลความเป็นธรรมของสัญญาด้วย อย่างไรก็ดี ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว
ยังไม่ได้กําหนดถึงทิศทางการกํากับดูแลการเกษตรพันธะสัญญาในพื้นที่สูงเป็นการเฉพาะ
รวมทั้งประเด็นความครอบคลุมของกฎหมายในทางปฏิบัติ เนื่องจากนิยามของสัญญาที่เข้าข่าย
เกษตรพันธะสัญญาทางกฎหมายอาจไม่สามารถสะท้อนพันธะการซื้อขายปัจจัยการผลิตและ
ผลผลิตที่เกิดขึ้นในทางปฏิบัติได้
ผู้วิจัยจึงเสนอให้กําหนดการกํากับดูแลเกษตรพันธะสัญญาในพื้นที่สูงอย่าง
เฉพาะเจาะจง ในร่างกฎหมาย พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธะสัญญาที่เป็นธรรม
พ.ศ. ...... โดยให้ความสําคัญเป็นพิเศษกับการสร้างเกณฑ์ที่ชัดเจนในด้านสิ่งแวดล้อม การแบ่ง
ภาระความเสี่ยงอย่างเป็นธรรมในกรณีผลผลิตเสียหายจากภัยธรรมชาติหรือโรคระบาดซึ่งมี
แนวโน้มจะเกิดบ่อยครั้งขึ้นและรุนแรงมากขึ้น การรับรู้สิทธิ์ของเกษตรกรเกี่ยวกับการทํา
สัญญา และการสนับสนุนการเข้าถึงข้อมูลอย่างเท่าเทียมกันระหว่างบริษัทผู้ว่าจ้างและ
เกษตรกร
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2.3) กฎหมายกํากับการลงทุนทางการเกษตรในพื้นที่สูง
ประเด็นนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับหลักการการลงทุนภาคการเกษตรอย่างรับผิดชอบ
(Responsible Agricultural Investment: RAI)ซึ่งมีที่มาจากความพยายามป้องกันและแก้ไข
146
ปัญหาที่เกิดกระแสการลงทุนด้านการเกษตรโดยเฉพาะในประเทศกําลังพัฒนา องค์กร
ระหว่างประเทศหลายองค์กร (เช่น UNCTAD, FAO, IFAD และ World Bank) จึงร่วมกัน
146 FAO ประเมินว่าภายในปี พ.ศ. 2593 จะมีการลงทุนเฉลี่ยถึง 83,000 ล้านดอลล่าร์ต่อปี ครอบคลุมการลงทุนตั้งแต่ต้นน้ํา
จนถึงปลายน้ํา เช่น การรักษาคุณภาพผลผลิตและการแปรรูป
9-17