Page 246 -
P. 246

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               9.2 ข้อเสนอแนะ

                       เมื่อพิจารณานโยบายภาคเกษตรในระดับประเทศที่ปรากฏอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
               แห่งชาติ และยุทธศาสตร์ชาติ 20  ปี จะเห็นถึงทิศทางการพัฒนาของภาคเกษตรไทยในทศวรรษข้างหน้า

               ค่อนข้างชัดเจน  โดยแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ยังคงดําเนินยุทธศาสตร์สอดคล้องกับ

               แผนพัฒนาฯ ฉบับก่อนๆ โดยเน้นยุทธศาสตร์มุ่งพัฒนาภาคเกษตรให้เป็นภาคการผลิตคุณภาพสูง
                                                                                     142
               มาตรฐานสากลด้วยการจัดการฐานทรัพยากรและปฏิรูปที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ  เน้นให้นวัตกรรมหรือ
               งานวิจัยพัฒนาเข้ามามีส่วนมากขึ้นในการเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการผลิตและยกระดับคุณภาพสินค้า
               ส่งเสริมระบบเกษตรกรรมยั่งยืนและมุ่งให้ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัย

               ส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกร ใช้กลไกตลาดในการป้องกันความเสี่ยง สร้างหลักประกันทางรายได้ และ

               ส่งเสริมการผลิตและการลงทุนในห่วงโซ่อุปทานเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในทํานองเดียวกันยุทธศาสตร์ชาติ 20
               ปี Thailand 4.0 (2560-2579) มุ่งปรับโครงสร้างภาคเกษตรสู่ smart farming และ smart agriculture เน้น

               การพัฒนาสินค้าคุณภาพพรีเมียม เปลี่ยนเกษตรดั้งเดิมสู่การทําเกษตรแม่นยําสูง การใช้เทคโนโลยีทั้งเรื่อง
               เมล็ดพันธุ์ อาหารสัตว์ วัคซีน เครื่องมือ มาเป็นเครื่องมือผลักดันการเปลี่ยนแปลงในภาคผลิต และเน้นความคิด

                                                                               143
               สร้างสรรค์หรือนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าให้ทุกกิจกรรมตลอดห่วงโซ่อุปทาน  จากกรอบยุทธศาสตร์ทั้งใน
               แผนพัฒนาฯและยุทธศาสตร์ชาติ 20  ปี จะเห็นว่าไทยกําลังมุ่งใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อน
               ภาคการเกษตรส ู่การผลิตสินค้าคุณภาพพรีเมียม มีมูลค่าเพิ่มสูงซึ่งทิศทางนี้จะมีอิทธิพลต่อการกําหนดทิศทาง

               ของการเกษตรและรูปแบบธุรกิจการเกษตรบนพื้นที่สูงไปด้วย

                       อย่างไรก็ตาม งานวิจัยฉบับนี้ได้แสดงให้เห็นลักษณะของการเกษตรในพื้นที่สูงที่ต้องเผชิญกับข้อจํากัด
               ต่างๆ มากมาย การผลักดันยุทธศาสตร์ตามแผนทั้ง 2  ในพื้นที่สูงจึงเป็นเรื่องที่มีความท้าทายเพิ่มขึ้นกว่าพื้นที่

               ทั่วไป การดําเนินงานตามยุทธศาสตร์ดังกล่าวในพื้นที่สูงจะต้องให้ความสําคัญกับบริบทและปัญหาที่มี
               ลักษณะเฉพาะของพื้นที่สูง ไม่เช่นนั้น การดําเนินงานตามยุทธศาสตร์อาจจะไม่นําไปสู่ผลลัพธ์ของการพัฒนา

               อย่างยั่งยืนที่ต้องการได้ ตัวอย่างเช่น การพัฒนาสินค้าและเพิ่มมูลค่าเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่ได้ทําให้

               เกษตรกรในพื้นที่สูงได้รับส่วนแบ่งมูลค่าเพิ่มที่เพิ่มขึ้น หรือการดําเนินนโยบายบางด้านที่ขาดการบูรณาการ



               142 ในแผนพัฒนาฯฉบับที่ 10 (2550-2554) จะเน้นการสร้างความเข้มแข็งให้ฐานเศรษฐกิจชุมชน การรวมกลุ่มของเกษตรกรใน

               รูปแบบต่างๆ การสร้างเครือข่ายในท้องถิ่น การพัฒนา brand  ของท้องถิ่นจากภูมิปัญญาและวัฒนธรรม ปรับกระบวนการ
               ผลิตให้เน้นการเพิ่มคุณค่าของสินค้า และสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการอนุรักษ์ ฟื้นฟูฐานทรัพยากร
               และสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นให้มีการแบ่งสัดส่วนพื้นที่ทํากินและพื้นที่ป่าอย่างชัดเจน ส่วนในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-
               2559) เน้นการสร้างความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน และใช้การวิจัยพัฒนาหรือนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในการ

               สร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าตลอดห่วงโซ่ เน้นการบริหารจัดการการกระจายที่ดินให้เกษตรกรรายย่อยมีสิทธิทํากินในที่ดิน กํากับ
               ดูแลให้มีการนําเข้าและใช้สารเคมีทางการเกษตรที่ได้มาตรฐาน  ส่งเสริมระบบตลาดกลางสินค้าเกษตรและตลาดซื้อขายสินค้า
               เกษตรล่วงหน้า มีระบบลดความเสี่ยงและรักษารายได้เกษตรกร
               143 สมพร อิศวิลานนท์ (2559)  “ทิศทางการพัฒนาการเกษตรสู่ความยั่งยืน”  เอกสารประกอบการบรรยายในการประชุมผู้

               ประสานงานฝ่ายเกษตรประจําปี 2559 ในวันที่ 27 ตุลาคม 2559

                                                           9-12
   241   242   243   244   245   246   247   248   249   250   251