Page 243 -
P. 243
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ผลผลิตและความต้องการของเกษตรกร และกลุ่มลักษณะต่างๆ ก็มีความยืดหยุ่นในกลไกที่จะสามารถ
ดําเนินการตามความจําเป็นเฉพาะในแต่ละพื้นที่ได้ ดังนั้น การสนับสนุนการรวมกลุ่มของเกษตรกรควรให้
ความสําคัญกับโครงสร้างและบทบาทของกลุ่มมากกว่าที่จะเน้นไปที่การรวมกลุ่มลักษณะใดลักษณะหนึ่งเป็น
พิเศษ
ในภาพรวมแล้ว สามารถแบ่งโครงสร้างการรวมกลุ่มได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) การรวมกลุ่มและ
ดําเนินการโดยชาวบ้านเองทั้งหมด และ 2) การดําเนินงานในลักษณะของภาคเอกชน โดยผู้นํากลุ่มอาจจะเป็น
เกษตรกรในพื้นที่ ในกรณีนี้สมาชิกเกษตรกรในกลุ่มจะทําหน้าที่เพียงแค่ผลิตผลผลิตและส่งให้กับผู้นําหรือคนที่
ทําหน้าที่รวบรวมและขาย ซึ่งการรวมกลุ่มในทั้ง 2 ลักษณะนี้ก็มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป การช่วยเหลือ
จากองค์กรหรือหน่วยงานภายนอกในการจัดตั้งกลุ่มก็สามารถเกิดได้ในทั้ง 2 รูปแบบ คือหน่วยงานอาจจะ
สนับสนุนให้ชาวบ้านจัดตั้งกลุ่มหรือสหกรณ์ซึ่งดําเนินงานกันเองโดยหน่วยงานแค่สนับสนุนองค์ความรู้และให้
คําปรึกษา หรืออาจจะสนับสนุนบุคลากรและเข้ามาช่วยจัดการและดําเนินงานโดยทําหน้าที่เหมือนผู้นําโดยให้
สมาชิกเกษตรกรมีหน้าที่ผลิตตามที่วางแผนไว้อย่างเดียวโดยไม่ต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจหรือในด้านการ
บริหารจัดการกลุ่มมากนัก ประเด็นสําคัญที่จะต้องคํานึงถึงคือการจัดตั้งกลุ่มให้เหมาะสมกับลักษณะและ
ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่
นอกจากประเด็นเรื่องการจัดตั้งกลุ่มและรูปแบบกลุ่มแล้ว การเติบโตของกลุ่มและการเกิดกลุ่มใหม่ๆ
ในพื้นที่ก็เป็นประเด็นที่มีความน่าสนใจ การเกิดกลุ่มใหม่เกิดได้ในหลายลักษณะและจะมีส่วนช่วยในการ
แข่งขันในพื้นที่เพิ่มสูงขึ้นซึ่งเป็นผลดีต่อเกษตรกรรายย่อย รัฐควรเข้ามามีบทบาทสนับสนุนให้การแข่งขัน
ระหว่างกลุ่มเป็นไปอย่างเป็นธรรมและคํานึงถึงความยั่งยืน ทั้งในแง่ของสังคมและสิ่งแวดล้อม ความเข้มแข็ง
ของสังคมในระยะยาว ความเท่าเทียมกันในสังคม โดยควรต้องมีการกํากับการดําเนินงานของกลุ่มต่างๆ ใน
พื้นที่ โดยเฉพาะการลงทุนจากบริษัทขนาดใหญ่ทั้งในและนอกประเทศซึ่งอาจจะส่งผลดีทางเศรษฐกิจต่อ
เกษตรกร แต่อาจจะส่งผลเสียต่อความเข้มแข็ง สังคม และสิ่งแวดล้อมในระยะยาวได้ (รายละเอียดในบทที่ 7)
9.1.7 หลักดําเนินการของธุรกิจการเกษตรบนพื้นที่สูง
เพื่อบรรลุเป้าหมายความยั่งยืนที่สําคัญและจําเป็นสําหรับเกษตรกรในพื้นที่สูง ธุรกิจเกษตรในที่สูง
จําเป็นต้องสร้างความยั่งยืนด้านความเป็นอยู่ให้เกษตรกร และ ความยั่งยืนทางระบบนิเวศ ไปพร้อมกัน แม้การ
สร้างความยั่งยืนด้านความเป็นอยู่ทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคมจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพียงพอ มีการ
กระจายความเสี่ยงที่พอเหมาะ เกิดการสะสมทุนทําให้ไม่ติดอยู่ในวงจรหนี้จะช่วยลดโอกาสที่เกษตรกรจะ
กลับมารุกที่ป่า แต่ความยั่งยืนด้านความเป็นอยู่เพียงอย่างเดียวยังไม่อาจสร้างระบบการจัดการที่ชัดเจนกับ
เรื่องทรัพยากรธรรมชาติ ป่า ดิน น้ํา หรือป้องกันการเข้ามาฉกฉวยผลประโยชน์จากคนภายนอกซึ่งถือเป็น
ประเด็นอ่อนไหวของพื้นที่สูงได้ ผลการศึกษาพบว่าเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในทั้งสองด้าน ระบบธุรกิจควรยึด
หลักดําเนินการ 4 หลักในการดําเนินธุรกิจ ได้แก่ 1) การสร้างผลตอบแทนต่อไร่ให้สูงพอเพื่อให้เกษตรกรไม่
ต้องเน้นการผลิตปริมาณมาก (mass production)2) การลดความเสี่ยงที่เกิดจากราคาและตลาด เพื่อสร้าง
โอกาสในการสะสมทุนและลดโอกาสการตกอยู่ในวงจรหนี้สิน 3) การส่งเสริมความเข้มแข็งของเกษตรกรหรือ
ชุมชน การสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนเป็นพื้นฐานสําคัญเชิงโครงสร้างที่นําไปสู่การขยายตลาด เพิ่มอํานาจ
9-9