Page 242 -
P. 242

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               บุคลากร องค์ความรู้ และการจัดการ โดยหน่วยงานที่มีส่วนช่วยเป็นได้ทั้งหน่วยงานภาครัฐโดยตรง องค์กรไม่

               แสดงหากําไร หรือองค์กรภาคประชาชน
                       ในบางพื้นที่ การพัฒนารูปแบบธุรกิจการเกษตรอาจจะหยุดอยู่ที่การรวมกลุ่มเพื่อขายเท่านั้น โดยเน้น

               การให้ความสําคัญกับการหาตลาดหรือกระจายผลผลิตให้หลากหลายมากขึ้นเพื่อป้องกันความเสี่ยงและ

               กระจายกระแสรายได้ของสมาชิกเกษตรกรให้มีรายรับเพิ่มมากขึ้น แต่ในบางพื้นที่ที่มีองค์ประกอบที่เหมาะสม
               อาจจะมีการพัฒนาบทบาทของกลุ่มให้เข้มข้นมากขึ้นเช่น เข้าสู่การพัฒนาคุณภาพ หรือการแปรรูปผลผลิต ซึ่ง

               การเลือกว่าจะพัฒนาไปแนวทางใดนั้น ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์และตลาดรับซื้อเป็นสําคัญ โดย
               กลุ่มที่มีการพัฒนาคุณภาพของผลผลิตอาจจะเกิดจากเกษตรกรในพื้นที่มองเห็นศักยภาพของผลผลิตจึง

               รวมกลุ่มเกษตรกรขึ้นมาเพื่อผลิตผลผลิตที่มีคุณภาพโดยตนเองทําหน้าที่หาตลาดและขายสินค้าต่อให้พ่อค้า

               หรือบริษัทที่ต้องการสินค้าคุณภาพสูงขายในตลาดปลายทางต่อไป ประเด็นการหาตลาดของกลุ่มมีความสําคัญ
               มากเนื่องจากการพัฒนาคุณภาพนําไปสู่การมุ่งตลาดบน ซึ่งบริษัทที่จะตัดสินใจซื้อสินค้าคุณภาพสูงจาก

               เกษตรกรโดยให้ราคารับซื้อสูงกว่าราคาสินค้าทั่วไป จะต้องมีตลาดบนที่ชัดเจนรองรับอยู่ปลายทาง  บทบาท
               ของภาครัฐและหน่วยงานภายนอกสําหรับกลุ่มที่เน้นการพัฒนาคุณภาพ จึงเน้นด้านการหาตลาด การทํา

               Business matching และองค์ความรู้เพื่อช่วยในการพัฒนาคุณภาพ

                       สําหรับปัจจัยสําคัญสําหรับกลุ่มที่ต้องการพัฒนาไปในแนวทางการแปรรูป คือ ผลผลิตต้องมีความ
               เหมาะสมต่อการนําไปแปรรูป มีแรงงาน มีการลงทุนและองค์ความรู้ตลอดจนเทคโนโลยีด้านการแปรรูปอย่าง

               เพียงพอ เมื่อกลุ่มสามารถแปรรูปผลผลิต สินค้าจะมีความหลากหลายมากขึ้น เกษตรกรสามารถขายสินค้าใน

               ตลาดที่กว้างขึ้นและสามารถบริหารจัดการสินค้าได้ง่ายขึ้น ทําให้ประเด็นการหาตลาดสําหรับกลุ่มที่เน้นการ
               แปรรูปมีความสําคัญเร่งด่วนน้อยกว่ากลุ่มที่เน้นการพัฒนาคุณภาพ ในกรณีนี้ โดยส่วนใหญ่แล้วบทบาทของ

               ภาครัฐและหน่วยงานภายนอกจึงเป็นการช่วยเหลือในด้านองค์ความรู้ การช่วยเหลือด้านเงินลงทุนโดยอาจจะ
               ผ่านสินเชื่อดอกเบี้ยต่ํา และการแนะนําด้านการตลาดสําหรับสินค้าที่แปรรูปแล้ว

                       นอกจากนี้ กลุ่มที่พัฒนาคุณภาพหรือกลุ่มแปรรูปอาจจะมีการพัฒนาเพิ่มเติมไปสู่กลุ่มแปรรูปและ

               พัฒนาคุณภาพหากผลผลิต องค์ความรู้ การลงทุน และความต้องการในตลาดมีความเหมาะสมเช่นกัน ความ
               ช่วยเหลือของภาครัฐหรือหน่วยงานองค์กรภายนอกจะมีบทบาทสําคัญน้อยลงสําหรับการพัฒนาในขั้นตอนนี้

               เมื่อเทียบกับการตั้งกลุ่มเริ่มต้นหรือการพัฒนาเป็นกลุ่มคุณภาพหรือกลุ่มแปรรูปในช่วงแรก เนื่องจากการ
               พัฒนาในขั้นหลังนี้มักจะเกิดเมื่อการรวมกลุ่มของเกษตรกรส่วนใหญ่มีความเข้มแข็งเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว

               หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลืออาจจะมีบทบาทในการให้ความรู้ในด้านต่างๆ เช่น เทคโนโลยี การเข้าถึงแหล่ง

               เงินทุน และการตลาดให้กลุ่มเกษตรกร แต่กลุ่มเกษตรกรมักจะมีศักยภาพในการพัฒนาและดําเนินงานต่อได้
               (รายละเอียดส่วนที่ 6.4)

                       9.1.6  ลักษณะการรวมกลุ่มของเกษตรกรและทิศทางการสนับสนุน

                       การจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรสามารถทําได้ในหลายลักษณะ เช่น วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ การสนับสนุน
               ของหน่วยงานภายนอกเช่นโครงการขยายผลฯ การรวมกลุ่มของภาคธุรกิจหรือพ่อค้ารายย่อย โดยแต่ละกลุ่ม

               แม้ว่าจะอยู่ภายใต้รูปแบบหรือชื่อเดียวกันก็ยังมีบทบาทและการดําเนินงานที่แตกต่างกันไปตามลักษณะของ


                                                           9-8
   237   238   239   240   241   242   243   244   245   246   247