Page 256 -
P. 256

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                                   ปัญหาสําคัญอีกประการหนึ่งของการส่งเสริมการเกษตรในปัจจุบันคือ ระบบการให้

                            สินเชื่อที่มักจะผูกติดกับปริมาณการปลูกและปริมาณผลผลิต โดยไม่ได้คํานึงถึงผลกระทบต่อ
                            สิ่งแวดล้อมหรือแรงจูงใจในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การให้สินเชื่อในปัจจุบันมีผลทําให้

                            เกษตรกรขยายการปลูกพืชไร่เชิงเดี่ยวในพื้นที่ชันอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นการปลูกพืชที่ใช้

                            ระยะเวลาไม่นาน สามารถขายผลผลิตได้ง่าย ทําให้เกษตรกรได้รับสินเชื่อได้ง่ายกว่าการปลูก
                            พืชยืนต้นหรือการทําการเกษตรที่มีผลดีต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า

                                   ผู้วิจัยเสนอให้มีการพัฒนาการระบบหรือกลไกการให้สินเชื่อที่เหมาะกับการเกษตรใน
                            พื้นที่สูงซึ่งต้องเป็นสินเชื่อที่ไม่สร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูก สินเชื่อที่ให้กับ

                            เกษตรกรในพื้นที่สูงจะต้องเป็นสินเชื่อที่ไม่ผูกกับปริมาณผลผลิต แต่เป็นการให้สินเชื่อที่

                            คํานึงถึงหรือมีเงื่อนไขต่อการรักษาหรืออนุรักษ์ที่ดินหรือสิ่งแวดล้อม หรือการให้เงินสนับสนุน
                            การลงทุนที่มีจุดประสงค์หลักในการรักษาและฟื้นฟูพื้นที่หรือสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ตัวอย่างเช่น

                            Basic Payment Scheme ของยุโรป
                                   หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และ

                            กระทรวงการคลัง


                       แม้ข้อเสนอแนะ 3 กลุ่มข้างต้นจะเน้นไปที่การผลักดันจากฝ่ายนโยบายในประเด็นกฎหมายต่างๆ การ

               ผลักดันจากภาคการบริโภคให้เห็นความสําคัญของห่วงโซ่อุปทานและการบริโภคอย่างยั่งยืนเป็นสิ่งที่ควรทํา

               ควบคู่กันไป เพราะการผลักดันผ่านผู้บริโภคจะไปเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค มีผลต่ออุปสงค์โดยตรง
               และรสนิยมของผู้บริโภคเป็นปัจจัยกําหนดราคา คุณภาพสินค้าและ พฤติกรรมการผลิตของเกษตรกรต่อมาซึ่ง

               หากทําได้อาจมีประสิทธิผลกว่าการบังคับใช้กฎหมายในระยะยาว อย่างไรก็ดี แม้ตลาดผู้บริโภคปลายทางจะมี
               การตระหนักรู้มากขึ้น สะท้อนผ่านความยินดีที่จะจ่ายมากขึ้นให้กับสินค้าที่ผ่านการรับรองว่าไม่ทําลาย

               สิ่งแวดล้อม แต่ราคาที่ผู้บริโภคจ่ายสูงขึ้นอาจส่งมาไม่ถึงเกษตรกรซึ่งเป็นผู้ผลิตต้นทาง ผู้ได้รับผลประโยชน์อาจ

               เป็นเพียงบริษัทปลายทางที่สามารถใช้เรื่องการรับรองมาตรฐานเป็นเครื่องมือการตลาดอย่างหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น
               การกําหนดเกณฑ์ทางกฎหมายที่ส่งผลในลักษณะตัวกรอง (screeningdevice)  คัดสรรผู้ผลิตที่มีกลไกการ

               แบ่งปันผลประโยชน์กับเกษตรกรและชุมชนอย่างเป็นธรรมจะช่วยสร้างบรรยากาศการแข่งขันที่เป็นธรรมและ
               อํานาจการต่อรองให้ชุมชนมากขึ้น



                       9.2.2  ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ
                       นอกเหนือจากข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขแผนพัฒนาด้านการเกษตร การออก

               และแก้ไขกฎหมายในการส่งเสริมและกํากับดูแลธุรกิจการเกษตร และการแก้ไขกฎระเบียบของหน่วยงานต่างๆ

               ให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้นแล้ว ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติสําหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนา
               รูปแบบธุรกิจการเกษตรในพื้นที่สูงเพื่อนําไปสู่ความยั่งยืน โดยสามารถสรุปข้อเสนอได้ดังนี้





                                                           9-22
   251   252   253   254   255   256   257   258   259   260   261