Page 258 -
P. 258
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การลดข้อจํากัดออกเป็นด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการผลิต ด้านการตลาด ด้านปัจจัยสถาบัน ด้านการพัฒนา
บุคลากร
2.1) การลดข้อจํากัดด้านโครงสร้างพื้นฐาน
การแก้ปัญหาข้อจํากัดด้านเชิงโครงสร้างพื้นฐานหรือกายภาพ เช่น ปัญหาการขาดน้ํา
ควรมีการพัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ําในพื้นที่สูงซึ่งอาจจะใช้เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่
แตกต่างไปจากการจัดการน้ําในพื้นที่ราบที่สามารถใช้ระบบการจัดการน้ําขนาดใหญ่ได้ ในขณะ
ที่ในพื้นที่สูงต้องให้ความสําคัญกับการเก็บกักน้ําในพื้นที่ทํากินรายย่อยให้เพียงพอต่อการ
เพาะปลูกตลอดทั้งปี ทั้งนี้ ควรมีการศึกษาและประยุกต์ใช้องค์ความรู้หรือต่อยอดภูมิปัญญาที่
ได้มีการดําเนินงานอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การจัดการน้ําตาม “โคก-หนอง-นา โมเดล”
“หลุมขนมครกบนพื้นที่สูง” หรือการใช้ “บ่อพวงสันเขา” เป็นต้น
2.2) การลดข้อจํากัดด้านการผลิต
ปัญหาการผลิตแบบต้นทุนสูงเนื่องจากเป็นการผลิตในพื้นที่ขนาดเล็กและชัน ต้องการ
ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการผลิตที่ต่างออกไปจากที่ราบ นวัตกรรมการนําของเหลือใช้หรือของ
เหลือจากการผลิตในฟาร์มกลับมาใช้ใหม่ จะช่วยลดต้นทุนปัจจัยการผลิตและลดการพึ่งพิง
ปัจจัยจากภายนอก นอกจากนี้การสนับสนุนการใช้พันธุ์พืชดั้งเดิมที่ทนโรค เกษตรกรสามารถ
เก็บพันธุ์ไว้ใช้ต่อในฤดูกาลหน้าเป็นการลดต้นทุนให้เกษตรกร
การให้บริการด้านการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าโดยพยายามเปิดโอกาสให้ชุมชน
พัฒนาความสามารถในการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าเองได้มีความสําคัญมากเช่นกัน ควรมีการ
พัฒนาห้องปฏิบัติการตรวจสอบมาตรฐานคุณภาพสินค้าเบื้องต้นที่ชุมชนเข้าถึงได้ ซึ่งมีส่วนช่วย
ลดต้นทุนให้เกษตรกรและทําให้เกษตรกรสามารถเก็บส่วนมูลค่าเพิ่มจากการพัฒนาคุณภาพ
สินค้าได้ ดังเช่นที่โครงการขยายผลฯ กําลังดําเนินการในบางพื้นที่ นอกจากนี้นวัตกรรมทาง
สังคม เช่น การส่งเสริมระบบตรวจสอบมาตรฐานภายในชุมชนเองแบบ PGS ก็เป็นจุดที่
ภาคเอกชนสามารถเข้ามาส่งเสริมได้
2.3) การลดข้อจํากัดด้านการตลาด
ข้อจํากัดความห่างไกลตลาดอาจสามารถบรรเทาลงได้ด้วยการพัฒนาการให้บริการ
การขนส่งที่ได้มาตรฐานและติดตามตรวจสอบย้อนกลับได้ รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วย
รักษาคุณภาพหรือยืดอายุผลผลิตเพื่อช่วยลดปัญหาการสูญเสียผลผลิตและปัญหาคุณภาพ
ผลผลิตที่เกิดจากการขนส่ง โดยภาครัฐอาจจะเข้ามาให้บริการเอง หรือบริการบางประเภทแล้ว
ภาครัฐไม่สามารถเป็นผู้จัดหาให้ได้โดยตรง หรือเอกชนมักจะมีแรงจูงใจทางตลาดและมี
ประสิทธิภาพในการให้บริการการเกษตรบางประเภทมากกว่าภาครัฐ เช่น บริการขนส่งผลผลิต
จากเกษตรกรไปตลาดปลายทาง การประกันความเสี่ยงที่จะทําให้ผลผลิตเสียหายจากการขนส่ง
ระยะไกล หรือการให้บริการด้านข้อมูลการตลาด การวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับ
ช่วงเวลาของตลาด และการเจาะตลาดที่เหมาะกับคุณภาพสินค้า ซึ่งสําคัญมากกับสินค้าพืชผัก
9-24